Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51563
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
Other Titles: Effects of sele-management program on hba1c and quality of life of elderly patients with diabetes mellitus
Authors: อุทัยพรรณ รุดคง
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: s_sasat@yahoo.com
Subjects: เบาหวานในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
คุณภาพชีวิต
น้ำตาลในเลือด
Diabetes in old age
Older people -- Care
Older people -- Care
Blood sugar
Issue Date: 2549
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและเปรียบเทียบระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลควนขนุน จำนวน 40 คน โดยจับคู่ เพศ อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และชนิดของยาเบาหวานที่ได้รับ แล้วสุ่มด้วยการจับฉลากแต่ละคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88 และหาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .88 เครื่องตรวจระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะสำหรับห้องปฏิบัติการ ที่ผ่านการตรวจสอบจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งกำหนดการตรวจสอบไว้เป็นมาตรฐานและตรวจสอบความเที่ยงตรงด้วยสารมาตรฐานที่ทราบค่า 2 ระดับทุกครั้งก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้สูงอายุโรคเบาหวานหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( = 7.36 %, SD = 1.06) 2. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( = 134.00, SD = 7.82) คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีมาก 3. ระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้สูงอายุโรคเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 ( กลุ่มทดลอง = 7.36%, SD = 1.06; กลุ่มควบคุม = 8.15%, SD = 2.49) 4. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( กลุ่มทดลอง = 134.00, SD = 7.82; กลุ่มควบคุม = 115.35, SD = 16.37) คุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับดีมากส่วนกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับดี
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research were 1) to compare HbA1c and quality of life of elderly patients with diabetes mellitus in the experimental group before and after received the program and 2) to compare HbA1c and quality of life of elderly patients with diabetes mellitus between the experimental group and control group. Forty elderly patients with type 2 diabetes mellitus from the Diabetes Clinic at Khuankanun Hospital were assigned into experimental and control group by using matched pair with sex, age, duration of illness, and type of medication. There were 20 patients in each group. The experimental instrument was a self-management program and was tested for validity. The instrument for collecting data was Quality of Life Questionnaire and was tested for validity with content validity index of .88 and reliability with alpha of .88 and HbA1c Automated Chemistry Analyzer was tested from producer and was tested by standard solution 2 level before patient, s HbA1c testing. Data were analized by frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The major findings were as follow: 1. The HbA1c of elderly patients with diabetes mellitus after received the program was significant lower than those before received the program at level of .05. ( = 7.36%, SD = 1.06) 2. The quality of life of elderly patients with diabetes mellitus after received the program was significant higher than those before received the program at level of .05. ( = 134.00, SD = 7.82). Level of quality of life was very good. 3. The HbA1c of elderly patients with diabetes mellitus in experimental group and control group was not significant different at level of .05. ( experimental group = 7.36%, SD = 1.06; control group = 8.15%, SD = 2.49) 4. The quality of life of elderly patients with diabetes mellitus in experimental group and control group was significant at level of .05. ( experimental group = 134.00, SD = 7.82; control group = 115.35, SD = 16.37). Level of quality of life of experimental group was very good and control group was good.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51563
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1004
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1004
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
uthaipan_ru_front.pdf240.77 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_ch1.pdf311.45 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_ch2.pdf692.64 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_ch3.pdf421.44 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_ch4.pdf238.13 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_ch5.pdf348.65 kBAdobe PDFView/Open
uthaipan_ru_back.pdf900.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.