Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51246
Title: รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ด้วยการจัดแสดงออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายของนิสิตปริญญาบัณฑิต
Other Titles: A LEARNING MODEL USING THE SYNECTICS TECHNIQUE WITH ONLINE DISPLAY TO DEVELOP PHOTOGRAPHIC COMMUNICATION SKILLS OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: จิรวัฒน์ วัฒนาพงษ์ศิริ
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Praweenya.S@Chula.ac.th,praweenya@gmail.com,Praweenya.s@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ด้วยการจัดแสดงออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายของนักศึกษาปริญญาตรี 2. เปรียบเทียบคะแนนสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ฯ เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ 2) สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) 3) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริคส์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาบัญฑิตที่เรียนวิชาถ่ายภาพ จำนวน 12 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านถ่ายภาพ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต การทดสอบค่า t-test dependent และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลวิจัยพบว่า 1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคนิคซินเนคติกส์ 2) การจัดแสดงออนไลน์ 3) ความรู้เบื้องต้นด้านองค์ประกอบศิลป์ 4) อุปกรณ์การถ่ายภาพ 5) เครื่องมือตกแต่งภาพถ่าย และ 6) สื่อการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนรู้ฯ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นวิเคราะห์โจทย์ โดยมีขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ผู้เรียนกำหนดโจทย์ที่ได้รับจากผู้สอน 2) ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของโจทย์และเปรียบเทียบคุณลักษณะเด่นระหว่างสองสิ่งที่ได้เลือกมา 3. ผู้เรียนใช้การเปรียบเทียบตามเทคนิคที่ได้กำหนด และ4. ผู้เรียนตรวจสอบความเชื่อมโยงของการวิเคราะห์กับโจทย์ (3) ขั้นขยายความการวิเคราะห์โจทย์ (4) ขั้นถ่ายภาพตามแผนการขยายความโจทย์ (5) ขั้นตกแต่งภาพถ่าย และ (6) ขั้นเผยแพร่ผลงาน 2. คะแนนสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายของนักศึกษาปริญญาบัญฑิตที่เรียนด้วยรูปแบบฯ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research study has 2 main objectives to 1. design a learning model using the Synectics Techniques with Online Display to develop photographic communication skill of undergraduate students 2. compare the relative growth score of photographic communication skills of students that study using the model. The instrument used in this research consist of 1) lessons plan based on the instructional model in total of 7 weeks 2) Social Media (Facebook) 3) Rubrics samples were 12 students who enrolled in photography class Experts in teaching with Synectics Method, experts in teaching photography, and experts in Educational technology in total of 7. Data analysis procedures were by means, t-test dependent and standard deviation. The results founded were 1. the model designed consisted of 6 elements 1) Synectics Technique 2) Medias 3) Online Display 4) Camera Gear 5) Utility and 6) Basic Knowledge of Composition. The learning procedure consisted of 5 steps as follows: 1. Analyze which includes 4 minor steps as follows 1. Identify the topic of issue 2. research to have clear understanding of the given issue and compare the corresponded attributes between the two items 3. Use the analogy's characteristic provide to further analyze the issue and 4. Recheck for relevency of the analyzed result with the given topic 2. Elaborate 3. Execute 4. Edit and 5. Publishing. 2) The photographic Communication Skills scores of the Post-test from the students who studied using the model suggested a higher score that pre-test showed a difference at the significance level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51246
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583372027.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.