Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51258
Title: รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
Other Titles: The school management model to enhance the professional learning community in classroom action research
Authors: ฐาปณัฐ อุดมศรี
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chanyapim.U@Chula.ac.th,chayapim.u@chula.ac.th
Pruet.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียน -- การบริหาร
การศึกษา -- วิจัย
ชุมชนกับโรงเรียน
School management and organization
Education -- Research
Community and school
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎี ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม โดยมีแหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการวิจัย และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 480 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยใช้การวิเคราะห์ Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียน6 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหารแบบทางการ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน รูปแบบการบริหารแบบการเมือง รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย รูปแบบการบริหารแบบกำกวม และรูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม โดยใช้องค์ประกอบในการจำแนกรูปแบบได้แก่ ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ ธรรมชาติของโครงสร้าง การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก แบบของภาวะผู้นำ และรูปแบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง 2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การสนับสนุนและแลกเปลี่ยนภาวะผู้นำ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม การกำหนดและแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน การปฏิบัติงานแบบร่วมมือ การปฏิบัติที่มุ่งผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและครู และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนวิธีการปฏิบัติ 3) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CAR ) ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การประเมินเพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษานักเรียนที่มีปัญหา และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน 2. สภาพปัจจุบันเป็นรูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน (f = 143) รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f = 75) รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม (f = 74) รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f = 41) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย (f = 6) และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f = 4) ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์เป็นรูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน (f = 136) รูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม (f = 92) รูปแบบการบริหารแบบทางการ (f = 73) รูปแบบการบริหารแบบการเมือง (f = 34) รูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย (f = 5) และรูปแบบการบริหารแบบกำกวม (f = 3) ตามลำดับ และ 3. รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบยืดหยุ่นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นการบูรณาการรูปแบบการบริหารแบบกำกวมและแบบวัฒนธรรม” ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 7 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและความสำคัญ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบยืดหยุ่นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 8 องค์ประกอบ คือ การกำหนดเป้าประสงค์ การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อม โครงสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม แบบของผู้นำ และแบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง 5) แผนภาพของรูปแบบและการนำไปใช้ 6) ปัจจัยความสำเร็จ และ 7) ประโยชน์ที่ได้รับ
Other Abstract: The objective of this mixed methods research are to review the framework and theory, to study current conditions and desired conditions and developing School Management Model to enhance the professional learning community in classroom action research. The resources and sampling group of the research are documents and related research, related research professionals and 480 secondary schools. Research tools are assessment form of research framework, current conditions and desired conditions questionnaire and assessment form of School Management Model to enhance the professional learning community in classroom action research. Three types of data analysis were used in this research, content analysis, basic statistical analysis which were percentage, mean and standard deviation and Priority Needs analysis by using Modified Priority Needs Index (PNI Modified). The research revealed three important findings. 1. The framework and theory of the school management model to enhance the professional learning community in classroom action research includes 1) Six school management models, namely formal, collegial, political, subjective, ambiguity and cultural Model classifications that were used are level at which goals are determined, process by which goals are determined, relationship between goals and decisions, nature of decision process, nature of structure, links with environment, style of leadership and related leadership model. 2) Six stages of enhancing the professional learning community namely, supporting and exchanging leadership, supporting environmental factors, defining the vision, mission and share the goal of interoperability, cooperating, focusing on the learning outcomes of students and teachers and exchanging learning and reflective practices 3) Classroom Action Research (CAR), namely analysis of the individual student, assessment to develop learning plans, student with problems case studies and development of innovation in teaching and learning 2. The current school management model is the collaboration between models of collegial (f = 143), formal (f = 75), cultural (f = 74), political (f = 41), Subjective (f = 6) and ambiguity (f = 4), respectively. The desired school management model is the collaboration between models of collegial (f = 136), cultural (f = 92), formal (f = 73), political (f = 34), subjective (f = 5) and ambiguity (f = 3), respectively. 3. “The flexible school management model that conforms to the culture for enhancing the professional learning community in classroom action research” is the collaboration of ambiguity model and cultural model. There are seven essential components, namely 1) model name 2) principle and emphasis 3) objective of the flexible school management model that conforms to the culture for enhancing the professional learning community 4) eight model elements which are Goals Setting, Share Vision Mission and Goals, Shared Personal Practice, Supportive Conditions, Interactive Structure, Links with Environment, Style of Leaders and Related Leadership 5) diagram of the model and its use 6) success factors and 7) benefits
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51258
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1122
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1122
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584208027.pdf39.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.