Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51588
Title: Evaluation of Antityrosinase and Antioxidant activities of Raphanus Sativus root extract for cosmetic applications
Other Titles: การประเมินฤทธิ์ต้านไทโรซิเนสและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดรากหัวผักกาดขาวเพื่อการนำมาใช้ทางเครื่องสำอาง
Authors: Rattanamanee Jakmatakul
Advisors: Parkpoom Tengamnuay
Rutt Suttisri
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: parkpoom.t@chula.ac.th
rutt.s@pharm.chula.ac.th
Subjects: Antioxidants
Cosmetics industry
แอนติออกซิแดนท์
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: There is considerable demand for skin whitening and anti-wrinkle/anti-aging from natural plants. Thai women have long used fresh white radish root as a treatment of melasma although no systematic study has been made. In this study, two extracts (freeze-dried water extract and methanol extract) from the root of Thai radish (Raphanus sativus L.) were compared and evaluated to determine their role in protection of skin against melasma and aging. The two extracts were assayed for total phenolics, total flavonoids and vitamin C content. The total phenolics, total flavonoids and vitamin C content of the two extracts expressed as per 1 mg on the extract weight basis were 10.09 ± 0.07, 0.51 ± 0.007 and 24.11 ± 0.01 µg for freeze-dried water extract and 6.59 ± 0.05, 0.33 ± 0.004 and 8.28 ± 0.20 µg for methanol extract, respectively. Data showed that freeze-dried water extract had higher total phenolics, total flavonoids and vitamin C content than methanol extract. Anti-tyrosinase activity of the two extracts was also measured and compared with that of licorice extract and L-ascorbic acid. Freeze-dried water extract apparently showed higher extent of tyrosinase inhibition than methanol extract (IC50 = 3.09 and 9.62 mg/ml, respectively) but generally lower anti-tyrosinase activity than other reference anti-tyrosinase agent. The antioxidant properties of the two extracts were also tested for their scavenging effect on DPPH radical, superoxide anion and singlet oxygen and compared with those of Trolox® and L-ascorbic acid. Freeze-dried water extract exhibited higher potency than methanol extract (IC50 = 0.643 and 1.248 mg/ml for antioxidant activity against DPPH, 4.20 and 6.28 mg/ml for superoxide anion scavenging activity and 1.42 and 2.40 mg/ml for singlet oxygen scavenging activity) but generally lower than other reference antioxidants. The in-vitro cytotoxicity of the two extracts were determined by LDH assay. Both the freeze-dried water extract and methanol extract showed mild cytotoxicity even at high concentrations. Considering its various properties, the inexpensive and easily available freeze-dried water extract has potential for use in both the pharmaceutical and cosmetic applications.
Other Abstract: การนำพืชจากธรรมชาติมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อทำให้ผิวขาวขึ้นและลดเลือนริ้วรอยเป็นที่นิยมกันมาก เป็นเวลานานมาแล้วที่ผู้หญิงไทยนิยมนำรากหัวผักกาดขาวสดมาใช้ในการรักษาฝ้าแต่ยังไม่มีการ ศึกษาอย่างเป็นวิชาการ การศึกษานี้ทำการสกัดสารสกัด 2 ชนิดจากรากหัวผักกาดขาวด้วยน้ำและทำให้แห้งด้วยการ freeze dried และเมทานอลโดยเปรียบเทียบปริมาณฟีนอลิกโดยรวม ฟลาโวนอยด์โดยรวมและวิตามินซีในสารสกัดทั้ง 2 ชนิด พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกโดยรวม ฟลาโวนอยด์โดยรวมและวิตามินซีต่อ 1 มิลลิกรัมน้ำหนักแห้งของสารสกัดมากกว่าสารสกัดด้วยเมทานอล โดยมีปริมาณเท่ากับ 10.09 ± 0.07, 0.51 ± 0.007 และ 24.11 ± 0.01 ไมโครกรัมสำหรับสารสกัดด้วยน้ำ และ 6.59 ± 0.05 , 0.33 ± 0.004 และ 8.28 ± 0.20 ไมโครกรัมสำหรับสารสกัดด้วยเมทานอล ตามลำดับ สำหรับฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดทั้ง 2 ชนิดเปรียบเทียบกับสารสกัดชะเอมและวิตามินซี พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสดีกว่าสารสกัดด้วยเมทานอล (ความเข้มข้นในการยับยั้งเอนไซม์ 50% เท่ากับ 3.09 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยน้ำและ 9.62 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยเมทานอล) แต่น้อยกว่าสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ใช้เปรียบเทียบ สำหรับฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้ง 2 ชนิดนั้นได้ทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ 3 ชนิดคือ อนุมูลอิสระดีพีพีเอช ซูเปอร์ออกไซด์ และซิงเกลต ออกซิเจน เปรียบเทียบกับโทรลอกซ์และวิตามินซี พบว่าสารสกัดด้วยน้ำจะให้ฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารสกัดด้วยเมทานอล ไม่ว่าจะเป็นอนุมูลดีพีพีเอช (ความเข้มข้นในการยับยั้งอนุมูลอิสระ 50% เท่ากับ 0.643 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยน้ำ และ 1.248 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยเมทานอล) ซูเปอร์ออกไซด์(ความเข้มข้นในการยับยั้งเอนุมูลอิสระ 50% เท่ากับ 4.20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยน้ำ และ 6.28 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยเมทานอล) หรือ ซิงเกลต ออกซิเจน (ความเข้มข้นในการต้านออกซิเดชัน 50% เท่ากับ 1.42 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยน้ำและ 2.40 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสำหรับสารสกัดด้วยเมทานอล) แต่พบว่ายังน้อยกว่าสารต้านออกซิเดชันที่ใช้เปรียบเทียบ นอกจากนี้การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดทั้ง 2 ชนิดต่อเซลล์ด้วยวิธีแอลดีเอช พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ให้ความเป็นพิษที่ต่ำมากแม้ในความเข้มข้นที่สูง จากข้อมูลการศึกษานี้ จึงเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดด้วยน้ำซึ่งเตรียมได้ง่ายและราคาไม่แพง มาใช้เป็นสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและสารต้านออกซิเดชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmaceutics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51588
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2076
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2076
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattanamanee_ja_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_ch1.pdf341.48 kBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_ch2.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_ch4.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_ch5.pdf394.1 kBAdobe PDFView/Open
rattanamanee_ja_back.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.