Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52245
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of art learning management model to enhance cooperative learning skills of students in inclusive classrooms of lower elementary school
Authors: ณัฎฐกาญจน์ อนันทราวัน
Advisors: ขนบพร แสงวณิช
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Khanobbhorn.W@Chula.ac.th,nobbhorn13@hotmail.com,khanobbhorn@gmail.com
Aimorn.J@chula.ac.th
Subjects: ศิลปะ
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
Arts
Art -- Study and teaching
Group work in education
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น พัฒนารูปแบบจากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน และสังเกตการสอนของครูศิลปะในห้องเรียนรวม 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและรับรองรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบคือ นักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ จำนวน 28 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 5 คน ดำเนินการทดลอง 2 หน่วยการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ทางศิลปะ แบบประเมินผลงานศิลปะ แบบประเมินประพฤติกรรมตนเองด้านการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแบบแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือในห้องเรียนรวม (ACIModel) มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การเตรียมสื่อและวัสดุอุปกรณ์ 6) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม 7) บทบาทครู 8) บทบาทนักเรียน ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้น คือ 1) วิเคราะห์ความสามารถทางศิลปะและจัดกลุ่ม 2) การรับรู้ทางศิลปะและสร้างสรรค์งานศิลปะตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล 3) แบ่งปันประสบการณ์ทางศิลปะ 4) ร่วมมือสร้างสรรค์งานศิลปะ 5) ตรวจสอบพฤติกรรมการร่วมมือสร้างสรรค์งานศิลปะและให้ข้อมูลย้อนกลับ 6) แสดงผลงานและวิเคราะห์ผลการร่วมมือสร้างสรรค์งานศิลปะ ผลการตรวจสอบคุณภาพและรับรองรูปแบบก่อนนำไปใช้ด้วยการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกับทฤษฏีและเหมาะสมในการนำไปใช้ และหลังจากทดลองพบว่าครูได้รับอรรถประโยชน์จากการทดลองใช้รูปแบบและนักเรียนมีพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือและมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ศิลปะที่สูงขึ้น 2. ผลของการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือในห้องเรียนรวม (ACI Model) พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ทางศิลปะก่อนเรียนและหลังเรียนระยะที่ 3 เพิ่มขึ้นจากระยะที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของผลงานศิลปะที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่มสูงกว่าผลงานที่ทำเป็นรายบุคคล 3) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อนเรียนและหลังเรียน ระยะที่ 2,3 และ 5 เพิ่มขึ้นจากระยะที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างเรียนตั้งแต่ระยะที่ 2,3,4,5,6 เพิ่มขึ้นจากระยะที่ 1 ระยะที่ 3,4,5,6 เพิ่มขึ้นจากระยะที่ 2 ระยะที่ 5,6 เพิ่มขึ้นจากระยะที่ 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5) นักเรียนมีความรู้สึกมีความสุข สนุกที่ได้เรียนศิลปะ ภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน อยากให้ตัวเองและเพื่อนเลิกทำพฤติกรรมที่ไม่ดีและปรับปรุงการทำงานศิลปะให้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรจัดเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยสามารถบูรณาการกิจกรรมภายในกลุ่มสาระศิลปะและข้ามกลุ่มสาระนำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนที่สูงขึ้นไป และสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปควรพัฒนาการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความร่วมมือสำหรับผู้เรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเน้นความร่วมมือระหว่างนักเรียน ครูและผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้
Other Abstract: This research and development aimed to 1) develop and study the effect of the art learning management model to enhance cooperative learning skills of students in the inclusive classroom of lower elementary school 2) study the effects of experimental the art learning management model to enhance cooperative learning skills of students in inclusive classroom of lower elementary school. Develop the model by documentary study, Interviews 15 experts and observation 5 of teaching art in inclusive classroom. Qualitative data analysis and Certified the model by focus group discussion. The samples in the experimental were 28 third-grade students in the inclusive classroom of Piboonprachasan School. 5 of them were children with special needs. This experiment ran for 2 courses. The data were gathered from various test and assessment; namely, art knowledge test, art evaluation form, behavior self-evaluation and behavior observation form for cooperative learning, and comments on this program.These quantitative data were analyzed by descriptive statistic, average, mean, repeated measures ANOVA and content analysis. All the data leads to 2 conclusions; 1. ACI Model (Art for Cooperative Learning in Inclusive classroom model) consists of eight elements; 1) principles 2) objectives, 3) content 4) learning processes 5 materials and equipment preparation 6) atmosphere and environment 7) teachers' roles and 8) students’ roles. Six steps of art learning process are comprised of 1) artistic analysis and grouping 2) personal artistic perception and creating 3) artistic experience sharing 4) cooperative creating artistic work 5) behavior monitoring and feedback 6) artistic work exhibiting and cooperative learning analysis. From assessment and certification by group discussion with experts, the model conforms to the related theory and was suggested to be implemented. According to the experiment, teachers receive utility ACI Model and students developed cooperative learning skills and achieved within art learning. 2. The experiment with the ACI Model showed that: 1) The average score of artknowledge (pre-test and post-test) in 3rd phase increases from 1st phase at .05 significance levels. 2) The average score of cooperative artistic work was higher than in individual work. 3) The average score of cooperative learning skills (pre-test and post-test) in 2nd, 3rd, 5th phase increased from 1st phase at .05 significance levels. 4) The average score of cooperative learning skills (during class) in 2nd ,3rd ,4th 5th,6th phase increases from 1st phase, in 3rd ,4th , 5th ,6th phase increases from 2rd phase, and in 5th ,6th phase increases from 3rd, 4th phase at .05 significance level. 5) Students enjoyed the class and were proud to do activities with their friends. They also would like themselves and their friends give up negative behaviors and improved artistic works. The result could be applied to extra curriculum activities and to integration of activities within art courses and across subjects. It could be also applied to students in higher levels. Further research should developing model from Elementary to Higher education with emphasis on collaboration among students, teachers, and parents was recommended.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52245
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1128
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684209727.pdf10.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.