Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51209
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันการเกิดโรคหืดในเด็กวัยเตาะแตะที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืด
Other Titles: THE EFFECT OF PERCEIVED SELF - EFFICACY PROMOTING PROGRAM ON PREVENTIVE BEHAVIOR OF MOTHERS OF TODDLER AT RISK FOR ASTHMA
Authors: วรวลัญช์ บรรลือทรัพย์
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: branomrod@gmail.com,branomrod@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันการเกิดโรคหืดในเด็กวัยเตาะแตะที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของเด็กวัย 1-3 ปีที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืด ซึ่งนำบุตรตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนตามแนวคิดของแบนดูรา ประกอบด้วย การประเมินความพร้อม การใช้ตัวแบบ การลงมือปฏิบัติจริง การให้คำแนะนำและใช้คำพูดชักจูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันการเกิดโรคหืด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคหืดในเด็กวัยเตาะแตะที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืด กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคหืดในเด็กวัยเตาะแตะที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืด กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi – experimental study aimed to examine the effect of self-efficacy promoting program on preventive behavior of mothers of toddler at risk for asthma. The sample of this study were mothers of toddlers at risk for asthma who took their children to receive medical care at the outpatient department of Chonprathan Hospital, Nonthaburi. The sample were divided into two groups of 30 each, the experimental group received the self-efficacy promoting program and the control group received the conventional health education from staff nurses. The program consisted of assessment, modeling, enactive mastery experiences and verbal persuasion. Data were collected using a questionnaire asking about preventive behavior of mothers that had internal consistency with alpha coefficients of .85. Data were analyzed using descriptive and t-test statistic. The results of this study were as follows: 1. Preventive behavior of mothers of toddler at risk for asthma of the experimental group after receiving the self-efficacy promoting program was significantly better than before receiving the program (p<.05). 2. Preventive behavior of mothers of toddler at risk for asthma of the experimental group after receiving the self-efficacy promoting program was significantly better than those in the control group (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51209
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577192436.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.