Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52644
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สำลี ทองธิว | - |
dc.contributor.advisor | วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า | - |
dc.contributor.author | แสงรุ้ง พูลสุวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-03-15T04:32:45Z | - |
dc.date.available | 2017-03-15T04:32:45Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52644 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส เพื่อส่งเสริมความสามารถของบรรณาธิการทั้งในด้านความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าต้นฉบับ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับปัญหาในสภาพจริง และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือเรียนจากสำนักพิมพ์ 3 แห่ง จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวม 35 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียน เกณฑ์การประเมินผลงานจากการตรวจหนังสือเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม ตามเกณฑ์และมาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียน ก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร 2) เป้าหมายของหลักสูตร 3) จุดประสงค์ของหลักสูตร 4) สาระของหลักสูตร 5) คำอธิบายรายวิชา 6) หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ย่อย 7) การจัดหน่วยการเรียนรู้ 8) โครงสร้างเวลาเรียน 9) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 11) แหล่งการเรียนรู้ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระใน 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์และมาตรฐานการตรวจประเมินสื่อ และเกณฑ์มาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในเรื่อง การระบุประเด็นปัญหา การสร้างคำถามท้าทาย การวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยและนิรนัย 2) การประเมินคุณค่าต้นฉบับหนังสือเรียน 3) ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส ในฉบับจำลอง 4) ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในฉบับจริง 2. ผลจากการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 2.1 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง 2.2 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง | en_US |
dc.description.abstractalternative | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส เพื่อส่งเสริมความสามารถของบรรณาธิการทั้งในด้านความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าต้นฉบับ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับปัญหาในสภาพจริง และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือเรียนจากสำนักพิมพ์ 3 แห่ง จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวม 35 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียน เกณฑ์การประเมินผลงานจากการตรวจหนังสือเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม ตามเกณฑ์และมาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียน ก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร 2) เป้าหมายของหลักสูตร 3) จุดประสงค์ของหลักสูตร 4) สาระของหลักสูตร 5) คำอธิบายรายวิชา 6) หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ย่อย 7) การจัดหน่วยการเรียนรู้ 8) โครงสร้างเวลาเรียน 9) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 11) แหล่งการเรียนรู้ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระใน 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์และมาตรฐานการตรวจประเมินสื่อ และเกณฑ์มาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในเรื่อง การระบุประเด็นปัญหา การสร้างคำถามท้าทาย การวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยและนิรนัย 2) การประเมินคุณค่าต้นฉบับหนังสือเรียน 3) ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส ในฉบับจำลอง 4) ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในฉบับจริง 2. ผลจากการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 2.1 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง 2.2 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง The purposes of this study were to develop the editorial curriculum to enhance textbook critical editing knowledge and ability based on Ennis’ approach for enhancing textbook critical editing knowledge and ability of editor who were trained to be the critical editors both in the manuscript textbook critical editing knowledge and ability including the manuscript evaluation, and evaluate the efficiency of the developed curriculum. The research procedure was divided into two phases; 1) development of a curriculum based on real problem; and 2) effectiveness evaluation of a curriculum through implementation with the subjects who were twenty editors from three publishers. The duration of experiment was eight weeks with the total of thirty hours. The research instruments were knowledge test, works of practice criteria, behaviors observation and criteria of critical thinking supported textbook based on Ennis’ Approach. The data were analyzed by using mean, standard deviation and One-way analysis of variance with repeated measures. The finding of this study were as follows: 1. The developed curriculum consisted of 11 components; 1) the curriculum vision 2) aim 3) objective 4) content 5) course description 6) learning unit, sub-learning unit 7) learning unit management 8) structure of learning timetable 9) learning process 10) learning measurement and evaluation 11) learning resources. The developed content consisted of 4 units which were 1) The knowledge of criteria of learning media and criteria of critical thinking supported textbook based on Ennis’ Approach in focusing of question, asking of challenge question, analyzing and presentation of arguments, conclusion of induction and deduction reasons 2) evaluation of textbook manuscript 3) textbook critical editing ability based on Ennis’ approach in pilot version 4) textbook critical editing ability based on Ennis’ approach in real textbook version. 2. The experimental result of the curriculum after experiment, it was found that; 2.1) The subjects had the average score of knowledge of textbook critical editing higher than before the experiment at .05 level of significance in all components. The knowledge with most significant improvement was focusing of question followed by asking of challenge question, conclusion of induction reason, conclusion of deduction reason and analyzing and presentation of arguments. 2.2) The subjects had the average score of textbook critical editing ability higher than before the experiment at .05 level of significance in all components. The ability with most significant improvement was focusing of question followed by asking of challenge question, conclusion of induction reason, conclusion of deduction reason, and analyzing and presentation of arguments | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2169 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การบรรณาธิกร -- หลักสูตร | en_US |
dc.subject | Editing -- Curricula | en_US |
dc.title | การพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดเอนนิส | en_US |
dc.title.alternative | The development of an editorial curriculum to enhance textbook critical editing knowledge and ability based on ennis’ approach | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sumlee.T@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Wipawan.W@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.2169 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sangrung_po.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.