Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยนาถ บุนนาค-
dc.contributor.authorสมโชติ วีรภัทรเวธ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-12-29T11:34:26Z-
dc.date.available2016-12-29T11:34:26Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51469-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพัฒนาการของมหาวิทยาลัยไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459-2500 โดยเน้นการศึกษาใน 3 ด้านคือ แนวคิดและความเป็นมา รูปแบบโครงสร้างของกระบวนการจัดการศึกษา และผลของการจัดการศึกษา จากการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยไทยได้มีจุดกำเนิดและแนวคิดมาจากความมุ่งหมายในการผลิตคน เพื่อเข้ารับราชการในหน่วยงานของรัฐอันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2435 โดยมีที่มาจากการผสมผสานแนวความคิดที่ได้จากการศึกษาดูงานจากต่างประเทศ แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย โดยนำแนวคิดสำคัญมาจากญี่ปุ่นและอินเดีย ซึ่งผ่านการรับและถ่ายทอดมาจากตะวันตกอีกทอดหนึ่ง ในขั้นต้นมหาวิทยาลัยไทยได้ขยายงานจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ขยายงานจากการผลิตคนเข้ารับราชการ เพื่อเป็นการเรียนการสอนแบบตลาดวิชาเพื่อขยายความมุ่งหมายให้กว้างออกไป จึงได้ทำการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น แต่ปรากฏว่าผลจากการเรียนการสอนในระยะแรกนั้นมีอุปสรรคที่สำคัญคือ ด้านงบประมาณ หลักสูตร ความไม่เหมาะสมของสถานที่และการขาดแคลนบุคลากร จึงทำให้การเรียนการสอนในระยะแรกยังไม่ถึงขั้นปริญญาตรี ภายหลังที่ได้มีการเจรจาความร่วมมือระหว่างมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์กับรัฐบาลไทย จึงทำให้สามารถจัดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตได้สำเร็จเป็นปีแรก ใน พ.ศ. 2466 จนมีผู้สำเร็จการศึกษาครั้งแรกใน พ.ศ. 2471 อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยยังคงมีภารกิจหลักทางด้านการสอน ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนมากก็ยังคงเข้ารับราชการเป็นสำคัญ ยกเว้นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่สามารถเข้าทำงานในบริษัทเอกชนได้ด้วย กิจกรรมนิสิตในช่วงเวลานี้ยังเน้นทางด้านความบันเทิงและกีฬาเป็นหลัก หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมาย การเมืองการปกครอง ให้แพร่หลายสู่ประชาชนเพื่อรองรับต่อระบบการปกครอง ในเวลานี้มหาวิทยาลัยได้มีรูปแบบโครงสร้างที่อิสระมากขึ้น จึงทำให้สามารถพัฒนาการศึกษาไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น จนทำให้มีการขยายการเรียนการสอนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของทั้งสองมหาวิทยาลัย และยุคนี้นิสิตนักศึกษาได้เริ่มเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้น ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายงานตามความมุ่งหมายของรัฐในเฉพาะด้านตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ยังไม่ก้าวหน้ามากนักเพราะอยู่ในช่วงระหว่างการก่อตั้งและขาดแคลนงบประมาณ ส่วนมหาวิทยาลัยที่ตั้งมาก่อนหน้านั้น สามารถดำเนินงานไปได้อย่างก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพen_US
dc.description.abstractalternativeTo study the history and development of university in Thailand since B.E. 2459-2500 by focusing on 3 aspects include concept and background, form of structure of the educational planning and the result of the educational planning. The study found that the original intention and concepts of university in Thailand came from the aim to produce capable personnel to work in the public sector which was the result of the state reformation in the reign of King Chulalongkorn, B.E. 2435. This educational concept adapted from other country, the significant concept was mixed from Japan and India by developing educational system from European country. At the beginning, Thai university was upgraded from the Royal Pages School to the Civil Service College. After that, King Vajiravudh desire to expand the duty of the school, not only to served the public sector but also expanding more disciplines so as to spread variety of knowledge to serve other sector, therefore, he established Chulalongkorn University. The education in University had important obstacles at the beginning, such as financial budget, course, unsuitable place and skillful staffs that made the education unsuccessful. Then, after the co-operation of Thai government and The Rockefeller Foundation, the Medical Education Program first started in B.E. 2466. The first graduated students were in B.E. 2471. However, Chulalongkorn University has the principle missions in producing civil servant and almost graduated students still working in the public sector except graduated students from Engineering Program who also capable work in the privet sector. The student activities at this period, focusing on entertainment and sport. After the establishment of constitutional monarchy, Thammasat University was established to spread the knowledge of Law and Politic to Thai citizen. In this period, the structure of university are more independent that result in the rapidly of educational development of Chulalongkorn University and Thammasat University in both quantity and quality and the students began to play important role and participation in Politic. After the World War II, Medical University, Kasetsart University and Silpakorn University were established to expanded knowledge follow up the state policy. The administration of Kasetsart University and Silpakorn University had less progression because they had just established and they had less financial budget, while the university that established before had better progression both in quantity and quality.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.641-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- ประวัติen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย -- ประวัติen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Thailand -- Historyen_US
dc.subjectEducation, Higher -- Thailand -- Historyen_US
dc.titleพัฒนาการของมหาวิทยาลัยไทย พ.ศ. 2459-2500en_US
dc.title.alternativeDevelopment of Thai universities, 1917-1957en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPiyanart.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.641-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somchot_ve_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch1.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch2.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch3.pdf17.04 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch4.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch5.pdf11.69 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_ch6.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
somchot_ve_back.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.