Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51915
Title: | นวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานน้ำที่ไม่ได้ใช้ |
Other Titles: | Innovation of micro electricity generator from unused water energy |
Authors: | คมกริช ประกอบธรรม |
Advisors: | คณิต วัฒนวิเชียร พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kanit.W@chula.ac.th Pakpachong.V@Chula.ac.th |
Subjects: | นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังงานน้ำ Technological innovations Electric generators Water-power |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานน้ำเหลือทิ้งซึ่งยังไม่ถูกนำมาใช้ที่มีอยู่โดยรอบอาคารหรือสถานที่ต่างๆ โดยงานวิจัยแบ่งการศึกษาและพัฒนาออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.การวิจัยทดลอง ทำการศึกษาออกแบบสร้างโมเดลและทดลองผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานน้ำ ผลการทดลองที่ได้พบว่า แรงดันน้ำและอัตราการไหลที่สูงขึ้นส่งผลให้กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้มากขึ้นตามไปด้วย และจากการทดลองใช้ปั๊มน้ำขนาด 0.75 กิโลวัตต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 20 วัตต์ ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ทางเทคนิคในการประยุกต์พัฒนานวัตกรรมผลิตไฟฟ้าโดยใช้ปั๊มน้ำเป็นแหล่งพลังงานน้ำ 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ทำการสำรวจความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ 4 วิธี ได้แก่ 1.ข้อมูลทุติยภูมิ 2.การสัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้งานกังหันน้ำ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกังหันน้ำ และผู้ประกอบการระบบเติมอากาศ 3.การประชุมกลุ่มกับภูมิสถาปนิก และ 4.การสังเกตจากบริบทจริง ข้อมูลทั้งหมดนำมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดนวัตกรรม ได้ 8 แนวคิด และผลการคัดสรรแนวคิดพบว่าแนวคิดที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาต่อได้แก่แนวคิด ในการนำพลังงานน้ำเหลือทิ้งจากระบบเติมอากาศมาใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับบริการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสำหรับลูกค้าร้านกาแฟภายใต้แนวคิดการตลาดสีเขียว การทดสอบแนวคิดกับผู้ใช้บริการร้านกาแฟโดยการสัมภาษณ์พบว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับคุณภาพของเครื่องชาร์จ สำหรับในมุมมองของผู้จัดการร้านกาแฟการตัดสินใจลงทุนสร้างบริการให้ลูกค้าพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน และต้องใช้เงินลงทุนไม่สูงจึงจะสนใจลงทุน และสำหรับแนวคิดต้นแบบนวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำ จากข้อมูลที่ได้กำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ได้ว่า สามารถใช้ร่วมกับระบบเติมอากาศที่มีอยู่โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบเดิมด้อยลง และต้องติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย และผลิตได้ไฟฟ้าตามต้องการ 3.การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้าพบว่า ลูกค้าลงทุนอุปกรณ์และค่าติดตั้ง 24,000 บาทลูกค้าสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 1 ปี สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินและผลตอบแทนของโครงการกรณีลงทุนเป็นผู้ประกอบการ พบว่ามีความเป็นไปได้ โดยเงินลงทุนเริ่มต้น 530,900 บาท กรณีฐานจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 3 ปี IRR=30% และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมพลังงานทดแทนพบว่า ราคาที่ถูกลงของอุปกรณ์คือปัจจัยที่ทำให้เกิดยอมรับนวัตกรรมมากขึ้น ผลจากการวิจัยตามที่ได้กล่าวมาสรุปได้ว่าการสร้างนวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานน้ำที่ไม่ได้ใช้โดยการนำพลังงานน้ำเหลือทิ้งมาใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อบริการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับร้านกาแฟภายใต้แนวคิดการตลาดสีเขียวมีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านเทคนิค ตลาดและธุรกิจ |
Other Abstract: | This dissertation main objective is to study and develop an innovation of micro electricity generator from unused water energy that is existed around buildings. The research in this dissertation is divided into 3 parts 1.Experimental Research is aimed to study, design models and conduct the experiment. The results were found that high pressure and flow will be producing high power output. This experiment can generate output up to 20W which is feasible for development the innovative generating hydropower from wasted or unused water energy simulated from the water pump. 2.New Product Development is conducted by qualitative methodology using secondary data, interview on hydropower users, experts and aerates enterprise, a focus group of landscape architects and observation in real context to find unmet need and then synthesized 8 innovative solutions. The result of screening has shown that the solution which suitable for developing the prototype is the use of wasted energy to generate electricity for providing mobile charger service under green marketing concept. The concept testing with coffee shop’s customer has found that user concern about the quality of a charger while coffee shop manager concern about the economic value and not too high initial investment. For conceptual prototype, it is required to maintain existing system performance, easy to install and operate. 3.The Commercialization Feasibility Study has found that the value analysis in customer perspective is feasible to market, initial cost of 24,000 Baht will be breakeven in 1 year. The financial feasibility of starting up a new business was found that with initial investment 530,900 Baht, base case, will be breakeven within 3 years, and IRR=30%. The results from acceptance factors of renewable energy have found that price is sensitive to acceptance rate. Finally, the result of the studies can be concluded that innovation of micro electricity generator from unused water energy to generate electricity to charge the battery for coffee shop service under green marketing concept is feasible for technique, market and business. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51915 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1370 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1370 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
komgrich_pr.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.