Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52368
Title: อิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: THE INFLUENCE OF EMOTIONAL QUOTIENT AND ADVERSITY QUOTIENT TOWARD SELF-DIRECTED LEARNING CHARACTERISTICS OF NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION STUDENTS IN BANGKOK METROPOLITAN
Authors: สรวิชญ์ สหพิบูลย์ชัย
Advisors: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Worarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.com
Subjects: ความฉลาดทางอารมณ์
นักศึกษา -- แง่จิตวิทยา
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ ระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และระดับคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาอิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร จำนวน 379 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และแบบสอบถามคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปกติ (x̄ =2.93/4) และระดับขององค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปกติ (x̄ =3.01/4) (x̄ =2.81/4) และ (x̄ =2.98/4) ระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =127.89/200) และระดับขององค์ประกอบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =31.72/50) (x̄ =32.88/50) (x̄ =31.51/50) และ (x̄ =31.78/50) ระดับคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองโดยรวมของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.60/5) และระดับขององค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองทั้ง 7 ด้าน พบว่ามีเพียง 1 ด้านที่อยู่ในระดับสูง คือ ด้านการยอมรับตนเอง (x̄ =3.74/5) และที่เหลืออีก 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.43/5) (x̄ =3.65/5) (x̄ =3.58/5) (x̄ =3.64/5) (x̄ =3.61/5) และ (x̄ =3.50/5) 2. ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.47) ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.28) และความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.21) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค โดยสามารถร่วมกันทำนายคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 26 อยู่ในระดับต่ำ และเขียนสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ Yคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง = 0.43Xความฉลาดทางอารมณ์ + 0.19Xความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the levels of emotional quotient and adversity quotient and self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students in Bangkok Metropolitan area and 2) study the influence of emotional quotient and adversity quotient toward self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students. The sample group was 379 non-formal and informal upper secondary education students, which selected using multi – stage random sampling. The research instruments were a personal factors questionnaire, an emotional quotient questionnaire, an adversity quotient questionnaire, and a self-directed learning characteristics questionnaire. The data were analyzed using frequencies (n), percentage (%), Mean (x̄ ), Standard Deviation (SD), Pearson’s product moment correlation coefficient, and enter multiple regression. The results of the study were as follow: 1. The overall level of emotional quotient of non-formal and informal education students in Bangkok Metropolitan was reported at the middle level (x̄ =2.93/4). The levels of three aspects of emotion quotient were also reported at the middle levels (x̄ =3.01/4), (x̄ =2.81/4), and (x̄ =2.98/4). The overall level of adversity quotient of non-formal and informal education students was reported at the middle level (x̄ =127.89/200). The levels of four aspects of adversity quotient were also reported at the middle levels (x̄ =31.72/50), (x̄ =32.88/50), (x̄ =31.51/50), and (x̄ =31.78/50). The overall level of self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students was reported at the middle level (x̄ =3.60/5). The self-directed learning characteristics in seven aspects, only one in self-acceptance were reported at the high level (x̄ =3.74/5), whereas the other six aspects were reported at the middle levels (x̄ =3.43/5), (x̄ =3.65/5), (x̄ =3.58/5), (x̄ =3.64/5), (x̄ =3.61/5), and (x̄ =3.50/5). 2. The emotional quotient and self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students in Bangkok Metropolitan were positive significantly correlated at .05 level (r=0.47). The adversity quotient and self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students were positive significantly correlated at .05 level (r=0.28). The emotional quotient and adversity quotient of non-formal and informal education students were positive significantly correlated at .05 level (r=0.21). Variables that could predict the self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students at .05 level consisted of emotional quotient and adversity quotient. They jointly predicted the self-directed learning characteristics of non-formal and informal education students at low level (26%). The standardize formula derived from the analysis could be described as follow: Yself-directed learning characteristics = 0.43Xemotional quotient + 0.19Xadversity quotient
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52368
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.251
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.251
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783372127.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.