Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50965
Title: | การประเมินผลกระทบระหว่างภาคส่วนของการขาดแคลนน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มแม่น้ำน่าน |
Other Titles: | Assessment of cross - sectoral impacts of water deficits under climate change in Nan River Basin |
Authors: | ภวิสร ชื่นชุ่ม |
Advisors: | ปิยธิดา เรืองรัศมี พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Piyatida.H@chula.ac.th,hpiyatida@gmail.com,hpiyatida@gmail.com pongsak.su@Chula.ac.th |
Subjects: | การจัดการลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำน่าน -- ปัจจัยเกี่ยวกับอากาศ Watershed management Nan River Basin -- Climatic factors |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ลุ่มน้ำน่านเป็นลุ่มน้ำที่สำคัญลุ่มน้ำหนึ่งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำที่ไหลลงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างคิดเป็นร้อยละ 25-40 ของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงนับได้ว่าลุ่มน้ำน่านเป็นลุ่มน้ำที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้สภาพอุตุ-อุทกวิทยาของลุ่มน้ำน่านมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตที่ผ่านมา ประกอบกับลุ่มน้ำน่านมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การขาดแคลนน้ำในภาคส่วนต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย การศึกษานี้เสนอกรอบการประเมินผลกระทบของการขาดแคลนน้ำโดยการวิเคราะห์ทางอุทกวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำต้นทุนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความต้องการใช้น้ำจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และประเมินผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างภาคส่วน โดยใช้แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า Integrated Flood Analysis System (IFAS) ที่ผ่านการสอบเทียบและสอบทานในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำต้นทุน และทำการพัฒนาแบบจำลองปัจจัยการผลิตของลุ่มน้ำน่านในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของการขาดแคลนน้ำ การคำนวณความต้องการใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ การวิเคราะห์การขาดแคลนน้ำในอดีต และการพัฒนาแบบจำลองปัจจัยการผลิตของลุ่มน้ำใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน และการวิเคราะห์การขาดแคลนน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขยายตัวทางสังคมและเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2583–2602 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง IFAS มีประสิทธิภาพในการจำลองสภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำน่าน และการจำลองสภาพน้ำท่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้ปริมาณฝนจากแบบจำลอง IPSL-CM5A-MR และ MIROC5 ภายใต้ RCP4.5 และ RCP8.5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนในอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัจจัยเรื่องนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการขาดแคลนน้ำจะอยู่ในลุ่มน้ำน่านตอนล่างประมาณแสนล้านบาท ซึ่งจะมาจากภาคเกษตรกรรมเป็นสำคัญ และเมื่อทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำระหว่างภาคส่วน ความเสียหายจะสูงกว่าการวิเคราะห์เฉพาะภาคส่วน 2-3 เท่า การใช้มาตรการลดผลกระทบความเสียหายของภาครัฐโดยทำการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและลดความต้องการใช้น้ำพบว่า สามารถช่วยให้ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นลดลงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ |
Other Abstract: | Nan River Basin is one of the main upstream basins of Chao Phraya River. Annual runoff from Nan River Basin accounts for 25-40 percent of Lower Chao Phraya River Basin, making Nan River Basin one of the main economic drivers of Thailand. Land use and climate change result in change in meteorological and hydrological conditions in Nan River Basin. In addition, water demand in the basin has been increasing from the economic development. Decrease in water supply and increase in water demand result in more water deficits in all sectors. This study purposes integrated framework of hydrological and economic analysis to assess impacts of water deficits. The objectives of the study are to analyse water supply under climate change scenarios, estimate water demand under economic development scenarios, and assess cross-sectoral impacts of water deficits. A Rainfall-Runoff model, Integrated Flood Analysis System (IFAS), was calibrated, verified, and used to simulate runoff. Regional Input-Output Model was developed for Nan River Basin to assess economic impacts of water deficits. The calculation of water demand for domestic, agricultural, industrial, and service sectors, water deficits, and regional Input-Output Model for the base year was based on data from 2010. Analysis of water deficits under climate change scenarios and economic development scenarios was carried out during the period of 2040-2059. The results demonstrated that IFAS was capable of simulate runoff for Nan River Basin. Runoff simulations under climate change scenarios using two GCMs, IPSL-CM5A-MR and MIROC5 under RCP4.5 and RCP8.5 showed increasing trend. Water demand projections of all sectors also showed increasing trend especially in agricultural sector. Economic loss from water deficits in Nan River Basin was estimated to be approximately 100,000 million baths under climate change and economic development scenarios with agricultural sector suffered largest loss. Assessment of economic loss from cross-sectoral analysis was two to three times higher than that from analysis of each sector separately. Assessment of Government’s mitigation measures to increase water supply and decrease water demand showed that economic loss from water deficits could potentially be decreased by 70-80 percent. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมแหล่งน้ำ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50965 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1377 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1377 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770259821.pdf | 10.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.