Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51223
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมินท์ จารุวรen_US
dc.contributor.authorชุติมา เลิศนันทกิจen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:39Z-
dc.date.available2016-12-02T06:02:39Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51223-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการสร้างภาพลักษณ์และการปรับประยุกต์เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงหุ่นละครเล็กของคณะคำนาย โดยใช้แนวการศึกษาแบบเทียบกับละครและแนวการศึกษาคติชนด้านการสื่อสาร การแสดงในการศึกษาวิเคราะห์ เก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี 2556 - 2558 ในการสร้างภาพลักษณ์พบว่าคณะคำนายใช้บ้านศิลปิน คลองบางหลวง เป็น "เวที" หรือเป็น "เขตหน้าฉาก" เพื่อแสดงการเชิดหุ่นละครเล็กและเพื่อสอนศิลปะการแสดงโขนและการเชิดหุ่นละครเล็กโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้แก่เยาวชน มีวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนโดยการไปร่วมแสดงเป็นมหรสพหน้าศพให้แก่ชาวคลองบางหลวงโดยไม่ต้องว่าจ้าง ส่วนใน "เขตหลังฉาก" การแสดงหุ่นละครเล็กคืออาชีพและความอยู่รอดของคณะ การนำเสนอเขตหน้าฉากในลักษณะดังกล่าวทั้งที่ผ่านการแสดงโดยตรงและผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ช่วยทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์ของคณะคำนายในฐานะเป็นกลุ่มศิลปินที่มีอุดมคติในการสืบทอดและเผยแพร่ศิลปะการเชิดหุ่นละครเล็ก คณะคำนายนำเรื่องรามเกียรติ์จำนวน 5 สำนวนมาปรุงเป็นบทแสดง ได้แก่ 1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 3. บทมโหรีประสมวงคอนเสิร์ตเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 4. โคลงภาพรามเกียรติ์ รอบระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 5. บทโขนชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ของกรมศิลปากร ฉบับปรับปรุงใหม่ และการแสดงเบิกโรงเรื่องเมขลา รามสูร การนำเรื่องรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ ทำให้คณะคำนายมีการแสดง 2 รูปแบบ คือ การแสดงขนาดสั้นจำนวน 10 ชุด ซึ่งเน้นแสดงการเกี้ยวนางและการจับนาง และการแสดงขนาดยาวจำนวน 3 ชุด ซึ่งเกิดจากการนำการแสดงขนดสั้นชุดต่าง ๆ มาเรียงร้อยให้เชื่อมโยงกัน บทที่ใช้แสดงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการนำเรื่องราว แนวคิด และตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์มาปรับประยุกต์ใช้ โดยวิธีการปรับรูปแบบคำประพันธ์หรือเนื้อหา การคัดลอกคำประพันธ์บางบท และการแต่งบทขึ้นใหม่ ทำให้เห็นตัวบทเรื่องรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ ที่ถูกนำมาถ่ายทอดในบริบทใหม่ผ่านศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก การสืบทอดศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กด้วยข้อจำกัดทั้งด้านงบประมาณและจำนวนนักแสดง ทำให้คณะคำนายต้องสร้าง "ภาพลักษณ์" และ "ภาพจำ" ให้แตกต่างไปจากหุ่นละครเล็กคณะอื่นๆ ในสังคมไทยร่วมสมัย จึงต้องปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งตัวหุ่น ผู้เชิด การแต่งกาย ดนตรี และฉาก ในลักษณะที่เป็นการบริการจัดการเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว การวิจัยในประเด็นนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการสืบทอดและการดำรงอยู่ของศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ ในเชิงคติชนวิทยาได้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis to study image creation and application of The Ramakien to the Thai small puppet performance of Khamnai group. Using Dramaturgical approach and Performance centered approach to analyze. Doing field work during 2556 – 2558 This study reveals that The artist house at Klongbanglung is “setting” or “front region” of khamnai group for free Thai small puppet show and free Khon and Thai small puppet teaching. They make a good relationship with Klongbanglung people by free show to funeral entertainment. In “back region” Thai small puppet performance is their occupation and existence of Khamnai group. Their performance In “front region” by themselves and mass media make the ideal artist group. They apply five versions of Ramakien to their performance. 1. The Ramakien of King Rama I 2. The Ramakien of King Rama II 3. The Ramakien of His Royal Highness Prince Narissaranuwattiwong in Nang Loy episod 4. The poems of mural painting along the galleries of the temple of the Emerald Buddha 5. The Ramakien masked play poem in The maiyarap Battle episode of Fine Arts Department and The Mekhala Ramasura prelude performance. They have two types performances are short and long performances. The khamnai’s thai small puppet dramas represent application story concept and character from Ramakien by change poetry pattern copy poetry and create poetry. The Khamnai group present the new version of Ramakien in the new context by their Thai small puppet performace.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleคณะคำนาย: การสร้างภาพลักษณ์และการปรับประยุกต์เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงหุ่นละครเล็กen_US
dc.title.alternativeKHAMNAI PUPPET GROUP: IMAGE CREATION AND APPLICATION OF THE RAMAKIENTO THE PERFORMANCE OF THAI SMALL PUPPETRYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPoramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580121222.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.