Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51559
Title: การกระจายตัวของแคดเมียมในดินทีมีการปนเปื้อน
Other Titles: Distribution of cadmium in contaminated soil
Authors: อนงนาฏ ศรีประโชติ
Advisors: สมใจ เพ็งปรีชา
ปารมี เพ็งปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: somchai.pe@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การปนเปื้อนของแคดเมียม
ดิน -- การปนเปื้อนของแคดเมียม
แคดเมียม
Cadmium
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวและส่วนประกอบทางเคมีของแคดเมียมและสังกะสีในดินที่มีการปนเปื้อนแคดเมียม ในพื้นที่บ้านพะเด๊ะ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยเก็บตัวอย่างดินสองแบบ คือ เก็บตัวอย่างแบบกริดที่ระดับผิวดิน (0-20 เซนติเมตร) ทุก 200 เมตร ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร จำนวน 25 ตัวอย่าง แบ่งพื้นที่เก็บตัวตัวอย่างออกเป็นสี่พื้นที่คือ พื้นที่ดอนน้ำขัง พื้นที่ดอน และพื้นที่ป่า และเก็บตัวอย่างตามความลึก ที่ระดับความลึก 0-10, 10-20 และ 20-40 เซนติเมตร ประกอบด้วยตะกอนลำห้วย ที่ลุ่ม และที่ดอนฝั่งขวาและฝั่งซ้าย ลำห้วยแม่ตาว ดินควบคุมเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ปลูกข้าว 1 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือของบ้านพะเด็ะ ผลการศึกษา พบว่าดิน ในพื้นที่ศึกษาเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ตลอดความลึก มีเพียงดินที่ลุ่มที่ระดับความลึก0-20 เซนติเมตร เท่านั้นที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว และดินควบคุมเป็นดินร่วน พีเอชดินมีค่าตั้งแต่ 5.39-8.22 และ ค่อนข้างคงที่ตลอดความลึก อินทรียวัตถุอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5-49 และความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าอยู่ระหว่าง9.7-20 เซนติโมลต่อกิโลกรัม และมีปริมาณลดลงตามความลึกทั้งอินทรียวัตถุและความจุบวกมีค่าอยู่ระหว่าง9.7-20 เซนติโมลต่อกิโลกรัม และมีปริมาณลดลงตามความลึกทั้งอินทรียวัตถุและความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ดินที่ลุ่มมีปริมาณแคดเมียมเฉลี่ยเท่ากับ 27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณสังกะสีเฉลี่ยเท่ากับ 550 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และดินที่ดอนน้ำขังมีปริมาณแคดเมียมเฉลี่ยเท่ากับ 23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและปริมาณสังกะสีเฉลี่ยเท่ากับ 536 กิโลกรัม ดินตะกอนลำห้วยมีปริมาณแคดเมียมที่ระดับความลึก 0-10 เซนติเมตร เท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณสังกะสีเท่ากับ 1,326 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่พื้นที่ดอน พื้นที่ป่า และพึ้นที่ควบคุม มีปริมาณแคดเมียม อยู่ระหว่าง 0.34-2.59 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสังกะสีมีค่าอยู่ระหว่าง 14-272 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสหภาพยุโรป ปริมาณแคดเมียมและสังกะสีมีปริมาณลดลงตามความลึกในทุกพื้นที่ ปริมาณแคดเมียมทั้งหมดมีความสมัพันธ์กับปริมาณสังกะสีทั้งหมด(R = 0.950) พื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอนน้ำขังแคดเมียมอยู่ในส่วนที่ดูดยึดด้วยคาร์บอเนตมากกว่าร้อยละ 50 ของผลรวมส่วนประกอบทางเคมีทั้งหมด พื้นที่ดอน พื้นที่ป่า และพื้นที่ควบคุม แคดเมียมอยู่ในส่วนที่คงเหลือในดินมากกว่าร้อยละ 60 ของผลรวมส่วนประกอบทางเคมีทั้งหมด และมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามความลึกในทุกพื้นที่ สังกะสีในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอนน้ำขังอยู่ในส่วนที่ดูดยึดด้วยออกไซด์ของเหล็กและแมงกานีส และส่วนที่คงเหลือในดินมรปริมาณใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ31 ถึง34 ของผลรวมส่วนประกอบทางเคมีทั้งหมด ดินตกตะกอนลำห้วย ส่วนใหญ่พบแคดเมียมและสังกะสีที่ดูดยึดด้วยออกไซด์เหล้กและแมงกานีส ร้อยละ 52 และ 54 ของผลรวมส่วนประกอบทางเคมีทั้งหมด เรียงตามลำดับ แคดเมียมส่วนที่พืชนำไปใช้ได้สัมพันธ์กับแคดเมียมส่วนที่ดูดยึดด้วยคาร์บอเนตที่ R =0.912 ในขณะที่สังกะสีที่พืชนำไปใใช้ได้สัมพันธ์กับสังกะสีส่วนที่ดูดยึดด้วยออกไซด์ของเหล้กและแมงกานีสที่ R= 0.822
Other Abstract: The study was conducted to investigate the distribution and frationation of Cd and Zn in contaminated soil. The study area located in Pha Te village. Mae Sot district, Tak Province. Two kinds of soil sampling sites were classifield into 4 location, they were lowland, waterlogged highland, and forest area. Were sampling first, only surface soil (0-20 cm) were collected by grid method (200m x 200 m), hence 25 samples were obtained from 1 km[subscript2]. Second, sampling were according to depth (0-10, 10-20 and 20-40 cm) for sediment, lowland and highland. Control soil samples were collected from paddy field 7 km located north of Pha Te village. The results revealed that in most areas, soils had sandy clay loam throughour depths, the exceptions was 0-20 cm of lowland and control and which clay loam and was detected. Soil pH ranged from 5.35-8.22 and same or less constant throughout the depth. Organic matter and CEC content were 1.5-4.9% and9.7-20 cmol(+)kg[subscript-1] respectively of them. Both Om and CEC had trend to decrease with depth. Total Cd and Zn at lowland and waterlogged highland were higher than acceptable limits of EU while these found on the other locations were lower. Distributions of them decreased with depth. Average contents soil surface of them from each location were 27 mg Cd kg [superscript -1] and 550 mg Zn kg [superscript-1] (lowland)23 mg Cd kg [superscript-1] (waterlogged highland). Sediment soil which 0-10 cm dept was sampled, had 70 mg Cd kg[superscript -1] and 1,326 mg Zn kg[superscript-1]. While highland, forest and control soils control soils contained 0.34-2.59 mg Cd kg[superscript-1] and 14-272 mg Zn kg [superscript-1]. Total Cd had relation with Zn (R[superscript2=0.950). More than 50% of fractionation Cd from lowland and waterlogged highland was the carbonate bound. While for highland, forest and control the residual fraction dominated (>60%). And this fraction increased with depth. For fractionation Zn of these location, the Fe&Mn oxide-bound and residual fractions somewhat similar (approximately 31 to 34%). For the sediments, the Fe&Mn oxide-bound Cd and Zn dominated (52 and 44%, respectively). Available Cd had relation with carbonated-bound fraction (R = 0.822).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51559
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.65
ISBN: 9741434839
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.65
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anongnat_sr_front.pdf268.47 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_ch1.pdf308.53 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_ch2.pdf571.51 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_ch3.pdf381.7 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_ch4.pdf774.42 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_ch5.pdf171.09 kBAdobe PDFView/Open
anongnat_sr_back.pdf428.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.