Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51834
Title: ผลของหัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซา Russula spp. ต่อการกระตุ้นการเติบโตของกล้าไม้รัง Shorea siamensis Miq.
Other Titles: Effects of spore inocula of ectomycorrhizal fungi russula spp. on growth stimulation of shorea siamensis Miq.
Authors: เชาวณี อ้นลำพูน
Advisors: จิตรตรา เพียภูเขียว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.K@chula.ac.th
Subjects: สปอร์
เอคโตไมคอร์ไรซา
ไม้ยาง
Spores
Ectomycorrhizas
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไม้วงศ์ไม้ยางเป็นไม้ที่มีความสำคัญและพบเป็นไม้เด่นในป่าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทย อีกทั้งเป็นไม้ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินผลของหัวเชื้อสปอร์เห็ดแดง (Russula rosea Pers.) เห็ดตะไคลเขียว (R. virescens Fr.) และเห็ดถ่านเล็ก (R. densifolia (Secr.) Gill.) ที่มีผลต่อการกระตุ้นการเติบโตของกล้าไม้รัง (Shorea siamensis Miq.) โดยสปอร์ของดอกเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาทั้ง 3 ชนิด ที่เก็บรักษาในทรายและถุงพลาสติกแบบซิปที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิห้อง แช่ในน้ำกลั่นปลอดเชื้อเป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าสปอร์ของดอกเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาทั้ง 3 ชนิด ไม่สามารถงอกได้และไม่เกิดการติดเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาที่รากกล้าไม้อายุ 6 เดือน หลังใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาที่ทำการเก็บรักษา เมื่อทำการประเมินผลของหัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาทั้ง 3 ชนิด ต่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้าไม้รังอายุ 12 เดือน หลังใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาทั้ง 3 ชนิด พบว่ากล้าไม้รังที่ใส่หัวเชื้อสปอร์เห็ดแดง เห็ดตะไคลเขียว และเห็ดถ่านเล็กมีการเจริญทางด้านความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับคอราก มวลชีวภาพรวม และเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาที่รากสูงกว่าชุดควบคุมที่ไม่ใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ของส่วนเหนือดินของกล้าไม้รังที่ใส่และไม่ใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อจัดจำแนกชนิดของรากเอคโตไมคอร์ไรซา พบการปนเปื้อนของราเอคโตไมคอร์ไรซา Tomentella spp. และ Inocybe sp. แต่ไม่พบราเอคโตไมคอร์ไรซาทั้ง 3 ชนิด ที่ใช้เป็นหัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาใส่ให้กับกล้าไม้รัง นอกจากนี้พบว่าอัตราการรอดตายของกล้าไม้รังที่ใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาความเข้มข้น 107 สปอร์ต่อมิลลิลิตร หลังน้ำลดเป็นเวลา 2 เดือน สูงกว่าชุดควบคุมที่ไม่ใส่หัวเชื้อสปอร์ราเอคโตไมคอร์ไรซาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าราเอคโตไมคอร์ไรซาสามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของกล้าไม้รังเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้
Other Abstract: Trees of the family Dipterocarpaceae are the most important and dominant trees in the tropical forests of Southeast Asia as they play an important ecological role and are also important economically. In this study, an experiment was conducted to determine effects of spore inocula of ectomycorrhizal fungi, Russula rosea Pers., Russula virescens Fr.and Russula densifolia (Secr.) Gill. on growth stimulation of Shorea siamensis Miq. seedlings. Spores of the tested ectomycprrhizal fungi preserved in sand or in plastic bags at 4 ° C and room temperature was unable germination in sterile distilled water within 48 hours. The tested ectomycorrhizal spores could not germinate and form ectomycorrhizae with S. siamensis seedlings. Seedlings of S. siamensis were inoculated with spores of three ectomycorrhizal fungi and were grown in pots containing sterilized growing medium for 12 months. The results showed that the seedlings inoculated with spore inocula of R. rosea, R. densifolia and R. virescens had shoot height, stem diameter shoot and root dry weight total biomass and percentage of ectomycorrhizal colonization were significantly greater than non-inoculated seedlings. Inoculation with these ectomycorrhizal species had no significant effect of shoot N, P and K concentrations in the seedlings. The ectomycorrhizal roots of contaminant ectomycorrhizal fungi such as Tomentella spp. and Inocybe sp. were observed whereas ectomycorrhizal roots of the tested ectomycorrhizal fungi were not found. In addition, Survival rates of S. siamensis were greater for inoculated seedlings with spore concentration 107 spores per milliliter than non-inoculated seedlings at month 2 after the floods. The results suggest that inoculation with ectomycorrhizal fungi can stimulate the early growth and survival rates of S. siamensis seedlings.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51834
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2124
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2124
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaowanee_au.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.