Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51435
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุษกร กาญจนจารี | - |
dc.contributor.author | สายทิพย์ จิตตมาศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-12-15T09:56:59Z | - |
dc.date.available | 2016-12-15T09:56:59Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51435 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en_US |
dc.description.abstract | ตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธศาสนาได้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ณ นาลันทามหาวิหาร เมื่อประมาณ พ.ศ. 1000 ซึ่งเป็นกิจการที่พระภิกษุเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐให้ความอุปถัมภ์มีการจัดการศึกษาแก่พระสงฆ์ ทั้งในด้านศาสนาและวิชาการทางโลกทั่วๆ ไป แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ได้มีบทบาทที่สำคัญในการเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่พระภิกษุมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ทั้งด้านพระปริยัติธรรมและวิชาการที่ทันสมัยต่างๆ ด้วยเช่นกัน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาสงฆ์ในสังคมไทย ระหว่าง พ.ศ. 2489-2526 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ได้มีการจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยสงฆ์อย่างแท้จริง จากการศึกษาทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ได้มีบทบาทต่อสังคมไทยหลายประการ คือ มีบทบาทในการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรให้มีความรู้ทั้งในทางศาสนาและวิชาการสมัยใหม่ อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาไทย กฎหมาย จิตวิทยา ปรัชญา ภูมิศาตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลป และบรรณารักษศาตร์ เป็นต้น พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยสงฆ์ยังได้จัดหลักสูตรให้พระภิกษุได้ออกไปปฏิบัติศาสนกิจในการพัฒนาชนบท โดยการพัฒนาวัด พัฒนาหมู่บ้าน พัฒนาจิตใจ และพัฒนาสติปัญญา รวมทั้งการศึกษา ตลอดจนให้การบริการและการสงเคราะห์ในด้านต่างๆ แก่ประชาชน ปรากฏกว่าในปีหนึ่งๆ มีพระภิกษุที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่กลับไปพัฒนาท้องถิ่นเดิมของตน มีจำนวนหนึ่งที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ แล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรือทำงานด้านธุรการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อีกจำนวนหนึ่งลาสิกขาไปประกอบอาชีพแบบฆราวาส เป็นต้นว่า ครู อาจารย์ และอนุศาสนาจารย์ หรือหากมีโอกาสไปศึกษาต่อในต่างประเทศและลาสิกขาก็กลับมารับราชการในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ยังได้ส่งพระภิกษุที่สำเร็จการศึกษาจำนวนหนึ่ง ออกไปบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมตามโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น โครงการพระธรรมฑูต และพระธรรมจาริก แม้ว่า มหาวิทยาลังสงฆ์จะมีบทบาทต่อสังคมดังกล่าวแล้ว แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งในประเด็นที่มหาวิทาลัยสงฆ์ ควารได้รับการรับรองวิทยฐานะจากรัฐบาลหรือไม่ ข้อโต้แย้งนี้ได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลามากว่า 20 ปี | en_US |
dc.description.abstractalternative | According to the history of Buddhism, the Buddhist University of Nalanda was founded in 457 A.D. and was considered the first Buddhist university in the world. In this state-supported university, monks were given education not only in religious fields but also in general subjects. Thus, Nalanda indicates a long history of the importance of Buddhist education of university level. As for Thailand, Buddhist universities were first established by King Chulalongkorn: Mahamakut University and Maha Chulalongkorn University. This thesis aims to study the role of Buddhist universities in Thai society form 1946 to 1983. the period which these two institutions have become universities in the true sense. The findings indicated that these universities not only educate monks and novices in religious fields and modern lay subjects but also carry out training course for monks to devote themselves to community development in remote areas. The responsibilities of these monks include uplifting the well-being of the villagers, spiritual and educational guidance as well as social services. It appears that each year a large number of graduates return to their hometown. Some, however, further their studies abroad. Upon their return, some join the teaching staff of their own Buddhist universities while others decide to leave the monkhood to join the government service. In addition, some monks are selected by the Buddhist universities and assigned programmes of propagating the faith as well as devoting themselves to social services. Despite the fact that the two Buddhist universities have contributed considerably to Thai society, it has been disputed for over twenty years whether or not the status and degree of these Buddhist universities should be given recognition by the government. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.34 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสงฆ์ | en_US |
dc.subject | สงฆ์ -- การศึกษา | en_US |
dc.subject | Mahachulalongkornrajavidyalaya University | en_US |
dc.subject | Mahamakut Buddhist University | en_US |
dc.subject | Priests, Buddhist -- Education | en_US |
dc.title | บทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในสังคมไทย 2489-2526 | en_US |
dc.title.alternative | Role of Buddhist universities in Thai society 1946-1983 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1984.34 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saitip_ch.pdf | 24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.