Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51029
Title: วิธีและมาตรการที่ใช้ในการจัดเก็บค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
Other Titles: MEASURES FOR THE COLLECTION OF MAINTENANCE AND MANAGEMENT FEES FOR PUBLIC FACILITIES OF HOUSING ESTATE JURISTIC PERSONS.
Authors: แสนสิน ว่องกสิกร
Advisors: ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Yuwadee.S@Chula.ac.th,yuwadee.s@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจที่จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคจากสมาชิกได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นบางโครงการก็ไม่สามารถที่จะจัดเก็บค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ครบถ้วน ทำให้เงินที่จะนำมาดูแลสาธารณูปโภคมีไม่เพียงพอ สาธารณูปโภคจึงมีสภาพทรุดโทรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีโครงการที่สามารถจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงฯจากสมาชิกได้ในอัตราที่สูง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษารวบรวมวิธีและมาตรการต่างๆที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนำมาใช้ในการบังคับสมาชิกที่ค้างชำระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ศึกษาการจัดเก็บค่าบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและศึกษามาตรการบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ใช้ในการบังคับให้สมาชิกชำระค่าบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น พบว่าการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ 1. แบบจัดจ้างบริษัทเข้ามาบริหาร และ 2. แบบคณะกรรมหมู่บ้านจัดสรรบริหารเอง ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษานิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี จำนวน 26 โครงการ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างจากการบริหารทั้ง 2 ลักษณะเท่าๆกัน โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกับการจดบันทึกและสังเกต ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบมาตราการบังคับที่ใช้ในการจัดเก็บค่าบำรุงฯ มีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ 1. มาตรการในทางปฎิบัติ ได้แก่ การติดสติกเกอร์หน้าบ้านสมาชิกที่ชำระค่าบำรุงฯแล้ว การกำหนดเบี้ยปรับ การระงับการให้บริการเข้าออกโครงการแก่สมาชิกที่ค้างชำระ การระงับการให้บริการเข้าโครงการของบุคคคภายนอกที่มาติดต่อสมาชิกที่ค้างชำระ การระงับการให้บริการอาคารสโมสรแก่สมาชิกที่ค้างชำระ การงดเว้นการจัดเก็บขยะแก่แก่สมาชิกที่ค้างชำระและการมอบส่วนลดแก่สมาชิกที่ชำระค่าบำรุงฯภายในกำหนด 2. มาตรการในทางกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 50 ได้แก่ การระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค เมื่อค้างชำระติดต่อกัน 3 เดือน การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินเมื่อค้างชำระติดต่อกัน 6 เดือน การฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะคดีผู้บริโภคแก่สมาชิกที่ค้างชำระ โดยหมู่บ้านที่จัดจ้างบริษัทเข้ามาบริหารจะมีความหลากหลายและเข้มงวดในการใช้มาตรการบังคับ ทั้งมาตรการในทางปฎิบัติและมาตราการในทางกฎหมายมากกว่า โดยมุ่งเน้นไปที่ การปรับ การระงับการเข้าออกโครงการ การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินและการฟ้องร้องดำเนินคดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างบริษัทเข้ามาบริหารโครงการมีอัตราที่สูง ส่งผลให้ความคาดหวังของคณะกรรมการหมู่บ้านก็ต้องการให้จัดเก็บค่าบำรุงฯได้ในอัตราที่สูงขึ้นเช่นกัน ในขณะที่หมู่บ้านที่คณะกรรมการบริหารเอง ซึ่งใช้ความประนีประนอมและความยืดหยุ่นในการใช้มาตรการบังคับมากกว่า เนื่องจากต้องการอยู่อาศัยร่วมกันแบบเป็นกันเอง ไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งหรือบาดหมางกัน จากการศึกษาจึงได้ข้อค้นพบว่า การจัดจ้างบริษัทเข้ามาบริหารโครงการ จะพบในหมู่บ้านขนาดกลางและหมู่บ้านขนาดใหญ่ แต่จะไม่พบในหมู่บ้านขนาดเล็กเนื่องจากมีจำนวนหลังคาเรือนน้อย ค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บได้จึงมีน้อย ทำให้มีเงินไม่เพียงพอในการจัดจ้างบริษัทเข้ามาบริหาร
Other Abstract: In general, housing estate juristic persons is expected to collect maintenance and management fees for public facilities in housing estates. However, in reality, some are not successful in doing so which results in deteriorating facilities, while others are able to maintain facilities in good condition. This study aimed to investigate and record 1) types of facilities and services provided; 2) collection methods; 3) measures designed to make those who fail to pay fees comply with housing estate regulations. The subjects in this study were chosen from 26 people in real estate projects in Bangkok and Nonthaburi, 13 of which were from outsourced management teams while the other 13 were from real estate project committees. All subjects were interviewed and related management records were studied. The research found that there are two measures used to retrieve facility fees. First, a sticker is displayed in front of the houses of owners who have already paid their fees. In contrast, owners who refuse to pay their fees, and their visitors, are not accommodated by the guard service at the gate when entering the estate. In addition, owners with outstanding fees are not entitled to use the Estate Club, to receive garbage collection services or to get any discounts they would be entitled to if they pay fees within the due date. Lastly, delinquent owners are subject to fines. Legal enforcement is carried out according to the Land Development Act, B.E.2543. For example, owners who fail to pay their fees for three consecutive months have no right to use the facilities and are not allowed to take legal action if they are in arrears for six consecutive months. According to the research, the outsourced management teams were stricter than the estate committees both in terms of the standard treatment of delinquent owners and law enforcement actions. This was because the outsourced management teams were under pressure to collect as much of the outstanding fees as possible. On the contrary, the estate committees, normally found in the small and medium real estate projects, tended to compromise more to maintain good relations in the neighborhood and to avoid conflicts.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51029
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773586525.pdf21.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.