Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51330
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ | en_US |
dc.contributor.author | นัฏธพล ลิมปิสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:04:49Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T06:04:49Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51330 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | อาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นอาคารสำหรับตรวจรักษาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล เปิดใช้งาน เมื่อปี พ.ศ.2532 ปัจจุบันอาคาร ภปร มีอายุอาคาร 26 ปี เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สภาพพื้นที่การใช้งานก็เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับอาคารและระบบประกอบอาคารต่างๆที่เสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน ทำให้อาคาร ภปร.เริ่มมีการปรับปรุงส่วนต่างๆ เพื่อให้กลับคืนมารองรับการใช้งานอาคารได้เป็นปกติ ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลจำเป็นต้องเปิดให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้งานปรับปรุงมีลำดับขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากโครงการทั่วไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงการ ขั้นตอนและผลกระทบระหว่างการดำเนินงานขณะเปิดใช้งานอาคารอยู่ และเป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยจาก การสำรวจ, สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลอาคาร รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารรายงานของแต่ละโครงการในอดีต นำมาวิเคราะห์ สรุปผล และอภิปรายผลการศึกษา จากผลการศึกษาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ลักษณะโครงการถูกจำแนกออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1.) ลักษณะโครงการสถาปัตยกรรม 2.) ลักษณะโครงการงานระบบ 3.) ลักษณะโครงการงานสถาปัตยกรรมและงานระบบ 4.)ลักษณะโครงการงานสถาปัตยกรรม โครงสร้างและงานระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารในขณะปรับปรุงระบบอาคาร เช่น เสียง ฝุ่นละออง สำหรับแนวทางการป้องกันควรต้องจัดเตรียมพื้นที่กั้นและทางสำรองเพื่อช่วยลดปัญหาในความไม่สะดวกระหว่างการใช้งานอาคาร รวมไปถึงจัดเตรียมระบบสำรองเพื่อรองรับกับระบบประกอบอาคารเมื่อมีการปิดการเชื่อมต่อระบบ ส่วนในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยต่างๆภายในอาคาร ภปร เพื่อไม่ให้แผนงานล่าช้า ควรมีการจัดประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันของทุกหน่วยงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และก่อให้เกิดการบริหารอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดสำคัญในการบริหารทรัพยากรกายภาพ จากการศึกษาจึงมีข้อสรุปและเสนอแนะ สำหรับโครงการปรับปรุงลักษณะนี้ ในเบื้องต้นโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีความเข้าใจในความต้องการในการใช้งานอาคาร มีการจัดคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการบริหารอาคารและตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อประเมินคุณภาพระบบประกอบอาคารทั้งหมดอย่างเป็นระบบ โดยเน้นแผนระยะยาวเพื่อให้การปรับปรุงอาคารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้สอดคล้องกันในทุกๆระบบงานเพื่อให้เกิดการใช้งานอาคารได้อย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาที่จะเกิดตามมาในภายหลัง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคารเมื่อมีการเปิดใช้งานอาคารอยู่ คือการประสานงานทั้งภายในองค์กร เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานภายในอาคาร และกลุ่มผู้ใช้งานอาคารเพื่อช่วยลดผลกระทบและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานปรับปรุงอาคารเป็นไปได้อย่างราบรื่น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Phor Por Ror Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society is a building to provide service for external patients, launched in 1989. The building is 26 years old. Because this building has been used to welcome many visitors and necessary to open for 24 hours, then its area is often developed and renovated in order to enable the use of the building and increase its capacity. Therefore, it was found that there are many projects regarding building development and renovation for this building. This study aimed at characteristics of project, process and effects occurring during using the building. This is case study. Data collection used interview of building staff as well as past report. After data analysis, the finding is indicated. Finding indicated that during 5 years , the projects were divided into 4 characteristics including 1) architectural project, 2) building service project, 3) building service and architectural project characteristics 4) architectural, structural and building service project. The effect is caused by noise and dust during the building development and renovation. The problem prevention can be done by preparing the baffles and reserved walkway as well as reserved connection system in case of the main system is unusable. In terms of coordination with other staff in the building, the collaborative work plan can done in order to avoid delay of the work and the work result can be achieved in the same direction, in ordering to the physical management. From the study, the research finding concluded that the hospital should understand the demand of building utilization, have the operation committee in order to systematically administrate the building usage and evaluate the building effectiveness. The recommendation also draws attention to focus on developing the building with the most capacity. The most important is that there should be coordination with other staff in different area and users in order to maximize development and renovation effectiveness. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.542 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | |
dc.subject | อาคารสูง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | |
dc.subject | อาคารโรงพยาบาล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | |
dc.subject | สถาปัตยกรรมโรงพยาบาล | |
dc.subject | King Chulalongkorn Memorial Hospital | |
dc.subject | Tall buildings -- Maintenance | |
dc.subject | Hospital buildings -- Maintenance | |
dc.subject | Hospital architecture | |
dc.title | การปรับปรุงระบบอาคารของอาคารสูงประเภทโรงพยาบาล ในระหว่างเปิดใช้งานอยู่ กรณีศึกษา อาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | The renovation of the building systems of high-risehospital during occupancy : case study of Phor Por Ror Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Traiwat.V@Chula.ac.th,TriwatV9@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.542 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773319325.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.