Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52496
Title: | Effect of vitamin E supplementation on inflammatory markers in patients with Thalassemia intermedia at Siriraj hospital |
Other Titles: | ผลของการเสริมวิตามินอีต่อตัวชี้วัดการอักเสบในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลาง ณ โรงพยาบาลศิริราช |
Authors: | Watcharee Prapawatwech |
Advisors: | Kulwara Meksawan |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Science |
Advisor's Email: | No information provided |
Subjects: | Thalassemia Vitamin E ธาลัสซีเมีย วิตามินอี |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The purpose of this study was to investigate the effects of vitamin E supplementation on inflammatory markers in patients with thalassemia intermedia who do not required regular blood transfusion at Siriraj hospital. There were 31 patients aged 5 - 19 years participating in this study. They were divided into 2 groups: the vitamin E group (supplemented with vitamin E at dose of 10 IU/kg/d, n = 16) and the control group (no vitamin E supplementation, n = 15). The duration of the study was 12 weeks. The patients received growth, nutritional and dietary intake assessments. In addition, their blood samples were collected for determining levels of plasma inflammatory markers (tumor necrosis factor-α (TNF-α) and high sensitivity C-reactive protein (hs-CRP)), serum vitamin E, and complete blood count (CBC) at baseline and at the end of the study (week 12). The results of the study showed that at the baseline, no correlations between level of serum vitamin E and inflammatory markers including TNF-α and hs-CRP were found. However, there was a positive correlation between serum vitamin E levels and red blood cell (r = 0.503, p = 0.002). After the patients were assigned into the vitamin E and the control groups, there were no significant differences in demographic characteristics, biological and hematological variables including plasma TNF-α and hs-CRP levels, serum vitamin E levels, and CBC between the patients in both groups. After 12 weeks of the study, serum vitamin E concentrations in the patients supplemented with vitamin E were significantly increased from their baselines (p < 0.001). However, plasma TNF-α and hs-CRP levels of the patients in both groups did not change from the baseline after vitamin E supplementation. It was found that total energy intake of the patients in the vitamin E group at week 12 were significantly increased from baseline (p = 0.037) and that amount was significantly greater than that in the control group (p = 0.008). Moreover, it was found that after vitamin E supplementation, weight and body mass index of some patients were improved to the better categories. This study revealed that vitamin E supplementation did not affect the levels of TNF-α and hs-CRP in patients with thalassemia intermedia. However, it may be beneficial in ameliorating vitamin E levels of these patients to the normal range and increasing total energy intake from the diet. |
Other Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมวิตามินอีต่อตัวชี้วัดการอักเสบในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลางที่ไม่ได้รับเลือดเป็นประจำ ณ โรงพยาบาลศิริราช มีผู้ป่วยอายุระหว่าง 5 - 19 ปี จำนวน 31 คน เข้าร่วมการศึกษา โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิตามินอี (ได้รับวิตามินอีเสริมวันละ 10 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) จำนวน 16 คน และกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับวิตามินอี) จำนวน 15 คน ใช้ระยะเวลาการศึกษา 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยได้รับการประเมินการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการ และสารอาหารที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับตัวชี้วัดการอักเสบ (ทูเมอร์ นีโครซีส แฟคเตอร์ อัลฟ่า (TNF-α) และ ซี รีแอ็คทีพโปรตีน (hs-CRP)) ในพลาสมา ระดับวิตามินอีในซีรัม และการนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ทั้งที่เริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดการศึกษา (สัปดาห์ที่ 12) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเริ่มต้นการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับวิตามินอีในซีรัมกับตัวชี้วัดการอักเสบทั้ง TNF-α และ hs-CRP อย่างไรก็ตาม พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างระดับวิตามินอีกับจำนวนเม็ดเลือดแดง (r = 0.503, p = 0.002) ซึ่งเมื่อแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มวิตามินอีและกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านลักษณะประชากรและระดับตัวชี้วัดทางชีวเคมีและโลหิตวิทยาต่างๆ ได้แก่ ระดับ TNF-α และ hs-CRP ในพลาสมา ระดับวิตามินอีในซีรัม และการนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หลังจากทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มวิตามินอีมีความเข้มข้นของวิตามินอีในซีรัมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับเมื่อเริ่มต้นการศึกษา (p < 0.001) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของระดับ TNF-α และ hs-CRP ในพลาสมาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าในสัปดาห์ที่ 12 ผู้ป่วยในกลุ่มวิตามินอีได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเริ่มต้นการศึกษา (p = 0.037) และมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม (p = 0.008) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากการเสริมวิตามินอีผู้ป่วยบางรายมีน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกายจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมวิตามินอีไม่มีผลต่อระดับ TNF- α และ hs-CRP ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลาง อย่างไรก็ตามการเสริมวิตามินอีในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีประโยชน์ทำให้ระดับวิตามินอีในเลือดเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับปกติ และอาจมีผลทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานจากอาหารมากขึ้น |
Description: | Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2011 |
Degree Name: | Master of Science in Pharmacy |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Food Chemistry and Medical Nutrition |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52496 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.26 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.26 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watcharee_pr.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.