Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5117
Title: การกราฟต์สไตรีนและเมทิลเมทาคริเลตบนยางธรรมชาติในกระบวนการอิมัลชันแบบกะและกึ่งกะ
Other Titles: Grafting of styrene and methyl methacrylate onto natural rubber in batch and semi-batch emulsion process
Authors: ปรีชา สุนทรเรืองยศ
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ppattara@netserv.chula.ac.th, Pattarapan.P@Chula.ac.th
Subjects: ยางพารา
กราฟต์โคโพลิเมอร์
อิมัลชันโพลเมอไรเซชัน
สไตรีน
เมธิลเมทาคริเลท
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกราฟต์สไตรีนและเมทิลเมทาคริเลตบนยางธรรมชาติในกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบคอร์-เซลล์อิมัลชัน โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปฏิกิริยาการกราฟต์โคพอลิเมอไรเซชัน ได้แก่ ปริมาณตัวริเริ่มปฏิกิริยา ปริมาณสารก่ออิมัลชัน อุณหภูมิของพอลิเมอไรเซชัน อัตราส่วนสไตรีนต่อเมทิลเมทาคริเลต อัตราส่วนมอนอเมอร์ต่อยางธรรมชาติ รูปแบบการเติมมอนอเมอร์ และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา โดยศึกษาหาประสิทธิภาพการกราฟต์ และสัดส่วนการกราฟต์ของยางธรรมชาติกราฟต์ซึ่งหาได้โดยการสกัดด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม หาส่วนประกอบของยางธรรมชาติกราฟต์ โดยคำนวณหาเปอร์เซ็นต์โดยโมลของไอโซปรีน สไตรีน และเมทิลเมทาคริเลตจากการวิเคราะห์หาธาตุ CHO ศึกษาสัณฐานวิทยาของยางธรรมชาติกราฟต์ด้วยเครื่อง TEM พบว่าการกราฟต์โคพอลิเมอไรเซชันเป็นแบบคอร์-เชลล์ ศึกษาสมบัติเชิงกลของยางธรรมชาติกราฟต์โดยการนำยางธรรมชาติกราฟต์มาขึ้นรูปให้มีความหนาสม่ำเสมอ จากการศึกษาพบว่าภาวะเหมาะสมในการเตรียมยางธรรมชาติกราฟต์ คือ ภาวะที่ใช้ปริมาณตัวริเริ่มปฏิกิริยา 1.5 ส่วนโดยน้ำหนัก ปริมาณสารก่ออิมัลชัน 1.5 ส่วนโดยน้ำหนัก มอนอเมอร์ 100 ส่วนโดยน้ำหนักต่อ 100 ส่วนโดยน้ำหนักของยางธรรมชาติ เวลาในการเติมมอนอเมอร์ 2 ชั่วโมง และอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง และยังมีการศึกษาถึงผลของอัตราส่วนสไตรีนต่อเมทิลเมทาคริเลตต่อสมบัติเชิงกลต่างๆ ได้แก่ ค่าความต้านแรงดึง ความยืดเมื่อขาดและค่ายังโมดูลัส พบว่าสมบัติเชิงกลของยางธรรมชาติกราฟต์ดีที่อัตราส่วน สไตรีนต่อเมทิลเมทาคริเลต 25:75 และ 50:50
Other Abstract: The graft copolymerization of methyl methacrylate and styrene onto natural rubber in the emulsion process was studied. The graft copolymerization was carried out by varying initiator concentration, emulsifier concentration, reaction temperature, styrene per methyl methacrylate ratio, monomer per natural rubber ratio, type of monomer addition and reaction time. The grafting efficiency and graft ratio of grafted natural rubber determined by solvent extraction technique and monomers conversion were studied and discussed. The copolymer composition was determined by CHO analyzer and determined particle morphology by Transmission Electron Microscrope showed the core-shell structure of grafted natural rubber latex. The grafted natural rubber latex was casted and compression molded into sheet, the mechanical properties were measured. The optimum conditions was at 100 parts by weight of monomer per 100 parts by weight of natural rubber latex, the emulsifier contents of 1.5 parts by weight, the initiator contents of1.5 parts by weight, time of add monomer addition 2 hours and temperature of 70 ํC for 8 hours. The effects of styrene per methyl methacrylate ratio on tensile strength, elongation at break and Young's modulus were investigated. The appropriate amount of styrene per methyl methacrylate ratio which yield good mechanical properties were 25:75 and 50:50.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5117
ISBN: 9743327509
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
preecha.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.