Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51877
Title: ผลของเฮปทานอล คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และไคโทซานต่อการกำจัดหมึกเฟล็กโซกราฟีฐานน้ำด้วยวิธีลอยฟองอากาศ
Other Titles: Effects of heptanol, carboxymethyl cellulose and chitosan on flotation deinking of flexographic water-based ink
Authors: เธียญ์ ภัคพงษ์พันธุ์ชัย
Advisors: ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กระดาษใช้แล้ว -- การนำกลับมาใช้ใหม่
การดึงหมึกพิมพ์ (กระดาษใช้แล้ว)
การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
Waste paper -- Recycling
Deinking (Waste paper)
Flexography
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกำจัดหมึกเฟล็กโซกราฟีฐานน้ำโดยทั่วไปจะใช้วิธีการล้าง เนื่องจากสมบัติความชอบน้ำของหมึก หากแต่วิธีนี้เป็นการสิ้นเปลืองน้ำ การกำจัดหมึกออกด้วยวิธีลอยฟองอากาศเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการกำจัดหมึกออกได้ แต่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีนัก เนื่องจากอนุภาคของหมึกมีขนาดเล็กเกินไป งานวิจัยนี้จึงศึกษาการใช้สารเคมีที่เป็นตัวแปร 3 ชนิดร่วมกัน คือเฮปทานอล คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และไคโทซาน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการลอยฟองอากาศ โดยแต่ละชนิดจะมีการศึกษา 3 ระดับ คือ เฮปทานอลร้อยละ 0, 3, 6 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสร้อยละ 0, 0.2, 0.4 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง และไคโทซานร้อยละ 0, 0.1, 0.3 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้พิจารณาประสิทธิภาพของการกำจัดหมึกออก ได้แก่ ปริมาณผลผลิตที่ได้ สภาพระบายน้ำ ลักษณะสัณฐานวิทยาของเส้นใย ปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ ความขาวสว่าง ความทึบแสง ความเรียบ ดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึง และดัชนีความต้านทานแรงฉีก ซึ่งจากการทดลองพบว่าการใส่สารเคมี โดยเฉพาะคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสสามารถช่วยให้กระดาษที่ผลิตได้มีปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ต่ำลงและมีความขาวสว่างเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สมบัติความแข็งแรงของกระดาษ ซึ่งวัดจากดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึงและดัชนีความต้านทานแรงฉีกพบว่า กระดาษที่ขึ้นรูปได้หลังจากกำจัดหมึกออกด้วยวิธีลอยฟองอากาศมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น โดยการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจะให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่าการใช้เฮปทานอล และไคโทซาน โดยยังพบอีกว่าการใช้ไคโทซานนอกจากจะให้ประสิทธิภาพในการกำจัดหมึกต่ำที่สุดแล้ว เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมีชนิดอื่นจะทำให้ประสิทธิภาพของสารเคมีนั้นๆ ลดลงทั้งนี้เนื่องจากความเป็นประจุบวกของไคโทซาน
Other Abstract: Flexographic water-based ink is generally deinked by washing process but this process consumes a lot of water. Flotation deinking is one of the techniques to reduce volume of water used but the efficiency is not quite good due to too small ink particle size of this ink. This research was aimed to study the improvement of flotation deinking efficiency using three chemicals which were heptanol, carboxymethyl cellulose (CMC) and chitosan, The dosage levels of heptanol were 0, 3 and 6% based on oven dry (O.D.) pulp weight. Those of CMC were 0, 0.2 and 0.4% based on O.D. and for chitosan, the dosage were 0, 0.1 and 0.3% based on O.D. The factors used to evaluate deinking efficiency were yield, freeness, fiber morphology, effective residual ink concentration (ERIC), brightness, opacity, smoothness tensile index and tear index. The results showed that those chemicals, especially CMC reduced the effective residual ink concentration and improved paper brightness. Furthermore, paper strength which is indicated by tensile strength index and tear index showed that strength of paper after flotation deinking was enhanced. CMC provided better deinking efficiency than heptanol and chitosan. Moreover, the results indicated that chitosan, not only gave less deinking efficiency but if it was used with other chemicals, it decreased the effectiveness of those chemicals in deinking because of the positive charge of chitosan.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51877
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2136
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2136
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dhear_pa.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.