Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย ปรีชาวัฒน์en_US
dc.contributor.advisorพลภัทร โรจน์นครินทร์en_US
dc.contributor.authorณหทัย ฉัตรสิงห์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:05:02Z
dc.date.available2016-12-02T06:05:02Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51338
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractที่มาของปัญหาในการวิจัย โรคไตวายเรื้อรังนอกจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังโดยการให้ยาต้านเกล็ดเลือดยังแนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินเหมือนกับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปรกติ แต่การศึกษาที่ผ่านมามีความขัดแย้งกันถึงประโยชน์ของยาแอสไพรินต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรัง และยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังยังมีโอกาสเกิดภาวะดื้อต่อยาแอสไพรินได้มากกว่าผู้ป่วยไตปรกติ วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบภาวะดื้อต่อยาแอสไพรินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เทียบกับผู้ใหญ่ที่มีการทำงานของไตปรกติ วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า (Prospective non-randomized clinical trial ) โดยคัดเลือกอาสาสมัครที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงเดือน มกราคม 2559 จำนวนทั้งหมด 26 ราย อาสาสมัคที่เข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือกจะแบ่งเป็นกลุ่มไตปรกติเมื่อค่าครีอะตินีนน้อยหรือเท่ากับ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือค่าอัตรากรองของเสียมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ1.73ตารางเมตร2และกลุ่มไตวายเรื้อรังเมื่อค่าอัตรากรองของเสียน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ1.73ตารางเมตร2ไตปรกติ ทั้งสองกลุ่มจะนำไปเจาะเลือดเพื่อดูการทำงานของเกล็ดเลือดโดยวิธีเวอร์ริฟายนาวแอสไพริน (VerifyNow Aspirin) ถ้าค่าการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปรกติจะไม่นำมาศึกษาต่อ นำกลุ่มที่การทำงานของเกล็ดเลือดปรกติมารับประทานแอสไพริน 81 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลาเจ็ดวัน แล้วนำมาเจาะเลือดดูการทำงานของเกล็ดเลือดซ้ำอีกครั้ง ค่า Aspirin Reaction Units ( ARU) ที่ ≥550 แสดงถึงการดื้อยาแอสไพริน นำสัดส่วนการดื้อยาแอสไพรินของกลุ่มไตวายเรื้อรังมาเทียบกับกลุ่มไตปรกติ โดยใช้วิธี Chi-square test หรือ Fisher’s exact test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ARU ของทั้งสองกลุ่มโดยใช้ independent sample t-test มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวนยี่สิบหกคน แบ่งเป็นกลุ่มไตวายเรื้อรังสิบสามคน กลุ่มไตปรกติสิบสามคน เป็นผู้ชาย 69.2 เปอร์เซ็นต์ อายุเฉลี่ยกลุ่มไตวายเรื้อรังและกลุ่มไตปรกติเท่ากับ 67.9±10.8 ปีและ 64.3±7.8 ปีตามลำดับ ค่าเฉลี่ยอัตรากรองของเสียเท่ากับ 9.7±4.5 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ1.73ตารางเมตร2 ในกลุ่มไตวายเรื้อรัง โดยทั้งยี่สิบหกคนไม่มีรายใดที่มีค่าเกล็ดเลือดผิดปรกติก่อนได้ยาแอสไพริน ค่าเฉลี่ย ARU ก่อนได้แอสไพรินเท่ากับ 597.1 ± 37.6 และ 610.4 ± 35.0 ในกลุ่มไตวายเรื้อรังและกลุ่มไตปรกติ (p = 0.36) หลังได้รับยาแอสไพรินกลุ่มไตวายเรื้อรังและกลุ่มไตปรกติมี การดื้อต่อยาแอสไพรินสามราย( 23.1%) และสองราย( 15.4%) ตามลำดับ โดยการดื้อต่อยาแอสไพรินทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=1.00) รวมถึงค่าเฉลี่ย ARU หลังได้ยาแอสไพรินก็ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(453.8 ± 91.2) ในกลุ่มไตวายเรื้อรัง และ เท่ากับ 470.8 ± 88.8 ในกลุ่มไตปรกติ , p =0.633) สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีภาวะดื้อต่อยาแอสไพรินไม่แตกต่างในผู้ใหญ่ที่มีการทำงานของไตปกติen_US
dc.description.abstractalternativeBackground. Chronic kidney disease is considered one of the potential risk factors for cardiovascular diseases with prognostic significance. Current clinical practice guidelines provides no specific recommendation for aspirin use in the chronic kidney disease patients. Conflicting data has been shown from numerous studies in term of cardiovascular benefits of aspirin and more frequent incidence of aspirin resistance in the patients with impaired renal function. Purpose: To study the effect of low-dose oral aspirin on platelet reactivity in chronic kidney disease patients as compared to patients with normal renal function. Methods: We conducted a single-center prospective non-randomised clinical trial (n = 26) at King Chulalongkorn Memorial Hospital between November 2015 to Janurary 2016. Thirteen patients chronic kidney disease defined by glomerular filtration rate (GFR) ≤ 15 ml/min/1.73 m2 were recruited to the study group. Age and sex-matched thirteen patients with normal renal function defined by GFR ≥ 90 ml/min/1.73 m2 or serum creatinine≤ 1 mg/dL were subsequently enrolled into the control group. Initial platelet reactivity was quantified by using VerifyNow Aspirin in order to exclude participants with Aspirin Reaction Units (ARU) < 550. Oral aspirin 81 mg per day was given to both group for seven consecutive days. Platelet reactivity was reassessed at the end of the study. Aspirin resistance was defined by ARU ≥ 550. Proportion of aspirin resistance was compared as a categorical variable by using Fisher’s exact test. Mean ARU values in both group were compared by using independent sample t-test with a significance level of 0.05. Results: Twenty-six patients were analysed. Male was 69.2% in both groups. Mean age were 67.9 ± 10.8 and 64.3 ± 7.8 year-old, mean GFR were 9.7 ± 4.5 ml/min/1.73 m2 in study groups. At the end of the study, there were three patients (23.1%) in the study group and two patients (15.4%) in the control group developing aspirin resistance (p = 1.00). Mean ARU measured before using aspirin in the study and control groups were not significantly different (597.1 ± 37.6 vs 610.4 ± 35, p = 0.36). There was no significant different in mean ARU after using low-dose aspirin for seven days (453.8 ± 91.2 vs 470.8 ± 88.8, p =0.633). Conclusion: Proportion of aspirin resistance (ARU ≥ 550) and platelet reactivity after using low-dose aspirin for seven days in the patients with impaired and normal renal function were not different.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.706-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไต -- โรค -- ผู้ป่วย
dc.subjectไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
dc.subjectแอสไพริน
dc.subjectแอสไพริน -- ผลข้างเคียง
dc.subjectKidneys -- Diseases -- Patients
dc.subjectChronic renal failure -- Patients
dc.subjectAspirin
dc.subjectAspirin -- Side effects
dc.titleผลของยาแอสไพรินต่อการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดวัดโดยวิธีเวอร์ริฟายนาวแอสไพรินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเปรียบเทียบกับในผู้ใหญ่ที่ไตทำงานปกติen_US
dc.title.alternativeEffect of aspirin on platelet aggregation measured by verifynow aspirin method in patients with chronic kidney disease compared to adults with normal renal functionsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomchai.Pr@chula.ac.th,S_prechawat@hotmail.com,prechawat@gmail.com,somchai80754@yahoo.comen_US
dc.email.advisorPonlapat.R@Chula.ac.th,rojnuckarinp@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.706-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774020830.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.