Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51107
Title: ความคลั่งผิวขาวในสังคมไทย
Other Titles: White skin obsession in Thailand
Authors: ทักษอร ภุชงค์ประเวศ
Advisors: ธานี ชัยวัฒน์
กุลลินี มุทธากลิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Thanee.C@Chula.ac.th,Thanee.c@gmail.com
Gullinee.M@chula.ac.th
Subjects: ค่านิยมสังคม -- ไทย
ค่านิยมในวัยรุ่น -- ไทย
สีผิวมนุษย์
Social values -- Thailand
Values in adolescence -- Thailand
Human skin color
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของค่านิยมผิวขาวในสังคมไทย จนกระทั่งมีลักษณะเป็นปรากฏการณ์ “ความคลั่งผิวขาว” ในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของการครอบงำและสร้างวาทกรรมผิวขาว และศึกษาการผลิตซ้ำวาทกรรมผิวขาวในยุคทุนนิยมปัจจุบัน โดยใช้กรอบวาทกรรมของ มิเชล ฟูโกต์ มาประกอบการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและตีความสัมพันธ์-บทบาทของ อำนาจ ความรู้ และความจริง ในการประกอบสร้างวาทกรรมผิวขาวในแต่ละสมัย และส่งผลต่อค่านิยมผิวขาวของปัจเจกบุคคลภายใต้โครงสร้าง โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 28 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผลการศึกษา พบว่าค่านิยมผิวขาวของสังคมไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 สมัย สมัยที่หนึ่ง คือผิวสีเนื้อสองสีที่มีความนวลเนียน หรือผิวขาวเหลืองดั่งทอง/ดั่งดวงจันทร์ ซึ่งเป็นผลจากการประกอบสร้างวาทกรรมผ่านงานวรรณกรรมจากชนชั้นสูงและระบบปิตาธิปไตย โดยรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของอินเดีย สมัยที่สอง คือผิวขาวเลืองและผิวสีน้ำผึ้ง ที่เริ่มมีกลิ่นไอจากอิทธิพลผิวขาวอมชมพูแบบตะวันตก เมื่อวัฒนธรรมอินเดียถูกกดทับและแทนที่ด้วยวัฒนธรรมตะวันตก สมัยนี้ค่านิยมสีผิวขาวอมชมพูแบบตะวันตกจึงเป็นวาทกรรมใหม่ที่เข้ามาปะทะและกดทับค่านิยมผิวงามแบบอินเดียให้อ่อนแรงลง โดยวาทกรรมผิวขาวในช่วงแรกของสมัยที่สองมาจากชนชั้นสูงและช่วงหลังมาจากภาครัฐหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และสมัยที่สามซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน คือผิวสีขาวอมชมพู หรือขาวออร่าแบบเกาหลี เป็นสมัยที่วาทกรรมผิวขาวเกิดจากการผลิตซ้ำร่วมกันระหว่างฝั่งทุนนิยมและปัจเจกบุคคลภายใต้โครงสร้าง วาทกรรมผิวขาวในยุคปัจจุบัน จึงเป็นผลมาจากค่านิยมผิวขาวในประวัติศาสตร์ ผสมผสานกับการพัฒนา และอำนาจของสื่อโฆษณาที่แบ่งแยก-กีดกัน-กดทับ ให้วาทกรรมผิวขาวกลายเป็นเรื่องธรรมชาติ สื่อและสถาบันจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างอคติทางสีผิวให้เข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์ความคลั่งในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งในสังคม ผ่านการทา ดื่ม กิน และฉีดยาเพื่อปรับ/เปลี่ยนสีผิวเดิมจากผิวคล้ำให้กลายเป็นผิวขาว เปรียบเสมือนการอัด-ฉีดยา สลักเรือนร่างเพื่อสร้างอำนาจย้อนแย้งโครงสร้างที่กดทับปัจเจกบุคคล และเสพสุขอำนาจ และทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้กลับมาจากการสร้างทุนทางกายภาพผ่านการทำผิวขาว ​
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the development of white skin preference in Thai society and study the discursive practice at different period of time. The main theory of the study is Discourse of Michel Foucault which also talks about the relationship and practice of power and knowledge which affect people thoughts and perspectives about things. The data is collected by document and in-depth interview of 28 people who engage in "white skin preference'' phenomenal. The study is concluded that: white skin preference in Thai society can be divided into 3 ages. The first age is two-tone skin color with smooth texture or yellow as gold-moon skin color. At this age, skin discourse is produced by royal. The second age is white-yellow skin tone color with the combination of Western skin tone influence. At this age skin discourse is produced by royal at first and then the government after political revolution 1932. The third age (present time), is white-pink skin tone or white and shiny like Korean skin. At this age, white skin discourse resulted from the reproduction of media and some group of individual. The commercial advertisement divide and exclude dark skin people as the group of "Marginal one", this process creates stronger skin bias in Thai society until it affects some group of people to "craft" their bodies by consuming whitening drink/pills and whitening shot. This behavior can be called "white skin obsession". Some women in Thailand at the present time are willing to craft their bodies by changing their skin color in order to create physical capital and in return, gain power which can create economic and social capital back to them through having white or whiter skin.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51107
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1013
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1013
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785271829.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.