Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52407
Title: | การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างเวลากลางคืน (Nighttime Light Satellite Image) วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมือง ในประเทศไทย |
Other Titles: | AN APPLICATION OF NIGHTTIME LIGHT SATELLITE IMAGES FOR THE ANALYSIS OF URBAN GROWTH IN THAILAND. |
Authors: | เยาวรัตน์ เกกินะ |
Advisors: | สุธี อนันต์สุขสมศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutee.A@chula.ac.th,sutee.a@chula.ac.th |
Subjects: | ภาพถ่ายทางอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพระยะไกล การเกิดเป็นเมือง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างเวลากลางคืนได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการศึกษาการกลายเป็นเมือง (urbanization) จากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษาเชิงพื้นที่ระดับมหาภาค โดยข้อมูลแสงสว่างเวลากลางคืนที่นำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับเมืองมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อพื้นที่ที่ขาดแคลนข้อมูลทางสถิติ หรือ มีข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ล้าสมัย ดังเช่นการจัดเก็บข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้งบประมาณในการจัดเก็บค่อนข้างมากจึงไม่สามารถจัดเก็บได้ทุกปี ทำข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย แต่สำหรับภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างเวลากลางคืนเป็นข้อมูลสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและมีการปรับปรุงข้อมูลที่บ่อยกว่า จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีศักยภาพในการนำมาวิเคราะห์การเจริญเติบโตของเมือง งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ของประเทศไทยที่สามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างเวลากลางคืนมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาการเจริญเติบโตของเมืองระดับจังหวัดของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การทดสอบความสามารถในการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสงสว่างเวลากลางคืนเพื่อเป็นตัวแทนข้อมูลเศรษฐกิจและประชากร ภายใต้บริบทของการวิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมืองตามทฤษฎีพื้นฐานเศรษฐกิจ โดยศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 2538-2553 ของความสัมพันธ์แบบอนุกรมเชิงเวลาระหว่างความเจริญเติบโตของเมืองที่ได้จากข้อมูลแสงสว่างเวลากลางคืนกับข้อมูล GPP และกับข้อมูลประชากรรายจังหวัดในประเทศไทย ทำให้สามารถอธิบายความเหมาะสมและข้อจำกัดของการใช้แสงสว่างเวลากลางคืนกับกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ได้ ผลการศึกษาพบว่า แสงสว่างเวลากลางคืนทั้ง Dark & Bright Nighttime Light และ Intensity of Light สามารถใช้วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมืองแทนข้อมูล GPP และประชากรได้ อย่างไรก็ตามวิธีการใช้แสงสว่างแบบ Intensity of Light สามารถใช้แทนข้อมูล GPP และประชากรได้ดีกว่าวิธีการใช้แสงสว่างแบบ Dark & Bright Nighttime Light และถึงแม้ว่าในภาพรวมระดับประเทศแสงสว่างแบบ Intensity of Light สามารถวิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมืองแทนข้อมูล GPP ได้ร้อยละ 61 และสามารถวิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมืองแทนข้อมูลประชากรได้ถึงร้อยละ 98 ในรายละเอียดของผลการศึกษาพบว่า จังหวัดที่สามารถใช้แสงสว่างวิเคราห์ความเจริญเติบโตของเมืองแทนข้อมูล GPP ได้ดี คือ จังหวัดศูนย์กลางการค้าและบริการระดับประเทศ เมืองการค้าและบริการที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก เมืองเกษตรกรรม และจังหวัดที่สามารถใช้แสงสว่างวิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเมืองแทนข้อมูลประชากรได้ดี คือ จังหวัดขนาดกลางที่มีความหนาแน่นสูง สำหรับเมืองที่ไม่ควรใช้แสงสว่างวิเคราะห์ความเจริญเติบโต ได้แก่ จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค เนื่องจากจังหวัดเหล่านั้นมีความแตกต่างของความเจริญเติบโตระหว่างอำเภอสูงมาก |
Other Abstract: | The nighttime light satellite data has been proven effective for examining global urbanization. The data have informative value for areas with low-quality statistical systems or no recent socioeconomic data. However, most of the studies examine urban growth at national or regional levels in a macroscopic scale. In Thailand, most of socioeconomic data are not often updated and rarely available at the sub-provincial level. The implication of nighttime light satellite images, which are publicly available and frequently updated, is assumed to be useful for analyzing urbanization or related issues. This study will be among the first studies to examine the changes of urban areas at the provincial level in Thailand using nighttime light satellite images. The objective of this study is to investigate if the nighttime light satellite data can serve as a proxy for socioeconomic data in the framework of an economic base analysis at the provincial level in Thailand by examining the time series data of relationship of 1995-2010 urban growth with nighttime light data and socioeconomic data. The study finds that both dark and bright nighttime light and the intensity of the light can be used as a proxy for gross provincial products (GPP) and population data. However, the intensity of the light is a better dataset than the dark and bright nighttime light data. In the national level, the intensity of light data can be used as a proxy of GPP data to analyze urban growth at 61% and as a proxy for population data at 98 %. The results also show that the use of the nighttime light data as a proxy of GPP is suitable for analyzing the provinces that are national trade and service center, small and medium business centers, and agricultural based. As a proxy of population data, the use of the nighttime light data is more appropriate for the provinces with medium scale with high density. On the other hand, the nighttime light data is not suitable to analyze the provinces that are regional center because the different of urban growth between districts in the provinces are very high. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52407 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.217 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.217 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873324525.pdf | 12.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.