Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5219
Title: | การกำจัดสีย้อมรีแอกทีฟโดยการใช้กระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า และการตกตะกอนทางเคมี |
Other Titles: | Reactive dye removal by using electrocoagulaton process and chemical coagulation |
Authors: | วรรษวรรณ เที่ยงวรรณกานต์ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี สีย้อมและการย้อมสี การรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า การตกตะกอน (เคมี) การรวมตะกอน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการบำบัดน้ำเสียสีย้อมรีแอกทีฟโดยการใช้ กระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าและการตกตะกอนทางเคมี ซึ่งแบ่งเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า ในการกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์สีแดง (CI Reactive Red 180) ความเข้มข้น 200 mg/l ซึ่งจะปรับเปลี่ยนชนิดของขั้วไฟฟ้าโดยใช้ขั้วเหล็ก อะลูมิเนียม และแสตนเลส ปรับเปลี่ยนค่าความต่างศักย์ 3 ค่า คือ 10 20 และ 30 โวลต์ ปรับเปลี่ยนค่าเวลาเก็บกักตั้งแต่ 0.5-3 ชม0 ขนาดพื้นที่หน้าตัดของขั้วไฟฟ้า 8 ค่า คือ 0.5x6.5, 3x6.5, 4x6.5, 5x6.5, 6.5x6.5, 8x6.5 และ 11x6.5 ตร.ซม. ค่าพีเอช 4 ค่า คือ พีเอช 3 พีเอช ปกติ พีเอช 7 และพีเอช10 และปรับค่าความนำไฟฟ้าให้เท่ากับค่าความนำไฟฟ้า ของน้ำเสียรวมและน้ำเสียจากหม้อย้อมเป็น 7.2 ms/cm กับ 72 ms/cm พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือ ใช้ขั้วเหล็กขนาด 3x6.5 cm ขึ้นไป ใช้ความต่างศักย์ที่ 30 โวลต์โดยใช้เวลา 1.5 ชม. ถ้าไม่ปรับค่าความนำไฟฟ้า แต่ถ้าปรับค่าความนำไฟฟ้าเป็น 7.2 ms/cm จะใช้ความต่างศักย์ที่ 6.4 โวลต์ และเวลาที่ใช้จะเหลือเพียง 30 นาที และการทดลองที่ 2 จะศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตกตะกอนทางเคมี ที่ไม่ผ่านและหลังผ่านการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า จากผลการทดลองพบว่าการใช้วิธีการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ก็สามารถกำจัดสีได้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการตกตะกอนทางเคมีร่วมด้วย โดยสามาารถกำจัดสีได้สูงมากถึง 96% ขึ้นไป ส่วนประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีไม่สูงมากนักเพียง 55% ซึ่งยืนยันได้ว่าการกำจัดสีไม่ได้เกิดจาการตกตะกอนของสีย้อมเพียงอย่างเดียว แต่สีมีการเปลียนโครงสร้างของสีย้อมโดยเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น พีเอชของน้ำหลังการทดลองมีค่าสูงมากขึ้นเท่ากับ 9 อุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นถึง 38 ํC เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นเท่ากับ 40 มล./ลิตร การทดลองที่ 3 คือการศึกษาหาประสิทธิภาพการกำจัดสีของน้ำเสียจริงจากโรงฟอกย้อม โดยใช้น้ำเสียรวมก่อนผ่านการบำบัดและน้ำเสียจากหม้อย้อมซึ่งมีความเข้มข้นสี 500 mg/l โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมจากการทดลองข้างต้น แต่มีการเปลี่ยนระยะเวลาที่ใช้ทดลองและค่าความต่างศักย์เป็น 2 นาที และ 6.4 โวลต์ สำหรับน้ำเสียรวม เนื่องจากมีค่าความเข้มสีน้อยลงและค่าความนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ค่าไฟฟ้าเท่ากับ 2.7 บ./ลบ.ม. และสำหรับน้ำเสียจากหม้อย้อมจะใช้เวลาเท่ากับ 1.5 ชม.เพราะความเข้มสีสูงขึ้นและความต่างศักย์เท่ากับ 2 โวลต์ เนื่องจากค่าความนำไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งมีผลต่อค่าความต้านทานไฟฟ้าและค่าความต่างศักย์ โดยค่าไฟฟ้าเท่ากับ 31.95 บ./ลบ.ม. จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดสีจะมากถึงร้อยละ 85 และ 98 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจ |
Other Abstract: | To study the feasibility of reactive dye removal in wastewater by using electrocoagulation process and chemical coagulation process. This study divided into 3 part, the first part was the study of optimum removal efficiencies of reactive dye (CI Reactive Red 180) at concentration of 200 mg/l by using electrocoagulation process. Variables such as type of anode using iron, aluminum and stainless were test in this study. Voltage was varied at 10 volt, 20 volt and 30 volt. Retention time was varied from 0.5 to 3 hour. Size of anode varied from 0.5x6.5 to 11x6.5 sq.cm. Values of pH varied at 3-10. Conductivity of synthetic wastewater were varied at 7.2 and 72 ms/cm. The optimum condition for reactive dye removal at conductivity of 7.2 ms/cm was achieved by using iron anode size up to 3x6.5 cm, voltage of 30 volt, retention time of 1.5 hr. When conductivity was increase to 72 ms/cm voltage and retention time could be reduce to 6.4 volt and 30 minute, respectively. The second part of the study was the optimum removal efficiencies of dye using chemical coagulation after electrocoagulation process. The result showed that the chemical coagulation process was not necessary because the electrocoagulation process alone could result in high removal efficiencies of color (higher than 96%) and COD removal of 55%. This result confirmed that the mechanism for dye removal by electrocoagulation process were oxidation together with coagulation by anode of iron from. The pH of water after treatment was 9. Heat energy was changed by electricity so that temperature up to 38 ํC and volume of sludge was 40 ml./l. The final part of the study was the removal efficiencies of 2 type of textile wastewater, namely combined wastewater and dye wastewater from dye pot. The result from by electrocoagulation process alone. Showed that combined wastewater was colorless shortly thus retention time and voltage could be reduce to 5 minute and 6.4 volt, electric resulting in cost of 2.7 bth/cubic m. The dye wastewater from dye pot used retention time of 1.5 hr. Voltage could be reduce to 2 volt because conductivity was higher. And electric cost was 31.95 bth/cubic m. The removal efficiencies of color were achieved up to 85% and 98% for combined and dye pot wastewater and is satisfactory |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5219 |
ISBN: | 9741736207 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vassavan.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.