Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51832
Title: ผลของยาแก้อักเสบคีโทโรแล็กต่อแอพอปโทซิสและการแสดงออกของยีนซ่อมแซมของเซลล์กระดูกอ่อน
Other Titles: Effects of the anti-inflammatory drug, ketorolac, on chondrocyte apotosis and expression of repair genes
Authors: นารีรัตน์ รุ่งเรือง
Advisors: รัชนีกร ธรรมโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ratchaneekorn.t@chula.ac.th
Subjects: ข้อเสื่อม
เซลล์กระดูก
Osteoarthritis
Bone cells
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคข้อเสื่อม เป็นโรคในกลุ่มที่มีอาการผิดปกติของข้อกระดูก เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ยาคีโรแล็กจัดอยู่ในกลุ่มยาลดการอักเสบชนิดที่ไม่มี สเตียรอยด์ ในปัจจุบันยาคีโทโรแล็กนิยมใช้ในการลดการอักเสบและอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม และมีแนวคิดเกี่ยวกับการฉีดยาคีโทโรแล็กเข้าที่ระหว่างข้อเข่า วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาผลกระทบของยาแก้อักเสบคีโทโรแล็กที่มีต่อแอพอปโทซิสและการแสดงออกของยีนซ่อมแซมของเซลล์กระดูกอ่อน ตัวอย่างกระดูกอ่อนผิวข้อถูกเก็บจากผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า จำนวน 9 คน ทดสอบเซลล์กระดูกอ่อนด้วยยาคีโทโรแล็กความเข้มข้น 0, 1, 5, 10 และ 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ตรวจสอบระดับความมีชีวิตของเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคนิค MTT assay ตรวจสอบแอพอปโทซิสของเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคนิค TUNEL assay ตรวจสอบการตายของเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคนิค Live/Dead assay ที่เวลา 24 ชั่วโมง และวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของยีน ACAN และ BMP2 ซึ่งเป็นยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคนิค Real-time PCR เมื่อทดสอบเซลล์กระดูกอ่อนด้วยยาคีโทโรแล็ก เป็นเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่าเปอร์เซ็นต์ระดับความมีชีวิตของเซลล์กระดูกอ่อนมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อได้รับยาคีโทโรแล็กที่ความเข้มข้นสูงกว่า 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนพร้อมกับยาคีโทโรแล็ก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตรวจสอบการเกิดแอพอปโทซิสของเซลล์กระดูกอ่อนพบว่า เซลล์กระดูกอ่อนเกิดแอพอปโทซิสเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของยาที่สูงขึ้น และเมื่อตรวจสอบการตายของเซลล์กระดูกอ่อนพบว่า เซลล์กระดูกอ่อนมีเปอร์เซ็นต์การตายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ทุกความเข้มข้น ยกเว้นที่ 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนั้นยาคีโทโรแล็กความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ยังมีผลทำให้ระดับการแสดงออกของยีน ACAN มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอันตรายในการใช้ยาคีโทโรแล็กในการฉีดเข้าที่ข้อเข่าโดยตรง
Other Abstract: Osteoarthritis (OA) is classified in a group of joint diseases. It is caused by the degradation of articular cartilage which stimulates inflammatory responses. Ketorolac is a non-steroidal anti-inflammation drugs (NSAIDs). Nowadays, ketorolac is widely used to treat and relieve pain for OA patients. There is a conception of intra-articular injection of ketorolac. The objective of this research is to study the effects of ketorolac on chondrocyte apoptosis and expression of repair genes. Cartilage samples were obtained from nine OA patients who underwent total knee replacement surgery. Chondrocytes from the articular cartilage samples were cultured and treated with ketorolac at the concentrations of 0, 1, 5, 10 and 20 mg/ml for 24 and 48 hours. Chondrocyte viability was analyzed by MTT assay. Apoptotic cells were detected by TUNEL assay. Dead cells were detected by Live/Dead assay at 24 hours. Expression of the ACAN and BMP2 genes were analyzed by real-time PCR. The chondrocyte viability was significantly decreased after treated with ketorolac at the concentration higher than 1 mg/ml for 24 and 48 hours. TUNEL assay results showed that cells underwent apoptosis in a dose-dependent manner. Live/Dead assay results showed that the cell percent mortality was significantly increased when the chondrocytes were treated with ketorolac at the concentration higher than 1 mg/ml for 24 hours. Furthermore, ketorolac at the concentration of 1 mg/ml significantly decreased the expression of the ACAN gene. Therefore, further study on safety of ketorolac for intra-articular injection is necessary.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51832
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1366
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1366
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nareerat_ru.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.