Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51540
Title: การวิเคราะห์และลดของเสียในกระบวนการผลิตท่อส่งน้ำระบายความร้อนในรถยนต์โดยใช้เทคนิค FMEA
Other Titles: Defects analysis and reduction for automotive heat transfer pipe assembly process by FMEA technique
Authors: ณัฐพล บัวกล่ำ
Advisors: จรูญ มหิทธาฟองกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fiecmh@eng.chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การลดปริมาณของเสีย
รถยนต์ -- การทำความร้อนและการระบายความร้อน
Automobile supplies industry -- Waste minimization
Automobiles -- Heating and ventilation
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และลดของเสียของกระบวนการผลิตท่อส่งน้ำระบายความร้อนในรถยนต์ โดยใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพ (Failure Mode and Effect Analysis. FMEA) มาใช้ในการวิเคราะห์และลดของเสียในโรงงานตัวอย่าง จากการวิเคราะห์ระบบการผลิตตลอดจนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตโดยการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าของเสียส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการบัดกรีแข็งโดยอุปกรณ์จับยึดตัวที่ 2 ,บัดกรีแข็งโดยอุปกรณ์จับยึดตัวที่ 1,การส่งชิ้นงานไปผลิตนอกโรงงานและส่งไปชุบสังกะสี งานวิจัยเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตท่อส่งน้ำระบายความร้อนในรถยนต์และค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อข้อบกพร่อง โดยอาศัยการระดมสมองด้วยการใช้แผนผังแสดงเหตุผล และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่อง ผลกระทบด้านคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิต(PFMEA) จากนั้นให้ทีมผู้ชำนาญการที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เพื่อประเมินค่าความรุนแรงของข้อบกพร่องค่าโอกาสการเกิดข้อบกพร่อง และค่าโอกาสการตรวจพบข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตเพื่อคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะทำการแก้ไขลักษณะข้อบกพร่องที่มีค่า RPN ตั้งแต่ 100 คะแนนขึ้นไปโดยทางทีมผู้ชำนาญการได้ดำเนินการปรับปรุงผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน คือโรงงานตัวอย่างได้รูปแบบการผลิตท่อส่งน้ำระบายความร้อนในรถยนต์ ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ผลการดำเนินการแก้ไข พบว่า 1.เปอร์เซ็นต์ของเสีย ของกระบวนการบัดกรีแข็งโดยอุปกรณ์จับยึดตัวที่ 2 ลดลงจาก12.37% เป็น 3.08% 2.เปอร์เซ็นต์ของเสีย ของกระบวนการบัดกรีแข็งโดยอุปกรณ์จับยึดตัวที่ 1ลดลงจาก 11.40% เป็น 2.57% 3.กระบวนการส่งชิ้นงานไปผลิตนอกโรงงานลดลงจาก 2.29% เป็น 1.86% 4.กระบวนการส่งชิ้นงานชุบสังกะสีลดลงจาก 2.16% เป็น 1.96%
Other Abstract: The objectives of this thesis are to analyze and reduce defective for automotive pipe assembly process by using Failure Mode and Effect Analysis; FMEA. FMEA is the quality tools used to search for quality factors. From process and part defect study by collection and analysis of data. The most of defects occur from assembly brazing process by jig fixture number 2 ,assembly brazing process by jig fixture number 1,send part to supplier ,send part to supplier zinc. The research is started from studying the process and brain storming to look for quality factors of automotive pipe assembly process by using Cause and Effect Diagram and Failure Mode and Effect Analysis (PFMEA).After that, specialists in automotive pipe industry analyze and evaluate the severity, occurrence and detection of each defect to calculate risk priority number help to specify risk of defect occurrence, which have RPN higher value than 100. Specialists in automotive pipe assembly process have action in this research. The other advantage from this action is that sample factory has the guide line of produce which has the properties corresponding to customer requirement. By using such technique for analyzing and reducing of defects are concluded as 1.Reduce the percentage of assembly brazing process by jig fixture number 2 from 12.37% to 3.08% respectively. 2.Reduce the percentage of assembly brazing process by jig fixture number 1 from 11.40% to 2.57% respectively. 3.Reduce the percentage of send part to supplier from 2.29% to 1.86% 4.Reduce the percentage of send part to supplier zinc from 2.16% to 1.96%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51540
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.806
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuttapon_bo_front.pdf834.56 kBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch1.pdf530.45 kBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch2.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch3.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch4.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch5.pdf575.22 kBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_ch6.pdf467.15 kBAdobe PDFView/Open
nuttapon_bo_back.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.