Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51577
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชชัย โกมารทัต
dc.contributor.advisorนิพนธ์ กิติกุล
dc.contributor.authorอดุลย์ หมื่นสมาน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2017-01-27T08:45:52Z
dc.date.available2017-01-27T08:45:52Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.isbn9741435215
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51577
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบแบบแผนการทำประตูฟุตบอลของทีมชาตไทย ทีมชาติญี่ปุ่นและทีมชาติบราซิล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ทีมชาติไทยแชมป์ฟุตบอลซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่ประเทศเวียดนามจากการแข่งขันจำนวน 5 นัด ทีมชาติญี่ปุ่นแชมป์ฟุตบอลเอเชียนคัพ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจากการแข่งขันจำนวน 6 นัด และทีมชาติบราซิลแชมป์ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 ที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จากการแข่งขันจำนวน 7 นัด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแผ่นวีซีดีบันทึกการแข่งขันโดยการเปิดดูภาพซ้ำหลายๆ ครั้งจากเครื่องเล่นวีซีดี แล้วนำมาเขียนเป็นแผนผังรูปภาพของแบบแผนการทำประตูฟุตบอลและบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลงในแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบแผนการทำประตูฟุตบอลที่ใช้มากที่สุดในขณะที่อยู่ระหว่างการเล่น เมื่อรวมทั้งสามชาติ คือ แบบแผนการส่งจากด้านข้าง (42.54%) รองลงมาคือ การส่งทะลุแนวป้องกัน (25.37%) และแบบแผนที่ใช้น้อยที่สุดคือ การส่งลูกกลับหลัง (2.98%) ในขณะที่แบบแผนการทำประตูฟุตบอลที่ใช้มากที่สุดจากการเริ่มต้นเล่นใหม่ คือ ลูกเตะโทษ จังหวะเดียว (36.36%) รองลงมาคือ ลูกเตะโทษสองจังหวะ (32.73%) และแบบแผนที่ใช้น้อยที่สุดคือ ลูกเตะโทษ ณ จุดเตะโทษ (3.64%) 2. เมื่อเปรียบเทียบแบบแผนการทำประตูฟุตบอล แต่ละแบบแผนในขณะที่อยู่ระหว่างการเล่นพบว่า การส่งจากด้านข้าง (30.00%) เป็นแบบแผนการทำประตูฟุตบอลที่ได้ประตูมากที่สุดของทีมชาติบราซิล เช่นเดียวกับทีมชาติญี่ปุ่นที่ได้ประตูมากที่สุดจากการส่งจากด้านข้าง (27.27%) ขณะที่ทีมชาติไทยได้ประตูมากที่สุดจากการส่งลูกกลับหลัง (66.67%) ในขณะเดียวกับพบว่า ลูกเตะโทษ ณ จุดเตะโทษ (100.00%) เป็นแบบแผนการทำประตูฟุตบอลจากการเริ่มต้นเล่นใหม่ ที่ได้ประตูมากที่สุดของทีมชาติบราซิล ขณะที่ทีมชาติญี่ปุ่นและทีมชาติไทยได้ประตูมากที่สุดจากลูกเตะจากมุมเหมือนกัน (50.00%) และ (33.33%) ตามลำดับ 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำประตูฟุตบอล เมื่อรวมทั้งสามชาติ พบว่า บริเวณที่ใช้ในการทำประตูฟุตบอลส่วนใหญ่มาจากบริเวณเขตโทษ (69.31%) เทคนิคที่ใช้ในการทำประตูฟุตบอลส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคหลังเท้า (42.33%) และการสัมผัสบอลของผู้ทำประตูจะอยู่ที่ 1 ครั้ง (59.25%) ในส่วนของจำนวนครั้งของการส่งบอลก่อนจะมีการทำประตูฟุตบอลในขณะที่อยู่ระหว่างการเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ครั้ง (25.00%) แต่จากการเริ่มต้นเล่นใหม่ใช้การส่งบอล 1 ครั้ง (84.85%) และเวลา 6-10 วินาที คือ เวลาที่ใช้ในการครอบครองบอลก่อนจะมีการทำประตูฟุตบอลในขณะที่อยู่ระหว่างการเล่น (34.32%) แต่จากการเริ่มต้นเล่นใหม่ใช้เวลาเพียง 1-2 วินาที (85.45%)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to analyze and compare of football goal scoring patterns among Thailand, Japan and Brazil national teams. The subjects were five matchs of Thailand national team won competition in Sea Games 22[superscriptnd] at Vietnam. For Japan national team, they won competition in Asian Cup 13[superscriptth] at China from six matchs. And the last team were Brazil national team won World Cup 17[superscriptth] in Japan and Republic of Korea from seven matchs of competitions. Data were collected by reviewing video cd of competition each match. Football goal scoring patterns were conducted by drawing diagram recorded data analyze and percentage. The results were as follows: 1. The primary football goal scoring patterns in open play all three teams were side passes (42.54%). The second were penetration (25.37%). And the last patterns were back pass (2.98%). While most of football goal scoring patterns from set play were direct free kick (36.36%). The second were indirect free kick (32.73%) and the last patterns were penalty kick (3.64%). 2. To compare of football goal scoring in each patterns open play were found that Brazil national team the of goal scored was side pass (30.00%) and Japan national team was side pass (27.27%) too. Thailand national team was back pass (66.67%) while most of goal scored from set play of Brazil national team was penalty kick (100.00%). Japan national team and Thailand national team were corner kick (50.00%) and (33.33%) in order. 3. The factor related with football goal scoring all three teams were found that the area of football goal scoring was the penalty area (69.31%). The frequent techniques used was the instep foot (42.33%) and football goal scoring by the goal scorer involved a one touch finish (59.25%). The number of passes before football goal scoring in open play was three passes (25.00%) but the number of passes from set play was one passes (84.85%). And 6-10 s was the most time of possession before football goal scoring in open play (34.32%) but the time of possession from set play was 1-2 s (85.45%).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.808-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectฟุตบอลen_US
dc.subjectSocceren_US
dc.titleการวิเคราะห์และเปรียบเทียบแบบแผนการทำประตูฟุตบอลของทีมชาติไทย ทีมชาติญี่ปุ่นและทีมชาติบราซิลen_US
dc.title.alternativeAn analysis and a comparison of football goal scoring patterns among Thailand, Japan and Brazil National teamsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchuchchai.g@chula.ac.th
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.808-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
adul_me_front.pdf314.17 kBAdobe PDFView/Open
adul_me_ch1.pdf237.26 kBAdobe PDFView/Open
adul_me_ch2.pdf594.25 kBAdobe PDFView/Open
adul_me_ch3.pdf178.29 kBAdobe PDFView/Open
adul_me_ch4.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
adul_me_ch5.pdf436.74 kBAdobe PDFView/Open
adul_me_back.pdf500.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.