Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52682
Title: การลดของเสียในการผลิตชิน้ ไม้สับโดยการออกแบบการ ทดลอง
Other Titles: Defect reduction of wood chip production using experimental design
Authors: พิทักษ์ชน วิเศษ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมไม้ -- ตำหนิ
อุตสาหกรรมไม้ -- ข้อบกพร่อง
อุตสาหกรรมไม้ -- การลดปริมาณของเสีย
Wood industry -- Defects
Wood industry -- Waste minimization
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นไม้สับ โดยประเภทของเสียที่พบมากที่สุดคือขนาดชิ้นไม้สับไม่ได้มาตรฐาน จึงทำการหาสาเหตุโดยศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียที่มาจากขนาดชิ้นไม้สับไม่ได้มาตรฐาน เบื้องต้นพบว่าปัจจัยเบื้องต้น มี 4 ปัจจัย และเมื่อทำการทดลองโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบ 2k Factorial Design เพื่อตัดปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อขนาดชิ้นไม้สับออกไป จึง เหลือเพียงความเร็วรอบชุดคัดแยกเปลือกไม้ องศาใบมีดชุดสับไม้ และ ระยะเขียงกับหมอนรองชุดสับไม้ มีผลต่อการเกิดของเสียอย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นทำการทดลองอีกครั้งโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบ 3k Factorial Design เพื่อหาสภาวะในการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อลดค่าความเบี่ยงเบนของค่าขนาดความยาวชิ้นไม้สับ และลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นไม้สับพบว่าทั้ง 3 ปัจจัยคือความเร็วรอบชุดคัดแยกเปลือกไม้ที่อัตรา 7.5 รอบต่อนาที องศาใบมีดชุดสับไม้ ที่ 34 องศา และระยะเขียงกับหมอนรองชุดสับไม้ที่ 3 มิลลิเมตร เป็นระดับปัจจัยที่เหมาะสมในการปรับตั้งค่าเครื่องจักร เมื่อนำค่าปัจจัยต่าง ๆ ไปทำการผลิตจริงเพื่อยืนยันผล พบว่าค่าความเบี่ยงเบนก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีค่าเป็น 25.46±5.45 มิลลิเมตร หลังการปรับปรุงกระบวนการมีค่าเป็น 23.80±1.61 มิลลิเมตร สามารถลดของเสียจาก 5.74% เหลือเพียง 2.79% และทำให้ดัชนีความสามารถของกระบวนการผลิต (Cpk) เพิ่มขึ้นจาก 0.16 เป็น 0.87
Other Abstract: The objective of this research was to reduce the defects in wood chip production. It was found that the defects were improper size of wood chips. Four factors were selected to the first experiment by 2k Factorial Design. The result was shown that 3 factors were significant. They were debarking drum speed, knife angle and gap of cut. Then the redesign experiment using 3k factorial design was held. As the result, the debarking drum speed was fixed 7.5 rpm, the knife angle was fixed 34 degree and the gap of cut was fixed 3 mm. In order to reduce the deviation of the chip length and reduce the defects in wood chip production. The results from the redesign experiment were set for the real production. It was found that the deviation of the chip length reduced from 25.46 ± 5.45 mm. to 23.80±1.61 mm. as well as the defects reduced from 5.74% to 2.79%, while Cpk increased from 0.16 to 0.87.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52682
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1768
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitakchon_wi.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.