Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพิม ศุภศันสนีย์-
dc.contributor.authorณัฏฐิมล โลพันธ์ศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-03T10:03:34Z-
dc.date.available2008-01-03T10:03:34Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741311257-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5236-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์(พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการก่อนและหลังการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาล กำหนดสมมติฐานการวิจัยว่า ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ภายหลังการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาล สูงกว่าก่อนการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการ ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าจำนวน 21 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ได้แก่ โปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาลสำหรับพยาบาลประจำการ คู่มือการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาลสำหรับพยาบาลประจำการ และพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจในงานสำหรับพยาบาลประจำการ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .9251 การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบด้วยแบบประเมินความพึงพอใจในงานของพยาบาลก่อนและหลังการทดลอง ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย พยาบาลประจำการเสนอกิจกรรมที่ต้องการเน้นในการปฏิบัติงานของตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน แล้วเขียนสัญญาการปฏิบัติในกิจกรรมนั้น เสนอต่อพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย แล้วจึงนำไปปฏิบัติ ภายใต้การสนับสนุน ชี้แนะ ให้คำปรึกษาของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย หลังจากปฏิบัติงานตามสัญญาการปฏิบัติงานครบครึ่งหนึ่งของระยะเวลา 3 สัปดาห์ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพยาบาลประจำการและพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย ครั้งที่ 1 เพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน และครั้งที่ 2 เมื่อพยาบาลประจำการปฏิบัติงานตามสัญญาการปฏิบัติงานครบตามเวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ หลังการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาล สูงกว่า ก่อนการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เมื่อทดสอบโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้en
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed to compare the staff nurses' job satisfaction before and after using modified management by objective concept in nursing practice under the hypothesis that the modified management by objective concept should improve job satisfaction of the staff nurses. The subjects selected by volunteer sampling, were composed of 21 staff nurses in Surgical Department, Somdejprapinkloa Hospital. Three tools were used to collect data: namely the training program of modified management by objective concept in nursing practice for staff nurses, the manual of using modified management by objective concept in nursing practice for staff nurses and head nurses, and staff nurse's satisfaction questionnaire. The tested for content validity and internal reliability of these tools were shown at .9251. The study used one group pre-test post-test design. After pre-test evaluation of job satisfaction, the staff nurses had to present the activities that they intended to perform to accomplish the department's objectives, then prepared their working contract and presented the contracts to head nurses. The implementation of the working contract was under the suggestion and consultation of the head nurses. The evaluation of the progress of implementation between the staff nurses and the head nurses was performed twice, first at the halfway and second at the end of the three-week working contract period. Post-test evaluation of staff nurses' job satisfaction with the same questionnaire was also conducted at the end of the study. The result of the study revealed that the staff nurses' job satisfaction after using modified management by objective concept in nursing practice was significantly higher than that before using modified management by objective concept in nursing practice at p<.01 using paired t-test. The result therefore supports the hypothesis of the study.en
dc.format.extent1865009 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาล -- ความพอใจในการทำงานen
dc.subjectการพยาบาลen
dc.subjectการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์en
dc.titleผลของการปรับใช้แนวคิดการบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานการพยาบาลต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการen
dc.title.alternativeThe effect of using modified management by objective concept in nursing practice on job satisfaction of staff nursesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrapim.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthimon.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.