Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51244
Title: การวิเคราะห์แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติของนักเรียนอาชีวศึกษา: กรณีศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
Other Titles: AN ANALYSIS OF STUDIO ART LEARNING STYLES OF VOCATIONAL STUDENT:A CASE STUDY OF COMPUTER GRAPHIC PROGRAM
Authors: เอกชน โพธินาม
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Poonarat.P@Chula.ac.th,ppoonarat@gmail.com,ppoonara@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติของนักเรียนอาชีวศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 2) เพื่อศึกษาแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติกับภูมิหลังต่างกันในเรื่องเพศ ระดับชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิทยาลัย ภายใต้สมมติฐานของการวิจัยคือภูมิหลังที่แตกต่างกันมีผลต่อแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดประเมินค่า 5 ช่วงคะแนน แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบวิเคราะห์ผลงานศิลปะชนิดตรวจสอบรายการเกี่ยวกับแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติ 4 แบบ ตามแนวคิดของ จอห์น เอ ไมเคิล ได้แก่ 1) แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบเชิงกล 2) แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบดั้งเดิม 3) แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบเชิงปัญญา 4) แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบสหัชญาณและอารมณ์ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) จากแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติทั้ง 4 แบบ นักเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบเชิงเชิงกลมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบเชิงปัญญา ศิลปะปฏิบัติปฐมแบบสหัชญาณและอารมณ์ ตามลำดับ ส่วนแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ แบบการเรียนศิลปะปฏิบัติปฐมแบบดั้งเดิม 2) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติจำแนกตามภูมิหลังเกี่ยวกับเพศ ระดับชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาลัย และจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ภูมิหลังเรื่องเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิทยาลัย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนระดับชั้นปีไม่มีความแตกต่างกันของแบบการเรียนศิลปะปฏิบัติทั้ง 4 แบบ ตามระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study studio art learning styles in computer graphic program of vocational students, 2) to analyze studio art learning styles and individual background such as gender, class rank, achievement, and college under research hypothesis – different background influenced different impacts of studio art learning styles with statistical significance level of .05 The sample of the research were 226 vocational students who studied in computer graphic program. The data was collected from questionnaire to measure the satisfaction, semi-structured questionnaires, and art analysis form about 4 types of studio art learning styles through the theory of John A. Michael including 1) Mechanical Orientation 2) Primitive Orientation 3) Intellectual Orientation 4) Intuitive emotional Orientation. The data was analyzed to find percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of this study found that 1) from 4 types of studio art learning styles, most students had Mechanical Orientation. It was followed by Intellectual Orientation, and intuitive and Intuitive emotional Orientation, respectively. The least was Primitive Orientation. 2) Regarding to the influences of factors and the results of hypothesis test, it was found that the sample with different gender, academic achievement, and college had different studio art learning styles with statistical significance level of .05, and the sample with different class rank had indifferent studio art learning styles with statistical significance level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51244
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583356027.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.