Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52142
Title: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน
Other Titles: PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR DEVELOPING A LIFELONG EDUCATIONPROVIDING MODEL FOR OUT-OF-SCHOOL CHILDREN AND YOUTH BY COMMUNITY ORGANIZATIONS
Authors: ภัทรา วยาจุต
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
วีรฉัตร์ สุปัญโญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th,archanya@gmail.com
Weerachat.S@chula.ac.th
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษาต่อเนื่อง -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
Continuing education
Continuing education -- Citizen participation
Action research in education
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาวการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบ และการดำเนินการของหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบ 2. ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน และ 3. นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 1. การศึกษาเอกสาร 2. การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และ 3.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ชุมชนที่ศึกษา ได้แก่ ชุมชนทรัพย์สินพัฒนา แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านสภาวการณ์เด็กและเยาวชนนอกระบบของประเทศไทย พบว่าปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนที่มีอายุเข้าเกณฑ์วัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่อยู่นอกระบบมากกว่า 1.44 ล้านคน สภาพปัญหาของเด็กกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่ คือ มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเสี่ยง มีความเสี่ยงเรื่องเพศ มีความเสี่ยงต่อยาเสพติด เป็นประชากรด้อยคุณภาพ เป็นประชากรชายขอบด้อยโอกาส เป็นต้นตอของปัญหาสังคม ขาดความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ เผชิญกับปัญหาครอบครัว มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมีความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวง ปัจจัยสาเหตุของปัญหา คือ อยู่ท่ามกลางพื้นที่เสี่ยง เข้าสู่วงจรความเสี่ยงทุกรูปแบบ มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาทางเพศ เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ฐานะยากจน คิดว่าเรียนจบระดับใดระดับหนึ่งแล้วไม่จำเป็นต้องเรียนต่อ กฎระเบียบของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนของเด็กที่มีปัญหา และอพยพตามผู้ปกครอง โดยการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินงาน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การสร้างกลไกติดตามช่วยเหลือ 2. การส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3. การพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต และ 4. การขับเคลื่อนและคุ้มครองช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤต 2. รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน เป็นแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่างๆ ของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่พัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหา ปัจจัยสาเหตุ และความต้องการของเด็กและเยาวชนนอกระบบของชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1. ความเชื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อในศักยภาพของเด็กและเยาวชนนอกระบบ ประกอบด้วย ปรัชญา แนวคิด และหลักการของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนนอกระบบให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2. บริบทของรูปแบบ ประกอบด้วย บริบทปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบของชุมชน และเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของชุมชน 3. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนนอกระบบ ผู้จัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ องค์กรชุมชน และเครือข่ายสนับสนุน แบ่งเป็น เครือข่ายภายในชุมชนและเครือข่ายภายนอก 4. แผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านอาชีพ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในตนเองให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินผล และ 5. วิธีการจัดการศึกษาตลอดชีวิต แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ มีแบบแผน กึ่งแบบแผน ไม่มีแบบแผน 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนโดยองค์กรชุมชน จำนวน 6 ข้อ แบ่งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาตลอดชีวิต มี 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1 สร้างแนวทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชนให้แก่คนในชุมชนรับทราบอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ข้อ 2 สร้างกลไกความร่วมมือจากเครือข่ายภาคีของชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นของกระบวนการพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบ ข้อ 3 สร้างเสริมศักยภาพของชุมชนจากทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในชุมชนในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ตลอดจนบริหารกองทุนของชุมชนเพื่อนำเงินปันผลส่วนหนึ่งมาจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบของชุมชนเอง ข้อ 4 ส่งเสริมความยั่งยืนของกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตโดยองค์กรชุมชน โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีการจัดตั้งเป็นรูปธรรม ข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ข้อ 5 ส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชนนอกระบบเพื่อรู้เท่าทันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบให้เด็กและเยาวชนออกจากระบบการศึกษา และข้อเสนอเชิงนโยบายเชิงเฝ้าระวังป้องกันปัญหา จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ข้อ 6 ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนทั่วไปทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อให้ความรู้เชิงป้องกันปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
Other Abstract: The aims of this research were to investigate the current situation of the out-of-school children and youth in Thailand along with finding the possible ways to help and support them, to develop the lifelong education providing model for out-of-school children and youths by using participatory methods and also cooperate with community organizations, to propose the recommended policy for lifelong learning for out-of-school children and youths. This research was a qualitative research based on documentary study and key informant interview. Moreover, participatory action research (PAR) is also used as a research methodology of this study. This research was conducted in collaboration with the researcher and community organization focusing on the area of Subsinpattana Community, Samaedam District, Bang Khuntien, Bangkok, Thailand. The findings were as follows; 1. According to the research, it was found that there are more than 1.44 million out-of-school children and youth who are unable to attend school, never attend school, or some of them drop out before completing the fundamental of basic education. The researcher also found that there are several problems occurring in the out-of-school children and youth such as behavior risk, drug addicted, unprotected sex, health problems, lack of opportunities, being overlooked by society and family, being a cause of social problems and so on. The causes of these problems are living in risky area, being a victim, poverty, premature marriage, illness, immigrant with their parents, cannot adjust themselves to school, etc. The government and related organizations provided four steps to help them which are; create the system to follow them up, provide alternative education for them, create workshops for useful skills that they can use it for living, and protect out-of-school children and youth in case they face the crisis. 2. A lifelong education providing model was developed to fit the need of out-of-school children and youth by community organization which consists of five components as follows; 1) Beliefs; believe in the potential of the group. The beliefs comprise of philosophy, concepts, and principals focusing on developing their skills. 2) Contexts of the model; context of problems in the community and desirable goals to be achieved. 3) People in the model; target group (out-of-school children and youth) and provider (community organizations) and community networks 4) Lifelong Education plans; contents that related occupational, theoretical and practical skills, learning activities, learning resources, and evaluation of competencies. 5) Lifelong Education approaches; structured, semi-structured, non-structured. 3. There were six recommended policies for lifelong education providing model for out-of-school children and youth as follows; 1) Community organization makes an announcement about lifelong education providing activities for everyone in the community to know. 2) Establish a cooperative systems and community networks to work together since the beginning of the project of lifelong education providing model development. 3) Develop the potential of community by using the human resources in the community, manage the community fund and using the profit from the fund to support the community activities especially the lifelong education providing project. 4) Support the sustainability of lifelong education providing activities by establishing the team to manage this project properly. 5) Convincing family the community to learn about this project with their children to make them realize and help preventing problems that often occurred and 6) Encourage providing lifelong learning for both out-of-school children and youth and children who are in school in order to educate them to prevent the problems which always occur with them.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52142
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.250
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.250
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484231227.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.