Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51893
Title: การขจัดคราบและขนผ้าจากผ้าฝ้ายโดยการซักด้วยสารซักฟอกที่มีแอลคาไลน์เอนโดเซลลูเลส
Other Titles: Stain and fuzz removal from cotton fabrics through laundering with alkaline endocellulase contained detergents
Authors: พรเฉลิม นาคสุวรรณ
Advisors: อุษา แสงวัฒนาโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: usa@sc.chula.ac.th
Subjects: ผ้าฝ้าย -- การทำความสะอาด
เซลลูเลส
Cotton fabrics
Cotton -- Cleaning
Cellulase
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้นำเอนไซม์แอลคาไลน์เอนโดเซลลูเลสทางการค้า Carezyme มาใช้ผสมกับสารซักฟอกทางการค้า 3 ชนิดที่มีค่าพีเอช 7.36, 8.85 และ 11.26 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซักขจัดคราบน้ำมันปาล์มและขจัดขนผ้าจากผ้าฝ้าย ทดลองการซักด้วยสารซักฟอกทั้งสามชนิดที่มีและไม่มีเอนไซม์ Carezyme ผสมโดยใช้ปริมาณสารซักฟอกและเอนไซม์ต่างๆ และซักที่เวลาต่างๆ กัน ผ้าที่ผ่านการซักขจัดคราบและขนผ้าจากผ้าฝ้ายแล้วถูกนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ ตามมาตรฐานการทดสอบ เช่น ดัชนีความขาว ระดับการเปลี่ยนแปลงของสีผ้า ความต้านแรงดันทะลุ ความทนแรงดึง สภาพแข็งเกร็งดัดโค้ง ร้อยละของน้ำหนักผ้าที่หายไป และระดับการขึ้นขน จากผลการทดลองได้ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการซักผ้าฝ้ายเปื้อนคราบน้ำมันปาล์มและผ้าฝ้ายขึ้นขนโดยใช้สารซักฟอก 3 ชนิดที่มีค่าพีเอช 7.36, 8.85 และ 11.26 ปริมาตร 0.1-30 มิลลิลิตร ในกรณีที่ใช้เอนไซม์ด้วยจะใช้เอนไซม์ปริมาตร 0.05-0.1 มิลลิลิตร ใช้อัตราส่วนผ้าต่อน้ำ 1:400 ซักที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 28 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 30-60 นาที พบว่าการซักล้างผ้าฝ้ายเปื้อนคราบอย่างมีประสิทธิภาพสามารถกระทำได้โดยใช้สารซักฟอกทั้ง 3 ชนิดทั้งที่มีและไม่มีเอนไซม์ผสม แต่หากคราบถูกทิ้งไว้บนผ้านานขึ้น เช่น ทิ้งไว้ 2 วันก่อนซัก ควรซักด้วยสารซักฟอกที่มีเอนไซม์ Carezyme ผสมเนื่องจากจะช่วยขจัดคราบออกได้ดียิ่งขึ้น การซักล้างผ้าฝ้ายขึ้นขนที่มีประสิทธิภาพควรซักด้วยสารซักฟอกที่มีค่าพีเอช 8.85 ที่ผสมเอนไซม์ Carezyme เนื่องจากสามารถช่วยกำจัดขนบนผ้าออกได้มากกว่าการซักด้วยสารซักฟอกที่มีค่าพีเอชอื่นๆทั้งที่มีและไม่มีเอนไซม์ Carezyme ผสม ผ้าฝ้ายหลังซักด้วยสารซักฟอกที่มีและไม่มีเอนไซม์ผสม สูญเสียความแข็งแรงเพียงเล็กน้อยและน้ำหนักผ้าหายไปเพียงเล็กน้อยราวร้อยละ 1-2
Other Abstract: This research aims to increase the efficiency of oily-stain and fuzzy hairs removal from cotton fabrics through laundering with cellulase enzyme contained detergents. Three commercial detergents at various pHs (pH 7.36, pH 8.85, and pH 11.26) and a commercial alkaline endocellulase enzyme, Carezyme, were used for cotton laundering at various conditions. After washed fabrics were tested for whiteness index and color change, bursting strength and tensile strength, flexural rigidity, % weight loss, and level of fuzz. Optimal laundering conditions for stain and fuzz removal from cotton fabrics were determined as follows: dosages of detergents 0.1-30 ml, dosage of enzyme 0.05-0.1 ml, fabric to liquor ratio 1:400, wash at room temperature (28oC) for 30-60 minutes. Results indicated that laundering with all three detergents with and without cellulase enzyme could efficiently remove immediate stain from cotton fabrics. However, in the case of removing 2-day left-over stain, laundering with detergents plus cellulase enzyme showed better stain removal ability. In addition, the efficiency of fuzz removal from cotton fabrics also improved through laundering with cellulase enzyme contained detergent at pH 8.85. All washed fabrics showed acceptable strength loss and weight loss (1-2%).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51893
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2139
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2139
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornchaloem_na.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.