Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52013
Title: การคัดเลือกแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกซึ่งมีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกในสัตว
Other Titles: Selection of lactic acid producing bacteria with potential as animal probiotics
Authors: วารี นิยมธรรม
Advisors: เกรียงศักดิ์ พูนสุข
สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: kriengsak.p@chula.ac.th
Somboon.T@Chula.ac.th
Subjects: แบคทีเรีย
โปรไบโอติก
กรดแล็กติก
Bacteria
Probiotics
Lactic acid
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิธีการเพื่อคัดเลือกแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกซึ่งมีศักยภาพใช้เป็นโปรไบโอติกในสัตว์ ได้ ดำเนินการโดยแยกแบคทีเรียกลุ่มที่สร้างกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) จากตัวอย่างไก่พื้นเมือง มูลสัตว์ ปลาน้ำ จืด อาหารหมักดอง และผลิตภัณฑ์โปรไบโอติคจากต่างประเทศ จำนวน 30, 25, 15, 9 และ 1 ตัวอย่างตามลำดับ รวมทั้งหมด 80 ตัวอย่าง ทำการแยกเชื้อตามวิธีมาตรฐาน (ISO-15214) ได้แบคทีเรียกรดแลคติกทั้งสิ้น 216 ไอโซเลท (isolates) จากตัวอย่าง สามารถจำแนกกลุ่มตามรูปร่างเป็นแท่ง ทรงกลมเรียงตัวเป็นสายโซ่ และทรงกลมเรียงเป็นสี่เซลล์ จำนวน 121, 63 และ 32 ไอโซเลท ตามลำดับ จากผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกแยกแบคทีเรียกรดแลคติคได้ 3 ไอโซเลท มีลักษณะรูปแท่ง 2 ไอโซเลท และทรงกลม 1 ไอโซเลท ทำการสุ่มเลือกแบคทีเรียกรดแลคติคที่เพาะได้ จำนวน 50 ไอโซเลท และจากผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกอีก 3 ไอโซเลท รวมทั้งสิ้น 53 ไอโซเลท นำไปศึกษาเพื่อทดสอบคุณสมบัติ เบื้องต้นที่จะนำไปใช้เป็นโปรไบโอติก ได้แก่ การศึกษาความไวต่อยาปฏิชีวนะ และเคมีบำบัด การทนกรด การทนน้ำดี และคุณสมบัติในการสร้างสารต้านจุลชีพ ผลการศึกษาสามารถคัดเลือกได้แบคทีเรียกรดแลคติกทั้งหมด 6 ไอโซเลท ได้แก่ C43-1, C72-1, F23-1, C70-2, C76-1 และ C80-2 ดำเนินการศึกษาในขั้นตอนต่อไป โดยเปรียบเทียบกับ ไอโซเลท Fr-A, Fr-B และ Fr-C ที่เพาะแยกได้จากผลิตภัณฑ์โปรไบโอติก พบว่า ทุกไอโซเลทมีความต้านทานต่อยา ปฏิชีวนะและเคมีบำบัดหลายชนิดที่ทดสอบ เช่น aztreonam, streptomycin, colistin, tetracycline, nalidixic acid และ vancomycin สามารถทนต่อกรดที่ pH 2.5 ทนน้ำดีที่ความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ และทุกไอโซเลทที่ทดสอบสามารถ สร้างสารยับยั้งแบคทีเรียทดสอบ E. coli ATCC 25922, Listeria innocua DMST 9011, Listeria monocytogenes DMST 17303, Salmonella Typhimurium ATCC 13311, Salmonella Cholerasuis ATCC 10708, Bacillus cereus ATCC 11778 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 แต่ไม่สร้างสารแบคเทอริโอซิน ผลจาก การศึกษาความคล้ายคลึงโดยการวิเคราะห์ทางฟีโนไทป์ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16S rDNA พบว่าแบคทีเรีย กลุ่มที่มีรูปร่างเป็นแท่ง ไอโซเลท C43-1, C72-1, F23-1, Fr-A และ Fr-B คล้ายคลึงกับ Lactobacillus salivarius, L. plantarum, L. plantarum, L. casei และ L. plantarum ตามลำดับ แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกลม ไอโซเลท C70-2, C76-1 และ Fr-C มีความใกล้เคียงกันกับเชื้อมาตรฐาน Enterococcus faecium, E. hirae และ E. faecium ตามลำดับ ส่วน C80-2 ใกล้เคียงกับ Pediococcus pentosaceus จากการศึกษานี้ พบว่า สามารถใช้วิธีข้างต้น ในการ คัดเลือกแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกที่มีคุณสมบัติใช้เป็นโปรไบโอติกในสัตว์ได้เป็นผลสำเร็จ โดยสามารถคัดเลือก แบคทีเรียกรดแลคติก 4 ไอโซเลท ได้แก่ L. plantarum C72-1, L. plantarum F23-1, E. faecium C70-2 และ P. pentosaceus C80-2 ซึ่งมีคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
Other Abstract: The studies for selection of lactic acid bacteria (LAB) that has potential for probiotics in animals were carried base on the method described in ISO-15214. The 30, 25, 15, 9 and 1 indigenous samples were taken from chickens, farm animal’s feces, fresh water fishes, fermented foods and a commercial probiotic product, respectively. The results yielded 216 isolates, with different morphology; rods (121/216), cocci in chain (63/216) and tetrads (32/216). The isolates from a commercial probiotic yield, 2 rods and 1 coccus in chain. Fifty-three isolates, including 3 isolates from the commercial probiotics were randomly selected and subjected for further studies. Antimicrobial susceptibilities, acid tolerance, bile tolerance and antimicrobial activities were examined. The results revealed 6 isolates, C43-1, C72-1, F23-1, C70-2, C76-1 and C80-2 of potential probiotics bacteria and 3 commercial probiotic isolates, Fr-A, Fr-B and Fr-C. All of the potential had a wide and broad resistance to the tested antimicrobial and chemotherapeutic agents (aztreonam, streptomycin, colistin, tetracycline, nalidixic acid and vancomycin). All of the tested isolates could tolerate to acidity at pH 2.5 and 4 % bile salt solution. All of the tested isolates could inhibit E. coli ATCC 25922, Listeria innocua DMST 9011, Listeria monocytogenes DMST 17303, Salmonella Typhimurium ATCC 13311, Salmonella Cholerasuis ATCC 10708, Bacillus cereus ATCC 11778 and Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 but did not produce bacteriocin. When comparing the phenotypic differences and 16S rDNA sequence, the rod-shaped isolates C43-1, C72-1, F23-1, Fr-A and Fr-B were similar to Lactobacillus salivarius, L. plantarum, L. plantarum, L. casei and L. plantarum, respectively. The cocci chain isolates C70-2, C76-1 and Fr-C were similar to Enterococcus faecium, E. hirae and E. faecium, respectively. The tetrad (C80-2) was similar to Pediococcus pentosaceus. This study described method which for the selection of potential probiotics and successfully identified 4 isolates which are L. plantarum C72-1, L. Plantarum F23-1, E. faecium C70-2 and P. pentosaceus C80-2 respectively, which had comparable in vitro probiotic activities commercial import products.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52013
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waree_ni_front.pdf672.05 kBAdobe PDFView/Open
waree_ni_ch1.pdf276.96 kBAdobe PDFView/Open
waree_ni_ch2.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
waree_ni_ch3.pdf811.08 kBAdobe PDFView/Open
waree_ni_ch4.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
waree_ni_ch5.pdf361.19 kBAdobe PDFView/Open
waree_ni_back.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.