Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมัทยา จิตติรัตน์-
dc.contributor.authorสายใจ อุชชิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-03T07:24:27Z-
dc.date.available2017-03-03T07:24:27Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52433-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายในการศึกษาวิเคราะห์ว่ามาตรการบังคับทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้นมีการกำหนดมาตรการทางอาญาไว้อย่างไรและมีความเหมาะสมเพียงใดหรือไม่ หากนำมาตรการบังคับทางอาญาที่มีอยู่นี้ไปใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ผลของการศึกษาพบว่า มาตรการทางอาญาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมโดยมากจะเป็นมาตรการทางอาญาทางด้านโทษได้แก่ โทษจำคุ โทษปรับและโทษริบทรัพย์สิน โดยมีมาตรการทางอาญาอื่นที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเป็นการเฉพาะในบางพระราชบัญญัติ เช่น มาตรการในการบังคับให้ผู้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญต้องแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนั้น นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญาที่สามารถนำมาปรับใช้กับความผิดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมได้อีกประการหนึ่งด้วย แต่อย่างไรก็ดีมาตรการทางอาญาที่ได้บัญญัติเอาไว้นั้นยังไม่อาจนำมาบังคับใช้ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลได้ทุกประเภท เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านโทษที่จะใช้แก่นิติบุคคลขัดต่อสุขภาพของนิติบุคคลและมาตรการทางอาญาอื่นที่มีอยู่ก็มีข้อจำกัดเฉพาะกรณีดังเช่นการก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ดังที่กล่าวไว้แล้ว ผู้ศึกษาจึงมีความเห็นว่าสมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการรักษาและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้มีการกำหนดมาตรการทางอาญาที่ใช้แก่นิติบุคคลแยกออกมาจากกรณีของบุคคลธรรมดาและให้บรรดากรรมการหรือผู้จัดการนิติบุคคลต้องรับผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลและกำหนดให้มีมาตรการทางอาญาอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการทางอาญาด้านโทษ อันได้แก่การชดใช้ค่าเสียหายในอัตราที่สูงกว่าบุคคลธรรมดา ซึ่งเรียกว่าค่าเสียหายในเชิงลงโทษ รวมทั้งการบังคับให้นิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลต้องปฏิบัติงานรับใช้สังคมอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThis dissertation was aim to examine analyze the penal measures and its enforcing on juristic person in environmental law. Following the study, most of the penal measures in environmental law are penalties such as imprisonment, fines, and impoundment, whereas other sanctions are provided only for certain criminal laws. However, it is found that some of the penal provisions may be applied to the environmental laws, but the juristic persons could still be outside the enforcement of those laws due to the limitation of the physical punishment on juristic persons and the practices on this issue are not conclusive. Therefore, the law concerning on environmental area needs to be reformed, especially the National Environmental Quality Act B.E. 1992. This Act should be set up specifically penal measures for juristic person such as higher level fines safety measure. Indeed, The Court may apply safety measures on punishment of legal entity offenders in order to enforcing the law more efficiency and effectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.483-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.subjectการบังคับคดีen_US
dc.subjectความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลen_US
dc.subjectEnvironmental lawen_US
dc.subjectCriminal justice, Administration ofen_US
dc.subjectExecutions (Law)en_US
dc.subjectCriminal liability of juristic personsen_US
dc.titleมาตรการบังคับทางอาญาที่ใช้แก่นิติบุคคลในคดีสิ่งแวดล้อมen_US
dc.title.alternativeThe criminal measures for juristic person in environmental casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.483-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saichai_uj_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_ch1.pdf917.13 kBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_ch2.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_ch3.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_ch4.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_ch5.pdf990.12 kBAdobe PDFView/Open
saichai_uj_back.pdf908.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.