Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51086
Title: | บทบาทและศักยภาพของผู้พิการทางสายตาที่ถูกนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ "Blind Date" |
Other Titles: | ROLE AND POTENTIAL OF VISUALLY-IMPAIRED PEOPLE IN TV PROGRAM "BLIND DATE" |
Authors: | กันตภณ พุ่มประดับ |
Advisors: | ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Praputsorn.C@chula.ac.th,prapassornch@hotmail.com |
Subjects: | รายการ Blind Date (รายการโทรทัศน์) -- การผลิตและการกำกับรายการ คนตาบอด -- ภาวะสังคม รายการโทรทัศน์ -- แง่สังคม รายการสารคดีทางโทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ Blind Date (Television programs) -- Production and direction Blind -- Social conditions Television programs -- Social aspects Documentary television programs -- Production and direction |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางในการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของผู้พิการทางสายตา (2) ศึกษาบทบาทและศักยภาพของผู้พิการทางสายตาที่ถูกนำเสนอผ่านเนื้อหารายการโทรทัศน์ Blind Date และ (3) ศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ชมปกติและผู้ชมที่พิการทางสายตาที่มีต่อรายการโทรทัศน์ Blind Date โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interview) ผู้ผลิตรายการ, การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากเนื้อหารายการโทรทัศน์ Blind Date และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ชมปกติและผู้ชมที่พิการทางสายตา ผลการวิจัยพบว่ารายการโทรทัศน์ Blind Date มีรูปแบบเป็นรายการเรียลลิตี้ (Reality) กึ่งสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตของผู้พิการทางสายตา (แขกรับเชิญ) ผ่านมุมมองของคนตาดี (พิธีกร) ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงโดยการนัดพบกัน (date) เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้และทำความเข้าใจวิถีชีวิตของผู้พิการทางสายตาเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ ซึ่งการคัดเลือกเรื่องหรือประเด็นนำเสนอนั้นพิจารณาจากความน่าสนใจในเรื่องราวชีวิตของแขกรับเชิญเป็นหลักทั้งยังต้องมีมุมมอง ความคิดที่สามารถสะท้อนการเห็นคุณค่าในตนเองได้ด้วย ส่วนพิธีกรคัดเลือกจากกรอบประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับแขกรับเชิญเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างลึกซึ้ง เมื่อผู้วิจัยวิเคราะห์บทบาทและศักยภาพของผู้พิการทางสายตาที่ปรากฏในรายการพบว่าการนำเสนอศักยภาพของผู้พิการทางสายตาเรียงตามลำดับความถี่ของการนำเสนอศักยภาพของผู้พิการทางสายตาจากมากไปน้อยได้ดังนี้ (1) ด้านการเรียนรู้และรับรู้ (2) ด้านการประกอบอาชีพ (3) ด้านการดำเนินชีวิต (4) ด้านการสื่อสารและการเข้าสังคมและ (5) ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าบทบาทของผู้พิการทางสายตาที่ปรากฎนั้นเป็นบทบาทที่เกิดจากสถานภาพที่ได้รับในภายหลังอาจได้มาโดยตำแหน่งหรือการแต่งตั้ง ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่มพบว่าผู้ชมมีการรับรู้ มีความเข้าใจต่อประเด็นเรื่องการเรียนรู้และรับรู้ การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตาได้เป็นอย่างดี และได้เห็นมุมมองความคิดที่หลากหลายของผู้พิการทางสายตา โดยพบว่าตอน “ช่างไม้ ทักษะอาชีพคนตาบอด” เป็นตอนที่ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มชื่นชอบมากที่สุดเนื่องจากได้เห็นศักยภาพของผู้พิการทางสายตาในการประกอบอาชีพที่มีอันตรายสูง รองลงมาคือตอน “เที่ยว ด้วยมุมมองใหม่” ที่นำเสนอให้เห็นว่าผู้พิการทางสายตาสามารถท่องเที่ยวได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ในการรับรู้ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งทำให้ผู้ชมเข้าใจว่าการท่องเที่ยวที่แท้จริงไม่ได้ใช้แค่สายตาเพื่อรับรู้แต่ต้องใช้ใจสัมผัสกับความงามของธรรมชาตินั้นด้วย ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มยังชื่นชอบพิธีกรและแขกรับเชิญที่มีกรอบประสบการณ์ใกล้เคียงกันซึ่งส่งผลให้ผู้ชมได้เห็นมุมมองความคิดที่หลากหลายของทั้งคู่นำมาซึ่งความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ดีผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือต้องการให้ผู้ผลิตรายการนำเทคโนโลยีเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) มาใช้เพื่อให้ผู้ชมทุกกลุ่มเข้าถึงได้ |
Other Abstract: | This qualitative research aimed to explore (1) the guidelines of creating a television program that promotes the roles and potential of visually-impaired people, (2) the role and potential of those people that were on the show Blind Date, and (3) the perception and attitudes of the viewers of this program including those visually impaired. The research was conducted through In-Depth interview of the production team, Textual Analysis and Focus group with normal viewers and those visually impaired. The findings revealed that Blind Date was a combination of documentary and reality show presenting the life of a visually-impaired person (the guest) through the perspective of a celebrity (the host). They met on a date and exchanged ideas about a visually-impaired person’s way of life so that normal viewers could better deal with those visually impaired. The selection of issues to be presented in the program was based on the guest’s interesting aspects of his/her life and the viewpoints worth presenting while the selection of the host was based on whether he/she had a similar background as the guest so that they could deepen their understanding. The analysis of the roles and potential of the visually-impaired people was based on their frequency of presentation. The roles and potential were ranked from the highest frequency to the lowest as follows: (1) learning and perception, (2) career, (3) way of life, (4) communication and socialization and (5) self-esteem. In addition, it was found that the roles of these visually-impaired were assigned or appointed. According to the focus group, the viewers were well aware of learning and perception, career and way of living of visually-impaired people; moreover, a variety of their points of view were obtained. The viewers in the focus group agreed that they liked the episode “Carpenter: Career of the Blind” most, followed by “Travel with New Perspectives”, presenting visually-impaired people who could travel with the help of their other senses. This made the viewers realize that true traveling does not need eyesight but the heart to admire the beauty of nature. The viewers liked the host and the guest that had a similar background, providing the viewers with a deeper understanding of the issues presented. They suggested that the producers should incorporate audio description into the program so that viewers at all levels could access it. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51086 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.975 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.975 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784654328.pdf | 12.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.