Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5282
Title: | การปรับปรุงผังโรงงานสำหรับโรงงานอัดบรรจุแก๊สใส่ถัง |
Other Titles: | Inprovement of plant layout for cylinder gas filling plant |
Authors: | พรชัย ฤกษ์อนันต์ |
Advisors: | สมชาย พัวจินดาเนตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Puajindanetr.Pua@chula.ac.th |
Subjects: | การวางผังโรงงาน สายการผลิต การขนถ่ายวัสดุ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพปัญหาของผังโรงงานอัดบรรจุแก็สปัจจุบัน พร้อมทั้งนำเสนอทางเลือกในการปรับปรุงผังโรงงาน เพื่อที่จะสามารถรองรับการขยายตัวภายในอีก 10 ปีข้างหน้าแก่ผู้บริหารเพื่อตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ขั้นตอนในการวิจัยเริ่มจากการศึกษาสถานะปัญหาปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ได้แก่พื้นที่ในการจัดเก็บและระยะทางที่ใช้ในการขนย้ายสินค้าระหว่างการผลิต พร้อมทั้งได้นำวิธีการของการวางผังโรงงานอย่างมีระบบ (The System Layout Planning, SLP) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จากนั้นได้นำเสนอทางเลือกในการปรับปรุงผังโรงงานไว้ 2 แบบ คือแบบ A และแบบ B ซึ่งมีความแตกต่างกันคือแบบ A จะมีพื้นที่ในการเก็บท่อเต็มมากกว่าแบบ B และตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงงานซึ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ส่วนแบบ B จะมีพื้นที่ในการจอดรถมากกว่าและตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงงานเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้นำเสนอต้นแบบของโรงงานในทางทฤษฎี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพทางด้านการขนย้ายสินค้า ระหว่างการผลิตและเป็นต้นแบบในการสร้างโรงงานใหม่ในอนาคต ผลจากการวิจัยพบว่าแบบของผังโรงงานที่ดีที่สุดและเหมาะสมคือแบบ B ซึ่งให้มีค่าระยะทางในการขนย้ายใกล้เคียงกับแบบปัจจุบัน แต่สามารถที่จะรองรับอัตราการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าได้อีก 10 ปีข้างหน้า ส่วนของคลังสินค้าสามารถรองรับจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปัจจุบัน และในส่วนของลานจอดรถขนส่งสินค้าสามารถรองรับจำนวนรถขนส่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับผังโรงงานปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผังโรงงานแบบ B จะให้ค่าระยะทางในการขนส่งสินค้าในระหว่างการผลิตเป็น 1.3 เท่า ของระยะทางตามแผนผังโรงงานทฤษฎี |
Other Abstract: | To propose an alternative plant layout in order to be able to support expansion production in the next 10 years that would be very useful to the management for making a dicision under the real happenning limitation. The frist step of research strarted from existing problem study it was found that the main problem effecting the work efficiency was the warehouse and the distance for the goods transportation during the production. There were apply the systematic layout planning for this study. There were two seletion models of plant layout improvement. Model A will had more full stock area and located on the behide of plant and model B will had more truck parking area and located on the behide of plant. Morover, It had one model of plant layout in thoery would be the standard of the effiency measuring for the goods transportation during the production and model for the building for new plant in the future. The result of the research found the the best plant layout as model B which had the distance rate for goods handling same as the existing plant layout. Moreover the new plant layout model would be able to support the production increas for next 10 years, which it's warehouse can stored 3 time of the amount of goods. And the parking area can supported 2 time of existing plant layout. However, Model B had 1.3 times of the distance for goods handling comparing with the thoery plant layout. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5282 |
ISBN: | 9741738641 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornchai.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.