Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/525
Title: ผลการสอนวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effects of teaching industrial art design by morphological process in learning achivement on undergraduate students in Art Education major, Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: ปทุมมา บำเพ็ญทาน, 2521-
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Poonarat.P@Chula.ac.th
Subjects: การออกแบบอุตสาหกรรม--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ความคิดและการคิด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนวิชา ออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนิสิตภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ทั้งชายและหญิง รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนในวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ เรื่องการออกแบบกล้องดิจิตอล จำนวน 3 แผ่น 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน ด้านเนื้อหาการออกแบบผลิตภัณฑ์ กล้องดิจิตอล และกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบวัดระดับความเข้าใจการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการคิดแยกส่วน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบประเมินผลการปฏิบัติงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 5) แบบประเมินผบงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน จำนวน 1 ฉบับ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS หาค่าสถิติ ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีระดับความเข้าใจการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการคิดแยกส่วน ในวิชาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ด้วยกระบวนการคิดแยกส่วน ในหัวข้อเรื่องการออกแบบกล้องดิจิตอล โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้เรียนมีความเข้าใจในขั้นตอนการประเมินผลมากที่สุด สำหรับผลการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินผลงานออกแบบด้วยกระบวนการคิดแยกส่วนของรู้เรียนพบว่าอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการปฏิบัติงานออกแบบด้วยการระดมความคิด และผลงานออกแบบที่มีความสวยงาม เรียบร้อย อยู่ในระดับดีมาก นอกจานนี้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความเห็นด้วยมากที่สุด ในแง่ การเชื่อมโยงความคิดของการออกแบบสามารถสร้างแนวทางเลือกทางการออกแบบ ข้อเสนอแนะในการวิจัยเพื่อนำกระบวนการคิดแยกส่วนมาใช้ในการสอนออกแบบคือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์ในการเรียนการสอนออกแบบ
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the effects of teaching industrial art design by morphological process in learning achievement on undergraduate students in Art Education major, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The population were 18 students undergraduate program in Art Education major, Faculty of Education, Chulalongkorn university who registered in the industrial art design course. The research instruments were 1) lesson plan of teaching industrial art design course 2) one set of achievement test of knowledge for pretest and posttest 3) one set of questionnaire concern about understanding morphological process before the study and after the study 4) one set of design project evaluation form 5) one set of questionnaire concern about teaching by morphological process. SPSS pc was used to analyzed the data for arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research results were revealed that : The students' effects of teaching in learning achievement and their understanding in steps of morphological process in industrial art design course by morphological process, were higher than before studying as assumption at the .05 level of significance. In addition, the students perform the highest value on evaluation their product design. Moreover, the students performed their good design skill and their outcome product. The students were very good in exchanging their idea by brainstorming to create beautiful product design. Furthermore, the student opinion concern about teaching was at a very good level with the highest score in the design thinking connection. The research recommendations : Instructor should open chance for students to set up design topic in order to develop his/her design course that include morphological process into class.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/525
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.402
ISBN: 9745319643
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.402
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patumma.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.