Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51344
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชูศักดิ์ ลิโมทัย | en_US |
dc.contributor.advisor | ทายาท ดีสุดจิต | en_US |
dc.contributor.author | ปณัชยา น้อยวงศ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:05:07Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T06:05:07Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51344 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา: ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะ SUDEP ในประเทศไทย ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาของการทำงานวิจัยนี้ โดยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษาในศูนย์โรคลมชักครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะการเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุในโรคลมชัก ของผู้ป่วยโรคลมชักที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย: รูปแบบงานวิจัยแบบการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาทั้งหมด 21 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2558 ในการหาอุบัติการณ์ของภาวะ SUDEP ใช้ฐานข้อมูลจากคลินิกโรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และข้อมูลทะเบียนราษฎร์กระทรวงมหาดไทย จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับการเกิดภาวะ SUDEP โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมทั้งหมด 200 รายที่เป็นผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยสถิติ Log-rank test และ Cox-regression analysis โดยแสดงข้อมูลเป็น Hazard ratio 95% CI of adjusted HR และ p-value โดยกำหนดค่าความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 4,647 ราย ที่สามารถค้นหาข้อมูลผู้ป่วยได้ มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะ SUDEP ทั้งหมด 21 ราย โดยเป็นผู้ป่วยในกลุ่ม Probable SUDEP ทั้งหมด 8 ราย, Possible SUDEP ทั้งหมด 13 ราย ส่วนกลุ่มควบคุมมีทั้งหมด 200 ราย incidence rate รวมของ Probable SUDEP และ Possible SUDEP เท่ากับ 4.52 per 1,000 person (95%CI: 2.59 to 6.45 per 1,000 person) โดยที่ incidence rate ของ Probable SUDEP เท่ากับ1.51 per 1,000 person (95%CI: 0.39 to 2.62 per 1,000 person) และ Possible SUDEP incidence rate เท่ากับ 3.01 per 1,000 person (95%CI: 1.44 to 4.59 per 1,000 person) จากการวิเคราะห์แบบ multivariate analysis พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ SUDEP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) อายุ พบว่าผู้ป้วยที่มีอายุ 15-29 ปี มีโอกาสเกิดภาวะ SUDEP มากกว่ากลุ่มอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี 19.81 เท่า (p-value 0.002) 2) เพศ พบว่าเพศชายมีโอกาสเกิดภาวะ SUDEP มากกว่าเพศหญิง 3.16 เท่า (p-value 0.039) , 3) การใช้ phenytoin พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาระงับอาการชัก phenytoin มีโอกาสเกิดภาวะ SUDEP มากกว่า 3.19 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ phenytoin (p-value 0.024) และ 4) ความถี่ของอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวช่วงแรกที่เริ่มเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคลมชัก พบว่าผู้ป่วยที่มีความถี่มากกว่า 3 ครั้งใน 3 เดือน มีโอกาสเกิดภาวะ SUDEP มากกว่า 3.6 เท่า (p-value 0.018) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีความถี่อาการชักน้อยกว่า 3 ครั้งใน 3 เดือน สรุป: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรกในประเทศไทยและในประเทศกลุ่มเอเชียที่แสดงข้อมูล incidence rate ของภาวะ SUDEP โดยข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแหล่งข้อมูลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดย incidence rate รวมของ Probable SUDEP และ Possible SUDEP เท่ากับ 4.52 per 1,000 person (95%CI: 2.59 to 6.45 per 1,000 person) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะ SUDEP มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ช่วงอายุ 15-29 ปี, เพศชาย, ผู้ป่วยที่ใช้ยาระงับอาการชัก phenytoin, ความถี่ของอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวช่วงแรกที่เริ่มเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคลมชัก ที่มีความถี่มากกว่า 3 ครั้งในช่วง 3 เดือน งานวิจัยนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางคลินิก คือ ทำให้ทราบถึง incidence rate ของ SUDEP ในคนไทย และทราบถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีป้องกันต่อไป และที่สำคัญยังเป็นข้อมูลที่เป็นจุดเริ่มต้นการวิจัยภาวะ SUDEP ในระดับประเทศไทยและในเอเชีย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objective: To ascertain incidence rate of SUDEP and identify the associated risk factors for SUDEP in epileptic patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital Method: This research is a retrospective cohort study. Study period was 21 years, from 1994 to 2015. We collected data from our database to use for calculation of incidence rate of SUDEP. All patients who lost to follow-up were verified for their aliveness with office of Civil Registration, Ministry of Inferior (Thailand). All patients who died were initially collected and then the patients who died of causes other than SUDEP were excluded. Risk factors for SUDEP were analyzed by comparison between SUDEP patients and alive patients who still followed up at our clinic. Univariate analysis with Log-rank test and multivariate analysis with Cox-regression analysis were used to identify associated risk factors for SUDEP. The data was shown with Hazard ratio (HR), 95% CI and p-value which statistical significance was reached when p-value < 0.05. Result: 4,647 patients who we were able to track for their aliveness were included. 21 patients were verified as dying of SUDEP. These consisted of 8 patients with probable SUDEP and 13 patients with possible SUDEP. Overall incidence rate of SUDEP was 4.52 per 1,000 person (95%CI: 2.59 to 6.45 per 1,000 person), probable SUDEP incidence rate was 1.51 per 1,000 person (95%CI: 0.39 to 2.62 per 1,000 person) and possible SUDEP incidence rate was 3.01 per 1,000 person (95%CI: 1.44 to 4.59 per 1,000 person). When compared with control group which was 200 alive epileptic patients, upon multivariate analysis associated risk factors for SUDEP were significantly associated with 1) younger age for which age between 15 and29 years had significantly higher risk as compared with age ≥ 45 years (HR 19.81, p-value 0.002), 2) male sex (HR 3.16, p-value 0.039), 3) using phenytoin (HR 3.19, p-value 0.024), and 4) greater initial seizure frequency (> 3 seizures in 3 months) of generalized tonic clonic seizure (HR 3.8, p-value 0.018) as opposed to the patients with lower seizure frequency. Conclusion: This study provides the first documented incidence rate of SUDEP in Thailand and Asian countries. The incidence rate of SUDEP is 4.52 per 1,000 person in our tertiary epilepsy center. Significantly associated risk factors were younger age (between 15 and 29 years), male sex, using phenytoin and greater initial seizure frequency of generalized tonic clonic seizure. Our data is beneficial for treating physician to use for identifying the patients who were at risk for SUDEP. Preventive measures may be provided to these patients. This will also generate the future attempts for studying of SUDEP in Thailand and Asian countries. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.709 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ลมบ้าหมู -- ผู้ป่วย | |
dc.subject | ลมบ้าหมู -- ผู้ป่วย -- การตาย | |
dc.subject | Epilepsy -- Patients | |
dc.subject | Epilepsy -- Patients -- Mortality | |
dc.title | อุบัติการณ์เเละปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะการเสียชีวิตแบบกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุในผู้ป่วยโรคลมชักของศูนย์โรคลมชักตติยภูมิของประเทศไทยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Incidence and associated risk factors of Sudden Unexpected Deathin Epilepsy (SUDEP) in the epileptic patients of Thailand Tertiary Epileptic Centerat Chulalongkorn Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chusak.L@chula.ac.th,chuneuro@yahoo.com | en_US |
dc.email.advisor | Tayard.D@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.709 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774044930.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.