Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52060
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา |
Other Titles: | Development of performance indicators for educational technology centers in higher education institutions |
Authors: | พิษณุ ประจงการ |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onjaree.N@Chula.ac.th |
Subjects: | มาตรฐานการทำงาน ประสิทธิผลองค์การ Performance standards Organizational effectiveness |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมคือใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยคุณภาพประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 9 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินหน่วยงานเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้เชิงระบบ การวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยการสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 9 คน และผู้ปฏิบัติงานในศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 54 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1.ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จาก 488 ตัวบ่งชี้ ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วย 481 ตัวบ่งชี้และความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จาก 481 ตัวบ่งชี้ ผู้ปฏิบัติงานเห็นด้วย 455 ตัวบ่งชี้ 2.ตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับหลักเชิงระบบและภารกิจด้านการบริหาร วิชาการ การบริการ ประกอบด้วย 19 งานได้แก่ ด้านบริหาร มี 120 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น 1) ตัวบ่งชี้งานธุรการและสารบรรณ 22 ตัวบ่งชี้ 2) ตัวบ่งชี้งานพัสดุ 20 ตัวบ่งชี้ 3) ตัวบ่งชี้งานบุคคล 16 ตัวบ่งชี้ 4) ตัวบ่งชี้งานงานแผนและการจัดการ 21 ตัวบ่งชี้ 5) ตัวบ่งชี้งานงบประมาณและการเงิน 17 ตัวบ่งชี้ และ 6) ตัวบ่งชี้งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 24 ตัวบ่งชี้ ด้านวิชาการมี 145 ตัวบ่งชี้จำแนกเป็น 1) ตัวบ่งชี้งานฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา 25 ตัวบ่งชี้ 2) ตัวบ่งชี้งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา 26 ตัวบ่งชี้ 3) ตัวบ่งชี้งานให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการศึกษา 18 ตัวบ่งชี้ 4) ตัวบ่งชี้งานประเมินผลภายในและภายนอก 22 ตัวบ่งชี้ 5) ตัวบ่งชี้งานออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน 27 ตัวบ่งชี้ และ 6) ตัวบ่งชี้งานออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน 27 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริการ มี 190 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น 1) ตัวบ่งชี้งานบริการผลิตสื่อสารกราฟิก 36 ตัวบ่งชี้ 2) ตัวบ่งชี้งานบริการผลิตสื่อดิจิทัล 37 ตัวบ่งชี้ 3) ตัวบ่งชี้งานบริการผลิตสื่อ e-Learning 32 ตัวบ่งชี้ 4) ตัวบ่งชี้งานบริการสื่อการเรียนการสอนและโสตทัศนูปกรณ์ 28 ตัวบ่งชี้ 5) ตัวบ่งชี้งานบริการห้องเรียนและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 20 ตัวบ่งชี้ 6) ตัวบ่งชี้งานซ่อมบำรุง 17 ตัวบ่งชี้ และ 7) ตัวบ่งชี้งานบริการแปลงระบบและสำเนาสื่อการเรียนการสอน 20 ตัวบ่งชี้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to 1) study opinions of specialists and personnel experienced in performance indicators of educational technology centers in higher education institutions. And 2) develop performance indicators for educational technology centers in higher education institution. The research methodology combined both qualitative and quantitative research. The qualitative method comprised in-dept interview with nine administrators in higher education institutions and three specialists with educational technology audit background to obtain system-based performance indicators. The quantitative method comprised opinion questionnaire survey with two sample groups: nine educational technology specialists and 54 personnel working in educational technology centers in higher education institutions. The data were analyzed by content analysis method, frequency, percentage, mean standard deviation and coefficient of variation with SPSS for windows. The research findings were: 1. The Specialist identified 481 performance indicators from 488 indicators for educational technology centers in higher education. The educational technology center personnel considered 455 performance indicators from 481 indicators. 2. The performance indicators for educational technology centers which are system-based and compatible with 19 tasks of administrative affair, academic affair and service affair. The 120 administrative performance indicators included 1) 22 general administration services indicators 2) 20 supplies service indicators 3) 16 personnel administration indicators 4) 21 planning and management indicators 5) 17 finance and budget indicators and 6) 24 communications and public relations indicators. The 145 academic performance indicators included 1) 25 educational technology training indicators 2) 26 research and development indicators 3) 18 educational technology consultation indicators 4) 22 quality assessment indicators 5) 27 instructional design and development indicators and 6) 27 instructional media design and development indicators and The 190 service performance indicators included 1) 36 graphic production service indicators 2) 37 digital production service indicators 3) 32 e-Learning production service indicators 4) 28 instructional media and audiovisual equipment service indicators 5) 20 classroom and computer lab service indicators 6) 17 maintenance service indicators and 7) 20 convert system and media duplicate service indicators. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52060 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.896 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.896 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pisanu_pr_front.pdf | 979.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch1.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch2.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch3.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch4.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch5.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_ch6.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pisanu_pr_back.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.