Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52385
Title: ประเด็นและภาพตัวแทนเกี่ยวกับโรฮิงญาในการ์ตูนหนังสือพิมพ์
Other Titles: ISSUES AND REPRESENTATIONS OF ROHINGYA IN NEWSPAPER CARTOONS
Authors: อัลเบอท ปอทเจส
Advisors: เจษฎา ศาลาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jessada.Sa@Chula.ac.th,jess.salathong@gmail.com
Subjects: โรฮีนจา
การวิเคราะห์เนื้อหา
การ์ตูนการเมือง
Rohingya (Burmese people)
Content analysis (Communication)
Political cartoons
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการ์ตูนหนังสือพิมพ์ที่สะท้อนประเด็นโรฮิงญา ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างภาพตัวแทน และการวิเคราะห์ตัวบท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ภาพการ์ตูนการเมืองที่สะท้อนประเด็นโรฮิงญาจำนวน 65 ชิ้น จากหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ ได้แก่ เดอะ เนชั่น บางกอกโพสต์ ไทยรัฐ และคมชัดลึก ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2559 ผลการวิจัย ในส่วนของการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ลักษณะการนำเสนอการ์ตูนโรฮิงญาเป็นไปตามหลักความทันต่อเหตุการณ์ และผลกระทบ โดยจำนวนการตีพิมพ์ในแต่ละช่วงเวลาสามารถสะท้อนถึงระดับวิกฤตของเหตุการณ์ได้ ใจความหลักที่ปรากฏในการ์ตูนมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์ และสิทธิมนุษยชน และการกระทำที่ปรากฏในการ์ตูนสามารถสะท้อนภาพคนชายขอบได้อย่างชัดเจน ตัวการ์ตูนโรฮิงญามักจะเป็นผู้ถูกกระทำที่ปราศจากอำนาจและไร้การต่อรอง ในส่วนของการสร้างภาพตัวแทนโรฮิงญาในเชิงรูปธรรม พบว่า การ์ตูนนิสต์นิยมใช้รูปสัญญะชาวโรฮิงญา และมนุษย์เรือมากที่สุด เนื่องจากการสร้างภาพตัวแทนแบบตรงตัวทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย เห็นภาพแล้วรู้สึกติดตา และสามารถเชื่อมโยงกับเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญาได้โดยอัตโนมัติ ในเชิงนามธรรม พบว่า มีการนำเสนอภาพตัวแทนชาวโรฮิงญาในฐานะเหยื่อค้ามนุษย์ และผู้ไม่พึงประสงค์มากที่สุด ในส่วนของการวิเคราะห์ตัวบท ส่วนแรก พบว่า มีการนำเสนอประเด็นโรฮิงญาผ่านหลายกรอบเนื้อหา สะท้อนว่าปรากฏการณ์โรฮิงญาเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวพันกับหลายมิติ ในแง่ของการทำหน้าที่ของกรอบเนื้อหา พบว่า การ์ตูนโรฮิงญามีการระบุปัญหา และตัดสินทางจริยธรรมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารประเด็นที่เข้าถึงง่ายและเร้าอารมณ์ ส่วนที่สอง พบว่า การ์ตูนนิสต์สื่อความหมายเชิงสัญญะด้วยการใช้รหัส มุก และการสร้างพื้นที่หลอมรวม ตามความถนัดของแต่ละคน และส่วนที่สาม พบว่า ลักษณะของวาทกรรมที่ปรากฏในการ์ตูนโรฮิงญามีความแตกต่างกันตามสถานการณ์และอุดมการณ์ของการ์ตูนนิสต์ นอกจากนี้พบว่าในการ์ตูนบางชิ้นมีการใช้วาทกรรมแฝงอคติผ่านคำพูดที่มีลักษณะของการบอกปัด หรือการให้นิยาม และผ่านการทำให้ตัวการ์ตูนโรฮิงญา กลายเป็นตัวตลก ผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้การ์ตูนส่วนใหญ่จะมีภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญา แต่กลับไม่ปรากฏคำพูดใด ๆ เลยสูงถึง 58 ชิ้น (หรือ 89%) ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ในตัวบทเหล่านี้ชาวโรฮิงญากลายสภาพเป็น “ตัวการ์ตูนที่ไม่มีเสียง” ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์พื้นที่กำเนิดวาทกรรม ในแง่ที่ว่า มีการ์ตูนเพียงไม่กี่ชิ้นที่มีเสียงสะท้อนมาจากชาวโรฮิงญาโดยตรง และวาทกรรมทางเลือกที่มีต้นกำเนิดมาจาก “ภาคประชาสังคม” ปรากฏอยู่ในกลุ่มตัวอย่างค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 12.3 เท่านั้น
Other Abstract: This research studies newspaper cartoons related to Rohingya issues through analyses of content, representation and texts. The sample includes 65 political cartoons about the Rohingya from 4 Thai newspapers: The Nation, The Bangkok Post, Thai Rath, and Kom Chad Luek between 2009 and 2016. The research conclusions are as follows: The content analysis reveals that cartoons on Rohingya have timely appearance and reflect the impact that news on Rohingya has on society. The number of published cartoons in each period could indicate the level of crisis of the issues. The main themes that show up most frequently are human trafficking and human rights. The actions that appear in the cartoons clearly reflect the characteristics of a marginalized people. The Rohingya characters are usually represented as hapless and passive. The analysis of concrete representation reveals that cartoonists tend to portray the Rohingya as themselves or boat people, because direct representation is easy to understand and allows readers to automatically connect what they perceive visually with Rohingya stories. In abstract, the Rohingya are mostly represented as the victims of human trafficking and as the unwanted. The textual analysis has three findings. First, Rohingya issues are presented through multiple frame queues which reflect the complex and multidimensional nature of the issues. Most frames operate in two ways: identifying problems and making moral judgements. These communicate a clear message and, as such, can easily trigger feelings amongst the readership. Second, cartoonists create Rohingya cartoons by employing different codes, gags, and blending techniques, according to their skills and styles. Third, the discourses about Rohingya are expressed in cartoons differently depending on the situation and each cartoonist’s ideological standpoint. Biases can be expressed through denial and justification strategies, or other ways of making fun of Rohingya characters through graphic portrayal. The study finds that although most Rohingya-related cartoons have Rohingya characters, in 58 of them (89%) the Rohingya do not speak. It can be said that in these texts, the Rohingya become “voiceless characters”. This corresponds with the analysis of the discourse origin that very few cartoons reflect Rohingya’s voices. Moreover, alternative discourses which originated from civil society exist in small amounts, only 12.3% of the entire sample.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52385
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.424
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.424
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784691528.pdf21.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.