Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51031
Title: วิธีการบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพงานท่อระบบสุขาภิบาลภายในอาคารเก่า เพื่อให้พร้อมใช้งาน : กรณีศึกษาอาคารสำนักงาน
Other Titles: The Maintenance and improvement of sanitary piping system in old buildings to be available : Case study of office building
Authors: เอกราช อาจวิจิตร
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Traiwat.V@Chula.ac.th,vtraiwat@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานท่อระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบสุขาภิบาลที่จำเป็นต้องจัดให้มีในอาคารเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคาร เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งตามอายุอาคารย่อมเกิดความเสื่อมสภาพ และจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพ เพื่อรักษาให้อาคารและระบบประกอบอาคารอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือกลับมามีสภาพดีอีกครั้ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพงานท่อระบบสุขาภิบาลภายในอาคารเก่าเพื่อให้พร้อมใช้งาน ดำเนินการวิจัยโดยค้นคว้าข้อมูลจากกรณีศึกษาอาคารสำนักงานในกลุ่มอาคารที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางย่านธุรกิจและย่านธุรกิจที่กำลังขยายตัวของกรุงเทพมหานครจำนวน 4 แห่ง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และสำรวจ จากการศึกษาพบว่าการบริหารด้านงานวิศวกรรรมไม่ได้จัดให้มีนโยบายในการดูแลบำรุงรักษาเฉพาะส่วนงานท่อระบบสุขาภิบาล ไม่มีการกำหนดหัวข้อ รายละเอียดการบำรุงรักษางานท่อในเอกสารตรวจสอบงาน และไม่มีการจัดทำแผนการบำรุงรักษาชัดเจน การเสื่อมสภาพและการชำรุดของท่อไม่สามารถระบุรอบเวลาการชำรุด และกำหนดการบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพงานที่แน่ชัดได้ ช่างประจำอาคารจะตรวจพบการชำรุดของท่อโดยการพบเชิงประจักษ์ในขั้นตอนการเข้าตรวจสอบงานเครื่องจักรใหญ่หรือเมื่อเกิดความเสียหายแล้ว โดยจะเข้าบำรุงรักษาด้วยวิธีการซ่อมแซมชั่วคราว บันทึกข้อมูลในเอกสารบันทึกซ่อม จนกระทั่งท่อดังกล่าวชำรุดเสียหายเกินกว่าจะใช้งานได้ตามปกติหรือไม่สามารถซ่อมแซมได้อีก จึงจะรวบรวมข้อมูลความเสียหาย ผลกระทบ รูปแบบงานเปลี่ยนแปลง แผนการ งบประมาณเสนอพิจารณาอนุมัติในแผนงานประจำปี ซึ่งจะดำเนินงานโดยช่างที่จัดจ้างจากภายนอก การปรับปรุงสภาพงานท่อระบบสุขาภิบาลในอาคารสำนักงานเก่าระหว่างการเปิดใช้งานอาคาร จะดำเนินงานได้โดยต้องไม่กระทบการเปิดให้บริการอาคาร พื้นที่งานติดตั้งท่อ ช่องทางการเข้าทำงานที่มีขนาดเล็กเป็นอุปสรรคในการทำงาน แนวการเดินติดตั้งท่อจะปรับติดตั้งตามพื้นที่เหลืออยู่และมักไม่มีการจัดทำแบบก่อสร้างจริงภายหลังงานแล้วเสร็จ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ลักษณะความแตกต่างของสถานที่ติดตั้ง การใช้งาน สภาพแวดล้อม และการบำรุงรักษา มีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของงานท่อ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือยาวนานตามอายุขัยของวัสดุตามที่ทฤษฏีและผู้ผลิตกำหนด การบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพด้วยวิธีการชั่วคราวที่ไม่ตรงตามทฤษฎีและวิธีการมาตรฐาน ไม่ได้เป็นการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เพราะจุดชำรุดดังกล่าวอาจจะเกิดการรั่วซึมภายหลัง ส่งผลให้ท่อนั้นๆ และท่อหรืออุปกรณ์โดยรอบเสียหายเพิ่มเติม ลุกลามเป็นความเสียหายหนัก พื้นที่ติดตั้งและช่องทางการเข้าบำรุงรักษางานท่อที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการปรับปรุงสภาพหรือเปลี่ยนทดแทนส่งผลให้งานติดตั้งท่อใหม่ไม่สามารถดำเนินงานติดตั้งได้ตามมารฐานงานติดตั้งท่อกำหนด จากการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าวิธีการบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพงานท่อระบบสุขาภิบาลภายในอาคารเก่าที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ควรจัดให้มีเอกสารการตรวจสอบ แผนการบำรุงรักษาโดยเฉพาะนอกเหนือจากแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรใหญ่ สร้างระบบการบันทึกข้อมูลงานบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพ และจัดทำแบบก่อสร้างจริงกรณีมีงานเปลี่ยนทดแทนทุกครั้ง เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือตรวจสอบงานภายหลัง วิธีการดำเนินงานควรยึดตามทฤษฎีวิธีการบำรุงรักษาและตามมาตรฐานงานติดตั้งงานท่อระบบสุขาภิบาล
Other Abstract: A part of sanitary system in any building is an internal sanitary piping system which is set to provide convenience and safety to users. At a certain time of any old buildings, the sanitary piping system will require maintenance and improvement to make its functions fully available for use. This leads to the key objective of this case study which is to identify how to maintain and improve the sanitary piping system in old buildings. The data used in this case study are primary and secondary data of buildings aged over 20 years located at four existing and potential central business districts (CBD). This case study finds that there is no specific engineering management policy for sanitary piping system, which results in an unavailability of neither scheduled work procedure nor activity plan, including maintenance one. Since there is no scheduled maintenance task, building technicians normally do the maintenance and record activities only after any malfunctions or damage of the system occurs. In case that they cannot exercise basic maintenance, they then do a summary report on incidents/damage and request budget to make an improvement in the next fiscal year. Once the budget is approved, maintenance and improvement activities are executed by outsource service providers with conditions and restrictions. For examples, they cannot repair or improve sanitary piping system during building’s service hours. The working and piping path and location is unrealistically practical. Furthermore, there is no model construction for further reference. Additionally, this case study shows that piping locations, piping system applications, surrounding factors and maintenance plan are highly related to the piping system’s lifetime and its efficiency. With no standard scheduled maintenance plan, the piping system cannot reach neither its full functions nor lifetime. Its leak leads to unexpected and costly damage not only on leaking pipes but also the surrounding equipment and areas. This case study also finds that working and piping paths are not designed for further improvement, which makes it unnecessarily harder to repair or renew standardized system. In summary, to make maintenance and improvement of sanitary piping system in old building become sustainably efficient, standard maintenance and improvement activities plan, documentation, including scheduled tasks and incidents recording, and model construction for any repairs are highly recommended. All of this are crucial sources of reference. Every work procedure must theoretically comply with standard installment and maintenance of sanitary piping system.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51031
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773590025.pdf23.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.