Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.author | สมกมล อรรคทิมากูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-04-08T12:21:10Z | - |
dc.date.available | 2017-04-08T12:21:10Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52730 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว และเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ครอบครัว จับคู่ด้วยระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย และความเพียงพอของรายได้ของผู้ดูแล กลุ่มทดลองได้รับการดำเนินการตามโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Chronbach’s Alpha coefficients) ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (paired t-test และ independent t-test) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this quasi-experimental research were to compare the burden of schizophrenic patients’ caregivers before and after received family counseling program and compare the burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program, and those who received regular caring activities. Study samples composed of 30 families of schizophrenic patients were recruited according to the inclusion criteria from schizophrenic patients attending psychiatric clinics, out patient department, provincial hospitals. There were 15 subjects in each experimental and control groups. These samples were matched pair by income, sufficiency of caregiver and duration responsibility. The experimental group received family counseling program, whereas the control group received regular caring activities. Research instruments were family counseling program and the caregiver burden scale. These instruments were examined for content validity by 5 psychiatric experts. The reliability of the scales by Chronbach’s Alpha coefficients were.96. Statistical techniques utilized by data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test. Major results of this study were: 1. The burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program after the experiment was significantly decreased than that before at the .05 level. 2. The burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program was significantly lower than those who received regular caring activities at the .05 level. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1775 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การให้คำปรึกษาครอบครัว | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเภท | en_US |
dc.subject | Family counseling | en_US |
dc.subject | Caregivers | en_US |
dc.subject | Schizophrenics | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท | en_US |
dc.title.alternative | The effect of family counseling program on burden of schizophrenic patients’ caregivers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Oraphun.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1775 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
somkamon_ak.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.