Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52099
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝัน |
Other Titles: | Development of a causal model of students' quality in lab schools |
Authors: | สุทธิวรรณ แสงกาศ |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannee.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การพัฒนาการศึกษา โครงการพัฒนาโรงเรียน School improvement programs |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝัน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝันที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝันระหว่างภูมิภาคที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในฝันระดับมัธยมศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 1,400 คน ในปีการศึกษา 2550 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรภายในแฝง 2 ตัว คือ คุณภาพนักเรียน และปัจจัยด้านผู้เรียน ตัวแปรภายนอกแฝง 2 ตัว คือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน และปัจจัยด้านองค์การ วัดจากตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งหมด 23 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับนักเรียน แบบสอบถามสำหรับครู และแบบวัดคุณภาพนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝันโดยภาพรวม ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านผู้เรียน และปัจจัยด้านองค์การ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านการเรียนการสอน โดยส่งผ่านปัจจัยด้านผู้เรียน สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝัน คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝันโดยภาพรวม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 79.454 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 71 ที่ระดับความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .230 ค่า GFI เท่ากับ .995 ค่า AGFI เท่ากับ 0.981 และค่า RMR เท่ากับ .012 ตัวแปรในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพนักเรียนได้ร้อยละ 57.4 3. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในฝันมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มภูมิภาคต่างกัน โดยให้ ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 357.794, องศาอิสระ (df) เท่ากับ 348, ที่ระดับความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .347 ค่า GFI เท่ากับ .986 ค่า NFI เท่ากับ .989 ค่า RFI เท่ากับ .968 และค่า RMR เท่ากับ .016 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายในแฝง และค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายนอกแฝงไปยังตัวแปรภายในแฝง นอกจากนี้ พบว่า ตัวแปรความคาดหวังในการศึกษาต่อ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนตัวแปรพฤติกรรมของบิดามารดาในการส่งเสริมบุตรทางการเรียน และตัวแปรลักษณะการคบเพื่อน เป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop the causal model of students' quality in Lab schools 2) to examine the goodness of fit of the model to the empirical data and 3) to test the invariance of students' quality in Lab schools among four different regions. The research sample consisted ot 1,400 grade 9 students of first generation secondary Lab Schools in academic year 2007. Variables consisted of two endogenous latent variables: students' quality and student factor ; and two exogenous latent variables: instruction factor and organization factor. These latent variables were measured by 23 observed variables. Data were collected by using student's questionnaires, teacher's questionnaires and student's quality tests. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation coefficient, Lisrel analysis and multiple group structural equation model analysis. The major findings were as follows: 1. Student factor and organization factor have direct effect to students' quality in Lab schools. Instruction factor has indirect effect to students' quality in Lab schools by student factor. Among these variables, student factor had the highest direct effect. 2. The causal model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 79.454, p = .230, df = 71, GFI = .995, AGFI = .981, and RMR = .012. The model accounted for 57.4% of variance in students' quality in Lab schools. 3. The causal model indicated invariance of model form among four different regions. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 357.794, p = .347, df = 348, GFI = .986, NFI = .989, RFI = .968, RMR = .016. However, the parameter of the causal matrix between endogenous latent variables and exogenous latent variables to endogenous latent variables were variance across four region groups. Moreover, the findings of expectation for further study, achievement motivation in learning, parent's behavior in supporting children of learning, and close friend characteristic variables were major variables to support quality of students in the North, Central, Northeast and South, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52099 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1198 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1198 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sutthiwan_sa_front.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_ch1.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_ch2.pdf | 6.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_ch3.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_ch4.pdf | 6.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_ch5.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sutthiwan_sa_back.pdf | 8.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.