Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51060
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | en_US |
dc.contributor.author | ปาริฉัตร ปิติสุทธิ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:09:55Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T02:09:55Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51060 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | วอชแบค (washback) เป็นปรากฏการณ์ที่การสอบมีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน โดยวอชแบคสามารถเป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งนี้วอชแบคทางบวก (positive washback) หมายถึง ครูมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระเมินเป็นฐานเพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายหลักสูตร ส่วนวอชแบคทางลบ (negative washback) หมายถึง ครูจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเพื่อให้ผู้เรียนได้คะแนนสูงมากกว่าการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับ ถือว่าเป็นการสอนเพื่อการสอบ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อน วอชแบคของกลุ่มครูที่อยู่ในบริบทที่ต่างกัน (2) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนวอชแบคของครู และทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อน วอชแบคของครูที่มีต่อ นักเรียน และตัวแปรอธิบายปรากฏการณ์วอชแบคของครูในห้องเรียน ตัวอย่างวิจัย คือ ครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 485 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (MANOVA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง จากนั้นมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับ ครูจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐานอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อการสอบที่มีความสำคัญสูง (การสอบระดับชาติ) ในด้านประโยชน์ของการสอบ ด้านมาตรฐานของข้อสอบ ด้านความยุติธรรมจากผลสอบ และด้านการใช้ผลการสอบโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง ครูรู้สึกมีอิสระในการจัดการเรียนการสอนภายใต้แรงกดกัดจากผู้เกี่ยวข้องใน ระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการจัดการเรียนสอนที่สะท้อนวอชแบคทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ในขณะที่พฤติกรรมการเรียนการสอนที่สะท้อนวอชแบคทางลบของครูอยู่ในระดับ ปานกลาง และผลที่เกิดกับผู้เรียนตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ผลการทดสอบความแตกต่างของตัวแปรของกลุ่มครูซึ่งอยู่ในบริบทที่ต่างกัน พบว่า ครูสังกัดเอกชนมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน มีความคิดเห็นต่อการสอบที่มีความสำคัญสูง มีพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนวอชแบคทางบวกและวอชแบคทางลบ สูงกว่าครูสังกัดสพฐ. นอกจากนี้ ครูในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะมีอิสระในการจัดการเรียนการสอน และพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนวอชแบคทางบวกสูงกว่าครูในโรงเรียนที่ไม่มีชื่อ เสียง 2. โมเดลเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนวอชแบคของครูมี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาจากค่าสถิติ Chi-Square = 15.21, df = 8, p = 0.06, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, RMR = 0.01, RMSEA = 0.04 โดยสังกัดโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อการสอนที่สะท้อนวอชแบคทางบวกและทางลบ เท่ากัน (0.18) ส่วนความมีชื่อเสียงของโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการสอนที่สะท้อน วอชแบคทางบวก (0.20) มากกว่าทางลบ (0.11) นอกจากนี้ยังพบว่ามุมมองและการปฏิบัติงานของครูโดยภาพรวมส่งผลต่อวอชแบคทางบวก (0.35) ซึ่งสูงกว่าที่ส่งผลต่อวอชแบคทางลบ (-0.14) และพฤติกรรมการสอนที่สะท้อนวอชแบคทางลบ (0.41) มีอิทธิพลต่อผลที่เกิดกับผู้เรียนสูงกว่าวอชแบคทางบวก (0.22) 3. การสอนของครูสะท้อนลักษณะของวอชแบคซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 การสอนเพื่อรู้ กลุ่ม 2 การสอนที่ไม่ได้เน้นเพื่อรู้และเพื่อสอบ กลุ่ม 3 การสอนเน้นเพื่อรู้และเพื่อสอบ และกลุ่ม 4 การสอนเน้นเพื่อสอบ โดยกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นการสอนเพื่อรู้มีเพียงร้อยละ 12.4 ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณว่า ครูที่เห็นความสำคัญของการสอบระดับชาติ การสอนโดยใช้แนวคิดการประเมินเป็นฐาน และความรู้สึกว่าตนมีอิสระในการจัดการสอน เป็นครูที่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมการสอนเพื่อรู้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Washback is the effect of testing on teaching and learning of teachers and students that can be considered either positive or negative. Positive washback enables teachers to design effective assessment-based instruction leading to students’ learning and goal achieving. On the other hand, negative washback encouraged teachers to design their teaching for the sake of best testing results with less concern about students’ learning. The aims of the research were: 1) to analyze and compare the differences of washback of teachers among different contexts, 2) to develop a cause-and-effect model of washback and to test the consistency of the model to the empirical data, and 3) to analyze washback of teachers on students and the variables that explained washback in teaching behaviors. A total of 485 teachers were selected by multi-stage random sampling from primary and secondary schools of the Office of the Basic Education Commission (OBEC) and Office of the Private Education Commission (OPEC). Quantitative data were collected by questionnaires and analyzed using descriptive statistics, MANOVA, and structural equation modeling. In addition, qualitative data were collected by semi-structured interview of eight teachers and were analyzed by content analysis. The results of this research can be summarized as follows: 1. Teachers used assessment-based instruction at medium level. Teachers expressed their opinions at a medium level on the benefits of national testing, the standard of test items, the fairness of test results, and the use of high-stakes testing results in classrooms. Similarly, the teachers also had moderate opinions about having the freedom to teach under pressure from other related people. Meanwhile, the teaching behaviors showed the positive washback at fair level, while the negative washback was at medium level. Similarly, the effects of teachers’ teaching on students were at medium level. The comparison of variables of teachers in different contexts had shown that private school teachers utilized assessment-based instruction, had opinions about high-stakes testing, performed positive washback and negative washback higher than those in government school teachers. Moreover, teachers in prestigious schools had more freedom to teach. The teaching behaviors that reflected positive washback were found to be higher than those in non-prestigious schools. 2. The cause-and-effect model of teaching that reflected positive washback of teachers confirmed the results of the empirical data based on the statistics at Chi-Square = 15.21, df = 8, p = 0.06, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, RMR = 0.01, and RMSEA = 0.04. The type of school, therefore, had direct effect on positive and negative washback in similar levels (0.18). In addition, both prestigious and non-prestigious schools had direct positive washback (0.20) higher than negative washback (0.11). Overall, the teachers’ perspective and performance affected higher positive washback (0.35) than negative washback (-0.14); and the effect of negative washback (0.41) on students was higher than those of the positive washback (0.22). 3. Washback can be grouped into four different types, including: 1) teach for knowledge, 2) teach for neither knowledge nor test, 3) teach for knowledge and test and 4) teach for test. Obviously, there was only 12.4% in the first group, teach for knowledge. The qualitative data confirmed the results of the quantitative research. Teachers who were aware of the importance of national testing used the assessment-based instruction since they perceived that they had freedom to teach so they tended to teach for knowledge. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1190 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ระบบการเรียนการสอน | |
dc.subject | การสอบ | |
dc.subject | การวัดผลทางการศึกษา | |
dc.subject | Instructional systems | |
dc.subject | Examinations | |
dc.subject | Educational tests and measurements | |
dc.title | ผลของการสอบระดับชาติที่มีต่อครูและนักเรียน: การวิเคราะห์ปรากฏการณ์วอชแบค | en_US |
dc.title.alternative | Effects of national testing on teachers and students : a washback effect analysis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suwimon.W@Chula.ac.th,wsuwimon@gmail.com,wsuwimon@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1190 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783339527.pdf | 4.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.