Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51013
Title: | การพัฒนาโรงแรมที่มีอาคารอนุรักษ์อายุมากกว่า 100 ปี ให้เป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม:กรณีศึกษา โรงแรมระรินจินดา เวลล์เนส สปาแอนด์รีสอร์ท และ อนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Hotel development with more than 100 year old historical building that is a part of hotel. A Case study of Rarinjinda Wellness Spa Resort and Anantara Chaing mai Resort in Chaing mai |
Authors: | กรัณฑรัตน์ ปรีติประสงค์ |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com |
Subjects: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาคารประวัติศาสตร์ -- การดัดแปลง โรงแรมประวัติศาสตร์ -- การดัดแปลง โรงแรม -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม Real estate development Historic buildings -- Remodeling Historic hotels -- Remodeling Hotels -- Maintenance and repair Buildings -- Repair and reconstruction |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาอาคารเก่ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมให้มีคุณค่าทางการตลาดและประวัติศาสตร์ รวมถึงปัญหาและรูปแบบการแก้ไขปัญหาของโรงแรมและอาคารเก่าโดยคัดเลือกโรงแรมที่มีอาคารเก่าอายุมากกว่า 100 ปีที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการระรินจินดา เวลล์เนส สปารีสอร์ท ซึ่งโครงการนี้มีอาคารเก่าอายุมากกว่า 140 ปี และโครงการอนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ท มีอาคารกงสุลเก่า อายุมากกว่า 100 ปี ทั้งสองโครงการได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยามเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 2 คน บุคลากรในโรงแรม 2 คน และผู้เข้าพักเป็นจำนวนโครงการละ 7 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านกายภาพเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเนื่องจากทั้งสองโครงการเน้นการบูรณะ ซ่อมแซม อาคารเก่าให้คงสภาพเดิมมากที่สุดโดยมีการวางการแผนบูรณะซ่อมแซมเพื่อใช้งานในระยะยาวเพื่อในอนาคตจะช่วยลดปัญหาในการดูแล เนื่องจากมีความแตกต่างด้านโครงสร้าง จึงต้องมีวิธีการบูรณะซ่อมแซมที่ต่างกัน อาทิ การเสริมฐานรากของอาคารให้สูงขึ้นเนื่องจากการทรุดตัวของอาคาร การนำวัสดุเก่ามาทำการซ่อมแซมให้ใช้ใหม่ได้ การหาวัสดุใกล้เคียงและงานระบบต่างๆ 2) ด้านการตลาดจากการศึกษาข้อมูลโครงการระรินจินดา เวลล์เนส สปารีสอร์ท และ อนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ทมีการประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ อาคารเก่าเป็นจุดขายในด้าน Heritage hotel โดยการจัด Road Show ในต่างประเทศของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออก 3) ด้านการเงินพบว่าค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการทั้งสองโครงการเมื่อพิจารณาแล้วมีสัดส่วนเงินลงทุนต่อห้องที่ใกล้เคียงกัน โดยทั้งสองโครงการใช้แหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน ต่อ ส่วนของเจ้าของ ในสัดส่วน 50:50 4) ด้านการบริหารและการจัดการจากการศึกษาการบริหารและจัดการโครงการระรินจินดา เวลล์เนส สปารีสอร์ท นั้นทางโครงการใช้ทีมบริหารของสยามเวลล์เนสกรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าของโครงกาโดยตรง แตกต่างจากโครงการอนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ท ซึ่งว่าจ้างให้บริษัท Minor internationalที่มีชื่อเสียงในการบริหารโรงแรมระดับห้าดาวมาเป็นผู้บริหารโครงการแทน 5) ปัญหาและแนวทางแก้ไข ด้านกายภาพพบว่าในการปรับปรุงบูรณะซ่อมแซมอาคารเก่ามีความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทั้งสถาปนิกและช่างฝีมือในการบูรณะซ่อมแซมส่วนต่างๆ การหาวัสดุที่มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกับอาคารเดิมรวมถึงงานระบบที่ต้องมีการรื้อและวางระบบใหม่ทั้งอาคารเพื่อรองรับการใช้งานในปัจจุบัน ในด้านการตลาดพบว่าโครงการอนันตรา เชียงใหม่ รีสอร์ท มีการเปลี่ยนทีมงานบริหารโครงการรวมถึงชื่อของโครงการ ทำให้การรับรู้ของลูกค้าเกิดความสับสน ทางโครงการจึงแก้ปัญหาโดยการส่งอีเมลชี้แจงให้กับกลุ่มลูกค้าเดิม ด้านการเงินพบว่าในการดูและรักษาอาคารเก่า มีความจำเป็นต้องดูแลรักษาอาคารเป็นประจำทุกปี โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารทั่วไปแล้ว ความถี่ในการดูแลรักษามากกว่า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงขึ้น |
Other Abstract: | This research aimed to study the redevelopment of historical buildings to be converted as part of a hotel to increase marketing and historical value and to explore and solve issues related to their old buildings. Two hotels more than a century old were chosen for this case study. The Rarinjinda Wellness Spa Resort with a building over 140 years old and the Anantara Chiangmai Resort with an old consulate estate approximately one hundred years old. Both hotels were given “Conservation Building” awards from The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King (ASA). The tools used in the research were interviews with 2 hotel executives, 2 hotel staff, and 14 hotel clients (7 clients from each hotel). The research found that first, the physical conditions of the old buildings are a main concern, which can be seen from the renovations done by both hotels to preserve the original structure of the buildings as much as possible. It is expected that renovations will be able to alleviate future maintenance problems that could occur. Due to structural differences, buildings must be renovated using appropriate methods. One such renovation to repair subsidence required the base of the building be supported. Older materials were replaced while the construction materials used were carefully chosen to match the period style of the original buildings. Second, both hotels exploited the historicism of the buildings as selling points for public marketing purposes. They were promoted as heritage structures in marketing roadshows with clients in European and East Asian countries as target groups. Third, financing used 50 % existing capital/ 50% loans from financial institutions for investment funding. Fourth, both hotels differ in their management structure. The Rarinjinda Wellness Spa Resort uses its own management team under the Siam Wellness Group; in contrast, the Anantara Chiangmai Resort hired Minor International, a hotel management company well-known among 5-star hotels. Finally, regarding upgrading the physical structures of the buildings, 2 issues were addressed: expert architects and skilled construction workers are required for repair and renovation of historical buildings; and secondly, materials and system planning must be selected in accordance with the current function of the building. In addition, Anantara Hotel employed a rebranding strategy using a new name and management team, which affected clients’ perception of the product. Clients were informed via email about the hotel name change to avoid misunderstanding. Finally, as these hotels are historical buildings, it is necessary to be prepared for annual and more frequent maintenance, resulting in higher costs, compared with non-historical buildings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51013 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.519 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.519 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773551525.pdf | 6.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.