Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52019
Title: ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วหลังได้รับการรักษาด้วยยาอีนาลาพริล
Other Titles: Heart rate variability in dogs with mitral regurgitation after receiving enalapril treatment
Authors: ชยานนท์ ชมภูแสน
Advisors: ชลลดา บูรณกาล
ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chollada.B@Chula.ac.th,
Narongsak.C@Chula.ac.th
Subjects: สุนัข -- โรค -- การรักษา
อัตราการเต้นของหัวใจ -- ความผิดปกติ
ลิ้นหัวใจ -- ความผิดปกติ -- การรักษาด้วยยา
Dogs -- Diseases -- Treatment
Heart beat -- Abnormalities
Heart valves -- Abnormalities
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการตรวจความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate variability, HRV) การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram, ECG) ภาพบันทึกเสียงหัวใจ (phonocardiogram, PCG) และความดันโลหิต (blood pressure) ในสุนัขจำนวน 14 ตัวที่มีภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วก่อนและหลังให้ยาอีนาลาพริล (enalapril) ในขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา 14 วัน สุนัขทุกตัวที่ศึกษามีหัวใจล้มเหลวระดับ B1 และ B2 ตามการแบ่งของ Consensus Statements of the American College of Veterinary Internal Medicine (ACVIM) จากผลการทดลองพบการลดลงของความดันตัวล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ผลการศึกษาค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์ตามช่วงเวลา(time domain analysis of HRV) พบว่า SDNN index และ RMSSD มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์คลื่นความถี่ (frequency domain analysis of HRV) พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงช่วงคลื่นความถี่ต่ำ (low frequency, LF) ในขณะที่ช่วงคลื่นความถี่สูง (high frequency, HF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.01) ค่าผลรวมของคลื่นความถี่ทั้งหมด (total frequency, TF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) จึงทำให้อัตราส่วนระหว่าง LF และ HF (LF/HF) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) จากการตัดค่าช่วงคลื่นความถี่ต่ำมากที่สุด (ultra low frequencies, ULF) และช่วงคลื่นความถี่ต่ำมาก (very low frequencies, VLF) มาใช้ในการคำนวณพบว่า LF norm ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ในขณะที่ HF norm เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) เปอร์เซ็นต์พื้นที่ของเลือดที่ไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้ายเมื่อตรวจด้วย Color Doppler echocardiography (The percentage of mitral regurgitation, %MR) ลดลงจาก 66.3% เป็น 43.4% (P<0.05) ข้อมูลจากการตรวจ echocardiography electrocardiographic phonocardiogram และความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงยกเว้นการลดลงเล็กน้อยของขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงสิ้นสุดการคลายตัว (left ventricular end diastolic diameter, LVEDd) และขนาดของหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงสิ้นสุดการคลายตัวเทียบกับน้ำหนักตัว (left ventricular end diastolic diameter, normalized for body weight, LVEDDN) (P <0.05) อาการโรคหัวใจที่ตรวจโดยเจ้าของดีขึ้น โดยสรุปสุนัขที่มีภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา enalapril เป็นเวลา 14 วันมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะระบบประสาทพาราซิมพาเทติค (parasympathetic)
Other Abstract: The heart rate variability (HRV), echocardiography, electrocardiography (ECG), phonogram (PCG) and blood pressure were performed before and after 14 days of 0.5 mg/kg of enalapril treatment in 14 dogs with mitral regurgitation. All dogs were classified as heart failure class B1 and B2 according to Consensus Statements of the American College of Veterinary Internal Medicine (ACVIM). The results showed that the diastolic blood pressure decrease significantly (P<0.05) after enalapil treatment. The results of time domain analysis of HRV showed increased SDNN index and RMSSD significantly (P<0.05). The frequency domain analysis showed no change in low frequency (LF) spectrum while high frequency increased significantly (P <0.01). The total frequency (TF) was also increased significantly (P<0.05) resulting in decreased LF/HF significantly (P<0.05). By excluding the ultra and very low frequencies, the normalized LF (LF norm) decreased significantly while the normalized HF (HF norm) increased significantly (P<0.05). The percent mitral regurgitant jet (%MR) in which the blood was ejected back into the left atrium during systole was decreased from 66.3 % to 43.4% (P<0.05). The data recorded from echocardiography, electrocardiographic, phonocardiogram did not altered accept a slight reduction in left ventricular end diastolic diameter and left ventricular end diastolic diameter, normalized for body weight (LVEDDN) (P <0.05). The clinical signs which were detected by the owner were improved after enalapril treatment. It is concluded that MR dogs receiving enalapril treatment for 14 days had increased cardiac autonomic nervous system activity particularly parasympathetic activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยาการสัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52019
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1375
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanon_cho.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.