Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/523
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ : การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม
Other Titles: Factors influencing academic achievement and improvement : a value-added approach
Authors: สุชีรา มะหิเมือง, 2508-
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มูลค่าเพิ่ม
การประเมินผลทางการศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิธีวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาการทางวิชาการในช่วง 3 ปีการศึกษา เพื่อศึกษาลักษณะการแจกแจงความถี่ และเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนที่มีความแตกต่างในด้านขนาดและจังหวัดที่ตั้ง และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัย/ตัวแปรระดับโรงเรียนด้านบริบททั่วไป และสภาพการปฏิบัติงานทางวิชาการของโรงเรียนที่มีต่อมูลค่าเพิ่มฯ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 123 แห่ง ซึ่งได้รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากรโรงเรียนทั่วประเทศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลทุติยภูมิของคะแนนผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งได้จากผลการทดสอบแห่งชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2545 และผลการทดสอบของโครงการประเมินคุณภาพ และวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง ขณะศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง บริบททั่วไปของโรงเรียน และการปฏิบัติงานทางวิชาการตามตัวบ่งชี้ 6 ด้านได้จากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น (HLM) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ (Lisrel) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการทางวิชาการ ที่ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุระดับด้วยโปรแกรม HLM ซึ่งกำหนดให้ตัวแปรภูมิหลังของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์เดิม เป็นตัวแปรที่ส่งผลเชิงสุ่ม ในขณะที่ควบคุมอิทธิพลจากตัวแปรด้านเศรษฐานะและพื้นฐานทางภาษา เป็นโมเดลที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R[superscript 2]) 22.10% และ 24.97% ในวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ตามลำดับ 2. การแจกแจงความถี่ของมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาการทางวิชาการทั้งสองวิชาโดยรวม มีลักษณะเป็นโค้งปกติด้วยค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงหรือเท่ากับ '0' แต่มีความแปรปรวนของมูลค่าเพิ่มของ ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ (ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ) ระหว่างจังหวัดตากกับจังหวัดสระบุรี และของมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการวิชาคณิตศาสตร์ (ระดับนัยสำคัญ 0.01) ระหว่างจังหวัดตากและจัวหวัดระนอง นอกจากนี้โรงเรียนที่มีมูลค่าเพิ่มฯ จัดอยู่ในกลุ่มสูงเป็นโรงเรียนที่มีบริบททั่วไปของโรงเรียนและสภาพปฏิบัติงานทางวิชาการดีกว่ากลุ่มโรงเรียนที่มีมูลค่าเพิ่มฯ ในระดับต่ำ 3. โมเดลเชิงสาเหตุแสดงอิทธิพลของปัจจัย/ตัวแปรระดับโรงเรียนที่มีต่อมูลค่าเพิ่มฯ ซึ่งกำหนดขึ้นตามกรอบความคิดเชิงทฤษโ เป็นโมเดลที่มีความตรงและความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับ 0.05) ได้แก่ การปฏิบัติงานทางวิชาการที่ส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าเพิ่มของ ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ และเชิงลบต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการ ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนที่ส่งผลเชิงลบต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการคณิตศาสตร์ และการส่งผลเชิงบวกของมูลค่าเพิ่มของค่าเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ต่อมูลค่าเพิ่มของพัฒนาการทางวิชาการ (ระดับนัยสำคัญ 0.01)
Other Abstract: To demonstrate an approach to measure the value-added achievement and improvement of a 3 academic year school's achievement, to compare a schools' value-added achievement and improvement within group categorized by its size and located province, and to identify the effects of a school's general contexts and educational practices on such the value-added. The subjects of the study were 123 primary schools which multi-stage sampling selected from the population of schools under the Jurisdiction of The Office of National Primary Education Commission around country except the ones located in Bangkok. The secondary sources of data were the examination achievement scores of thai language and mathematics derived from the National Test of the grade 6 pupil in academic year 2002 and the Project of Quality Evaluation and Learning Disadvantage Diagnosis of the same cohort at the grade 4 period. And the primary source of data was the surveyed data on background characteristics, the school's general contexts and its educational practices according to 6 indicators. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, one-way ANOVA, the hierarchical linear model (HLM), and the linear structural relationship model (Lisrel). The results revealed : 1. Both subjects, the value-added analysis model which employed by HLM and specifying a random effect of the pupils' prior achievement while controlling for the effect of pupil's socioeconomic status and language background on post achievement. The result indicated such the analysis model accounted for 22.10% and 24.97% of variance in the post achievement of thai language and mathematics, respectively. 2. The frequency distribution of the schools' value-added achievement and improvement were normal curve with the average mean around '0'. Whereas there were significant variances of value-added achievement of thai language and mathematics (at 0.05 and 0.01 level, respectively) between Tak and Saraburi, and there was significant variances (at 0.01 level) of value-added improvement between Tak and Ranong. The schools with the highest value-added achievement and improvement had the advantage in general contexts and made more effort to educational practices. 3. The theoretical causal model of a school level factors influencing the school's value-added achievement and improvement was valid and fit the empirical data. The school educational practices had a positive direct effect on value-added achievement, but had a negative direct effect on value-added improvement, at significant 0.05 level. Also, the distance of school from the district educational office had a negative direct effect on the value-added improvement of mathematics. And the value-added achievement had a positive direct effects on the value-added improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/523
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.820
ISBN: 9741763468
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.820
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sucheera.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.