Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51634
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมยศ ชิดมงคล | - |
dc.contributor.author | กนิษฐา ศรีวชิโรทัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-02-02T07:11:34Z | - |
dc.date.available | 2017-02-02T07:11:34Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51634 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำและกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำ 4) เปรียบเทียบ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำและกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา จำนวน 74 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 38 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์หลังทดลองไม่สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ไม่สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study mathematics problem solving ability of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model. 2) to compare mathematics problem solving ability of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model and by conventional approach. 3) to study attitude toward mathematics learning of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model. 4) to compare attitude toward mathematics learning of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model and by conventional approach. The subjects were 74 eighth grade students in academic year 2011 of Thinopat Vittaya School. They were divided into two groups, one experimental group with 36 students and one control group with 38 students. The students in experimental group were taught by organizing mathematics learning activities using an advance organizer model and those in control group were taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The research instruments consisted of the pretest and posttest in mathematics problem solving abilities and attitude toward mathematics learning questionnaires. The experimental materials were lesson plans using an advance organizer model and the conventional lesson plans. The data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, and t-test. The results of the study revealed that: 1. Mathematics problem solving ability of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model were higher than 50% of the set criterion score. 2. Mathematics problem solving ability of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model were higher than those of students being taught by using conventional approach at .05 level of significance. 3. Attitude toward mathematics learning of eighth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model were not higher than before learning at .05 level of significance. 4. Attitude toward mathematics learning of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model were not higher than those of students being taught by using conventional approach at .05 level of significance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2089 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน | en_US |
dc.subject | ความสามารถทางคณิตศาสตร์--การทดสอบ | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching (Secondary) | - |
dc.subject | Problem-based learning | - |
dc.subject | Mathematical ability -- Testing | - |
dc.title | ผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการเสนอแนวคิดนำที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | Effects of organizing mathematics learning activities by using an advance organizer model on mathematics problem solving abilities and attitude toward mathematics learning of eighth grade students | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษาคณิตศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | somyot.c@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.2089 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanittha_sr.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.