Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51882
Title: ผลของแอนทราควิโนน เมทานอล และแอซีโทนต่อการผลิตเยื่อแบบโซดาจากฟางข้าว
Other Titles: Effects of anthraquinone, methanol and acetone on soda pulping of rice straw
Authors: นิธิวดี บุญกังวาน
Advisors: กุนทินี สุวรรณกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kuntinee.S@Chula.ac.th
Subjects: เยื่อกระดาษ
ฟางข้าว
กระบวนการผลิตเยื่อแบบโซดา
เส้นใยพืช
Wood-pulp
Soda pulping process
Plant fiber
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สามารถหาได้ตลอดทั้งปีในประเทศไทย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเยื่อและกระดาษ โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการผลิตเยื่อแบบโซดา และใช้การผลิตเยื่อแบบโซดาร่วมกับการใช้สารละลายอินทรีย์อื่นๆ ได้แก่ แอนทราควิโนน เมทานอล รวมถึงแอซีโทน ซึ่งสารแต่ละตัวช่วยเพิ่มการละลายลิกนินออกจากเส้นใยทำให้เยื่อที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของแอนทราควิโนน เมทานอล และแอซีโทนที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตเยื่อแบบโซดาจากฟางข้าว และต่อสมบัติของเยื่อและกระดาษ ซึ่งจากการทดลองพบว่าภาวะส่วนใหญ่ในการผลิตเยื่อแบบโซดาร่วมกับแอนทราควิโนน เมทานอล และแอซีโทนให้ผลผลิตเยื่อเพิ่มขึ้น การกำจัดลิกนินเพิ่มขึ้น โดยภาวะที่มีการเติมแอนทราควิโนนร่วมกับเมทานอลให้ค่าผลผลิตเยื่อสูงกว่าภาวะอื่นๆ รวมถึงสามารถกำจัดลิกนิน ออกจากเยื่อได้มากจึงส่งผลให้ค่าความขาวสว่างเพิ่มขึ้นมากกว่าภาวะอื่นๆ ด้วย เมื่อนำแผ่นทดสอบที่ผลิตได้มาเปรียบเทียบกันพบว่า เยื่อที่ผลิตได้จากวิธีโซดาร่วมกับแอนทราควิโนน เมทานอล และแอซีโทนให้ค่าความเรียบเพิ่มขึ้น ค่าดัชนีความแข็งแรงต่อแรงดึงเพิ่มขึ้นแต่ค่าดัชนีความต้านทานแรงฉีกและความทึบแสงกลับลดลง เนื่องจากสารที่เติมลงไปช่วยละลายลิกนินออกมามาก ทำให้เส้นใยสร้างพันธะกันได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับการผลิตเยื่อแบบโซดา โดยภาวะที่มีการเติมเมทานอล และแอซีโทนให้ค่าความเรียบสูงกว่าภาวะอื่นๆ ส่วนภาวะที่มีการเติมแอน ทราควิโนนให้ค่าความแข็งต่อแรงดึงมากกว่าภาวะอื่นๆ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการผลิตเยื่อแบบโซดาร่วมกับแอนทราควิโนน เมทานอล และแอซีโทนจากฟางข้าวนอกจากให้ผลผลิตเยื่อที่เพิ่มขึ้นแล้ว คุณภาพของเยื่อและกระดาษยังสูงกว่าการผลิตเยื่อแบบโซดา
Other Abstract: Agricultural and Industrial agriculture residue like rice straw could be found year round in Thailand. Thus, rice straw can be used as an alternative raw material to make pulp and paper. This research used soda pulping and modified soda pulping with organic solvent; such as anthraquinone (AQ) methanol (MeOH) and acetone to dissolve lignin from fiber which improve qualities of paper. Thus, the objective of this research was to study pulping of rice straw using soda process and modified soda process by adding AQ MeOH and acetone and compare pulp and handsheet properties of modified soda rice straw pulp to those of conventional soda rice straw pulp. The results showed that most of the modified soda pulping conditions, with anthraquinone, methanol and acetone, improved pulp yield and delignification. The condition which used anthraquinone and methanol together gave the highest pulp yield and the best delignification which resulted in higher brightness as compared to other conditions. The comparison of paper properties showed that modified soda pulping with anthraquinone, methanol and acetone improved smoothness and tensile index but tear index and opacity was reduced because when the chemicals dissolved lignin, fiber bonding was improved as compared to conventional soda pulping. Furthermore, the condition which used methanol and acetone gave the highest smoothness which the condition which used anthraquinone gave highest tensile index. This research indicated that not only pulp yield but quatities of pulp and paper were improved with anthraquinone, methanol and acetone modified soda compared with the traditional soda pulping.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51882
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2138
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitivadee_bo.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.