Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51943
Title: การวิเคราะห์ภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบ การใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Other Titles: An analysis of academic administration leadership of administrators in model schools using the basic education core curriculum B.E. 2551
Authors: ศาลินา บุญเกื้อ
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th
Siripaarn.S@Chula.ac.th
Subjects: ภาวะผู้นำ
การบริหารการศึกษา
Leadership
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัจจัยและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีกาวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แบบสอบถามแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ด้วยเทคนิค PNI[subscript modified] ส่วนการวิจัย เชิงคุณภาพเป็นกรณีศึกษาผู้บริหารงานวิชาการที่ดี และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกงาน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการ ([mean] = 4.17) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล การประกันคุณภาพ และการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ([mean] = 4.13) และการบริหารจัดการหลักสูตร ([mean] = 4.11) ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกงาน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ([mean] = 4.65) รองลงมา คือ การบริหารจัดการหลักสูตร และการประกันคุณภาพ ([mean] = 4.64) และการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและการสนเทศทางการศึกษาและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการ ([mean] = 4.63) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้นำ (อายุ วุฒิการศึกษา ระยะเวลาในตำแหน่งผู้บริหาร ประสบการณ์การทำงาน) การพัฒนาตนเองของผู้นำ (ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ เข้ารับการอบรมสม่ำเสมอและเป็นวิทยากรแกนนำ) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้นำ (มนุษย์สัมพันธ์ ใจกว้างรับฟังความคิดเห็น มีความยุติธรรม) ทัศนคติต่อผู้นำ (ศรัทธา เคารพนับถือ เชื่อถือ ชื่นชม ยกย่อง ถือเป็นตัวอย่าง) บทบาทหรือพฤติกรรมที่แสดงต่อผู้นำ (ให้ความร่วมมือ แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมทุกกิจกรรม) การรับรู้ถึงคุณลักษณะของผู้นำ (มีมนุษย์สัมพันธ์ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น ยุติธรรม) การให้ความร่วมมือกับผู้นำ (เข้าร่วมประชุม มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ร่วมระดมทุนและทรัพยากร) 3) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำในการบริหารจัดการหลักสูตร (2) กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล (3) กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำในการประกันคุณภาพ (4) กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา และ (5) กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการ
Other Abstract: This research has 3 objectives: (1) To analyze the current situation and desirable situation of academic administration leadership of administrators in model schools using basic education core curriculum B.E.2551; (2) To examine factors associating to academic administration leadership of administrators in model schools using basic education core curriculum B.E.2551; and (3) To recommend strategies for development of academic administration leadership of administrators of basic education schools. This is a mixed method research of quantitative approaches. The quantitative approach included the population of model schools using basic education ore curriculum B.E.2551. The questionnaire was used at the research instrument. The data analysis employed descriptive statistics, and the analysis to obtain priority need applied the technique called Modified Priority Needs Index PNI[subscript modified]). The qualitative approach was undertaken in the case study of schools with administrators possessing good practice in administration and the strategies were reviewed for relevancy by experts and focus group discussion. Major results revealed that: 1) The current situation of administrators leadership in academic administration of model schools using basic education core curriculum B.E.551, the average very level in all the work. The order is as follows; Building collaborative network in academic administration ([mean] = 4.17). Knowledge management, measurement and evaluation, and quality assurance, and Development of educational media, technologies and information ([mean] = 4.13), and curriculum management ([mean] = 4.11), respectively. The desirable situation of academic administration leadership of administrators in model schools using basic education core curriculum B.E.2551, the average in most every application. The order is follows; Knowledge management, measurement and evaluation ([mean] = 4.65) Curriculum management, and quality insurance ([mean] = 4.64), and Development of media, educational technologies and information, and building collaborative networking in academic administration ([mean] = 4.63), respectively: 2) Factors associated with effective leadership in academic administration, including the leader's personal (age, education, time position, experience), to develop their own leadership (new knowledge, documented knowledge, to be trained as trainers and leaders regularly), the personal qualities of leadership (human relations generous comments, fairness), attitudes toward the leader (good faith, respect, admiration, as an example), the behavior of the leaders (cooperation, comment, participation in all activities), the perception of leadership attributes (relationship, generous comments, justice), to cooperate with the leaders (attendance, involved in the operation, the funding and resources). 3) Strategies for leadership development in academic administration of basic education schools comprise 5 strategies: (1) Strategy for enhancing leadership in curriculum management, (2) Strategy for enhancing leadership in knowledge management, measurement and evaluation, (3) Strategy for enhancing leadership in quality assurance, (4) Strategy for enhancing leadership in development of educational media technologies and information, and (5) Strategy for enhancing leadership in building collaborative network in academic administration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51943
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2142
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2142
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
salina_bo.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.